Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45974
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนาen_US
dc.contributor.authorสุดารัตน์ เรียบเลิศหิรัญen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:21:10Z
dc.date.available2015-09-18T04:21:10Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45974
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลอง ที่ใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการฝึกการแก้ปัญหาต่อความเครียดในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ให้การดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง โดยทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลหลักและให้การดูแลผู้สูงอายุมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน ผู้สูงอายุมีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง ที่เข้ารับการตรวจรักษา ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโรคสมอง โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 คน และกลุ่มทดลอง 20 คน จับคู่ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศของผู้ดูแลในครอบครัว อายุของผู้ดูแลในครอบครัว และระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกการแก้ปัญหาสำหรับผู้ดูแลในครอบครัวผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการฝึกการแก้ปัญหาสำหรับผู้ดูแลในครอบครัวผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความเครียดในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวผู้สูงอายุ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาอยู่ระหว่าง .80 – 1.00 และมีความเที่ยงเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test for independence sample และสถิติ paired t-test ผลการวิจัยสรุป ดังนี้ 1. ความความเครียดในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกการแก้ปัญหา น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการฝึกการแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความเครียดในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวภายหลังการทดลอง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกการแก้ปัญหา น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis purpose of this quasi-experimental research was to investigate the effect of a problem solving training program on for family caregivers of elderly people who have had a stroke. The participants were family members who have been looking after elderly people who have had a stroke for at least 3 months. Inclusion criteria were people over the age of 60, both male and female, and continue to follow up at the outpatient department at Sunpasitthiprasong Hospital. Forty subjects were divided into two groups of 20 each. Matching technique was applied following by pair of gender, age of caregivers, and Activity of Daily Living. The control group received general nursing care, while the experimental group received the problem solving training program for family caregivers for 5 weeks. An analysis of the stress level of the family caregivers was collected using a questionnaire that tested for content validity, which was shown to be between .80 - 1.00 and internal consistency reliability, which was shown to place Cronbach’s alpha at .90 respectively. Data were analyzed by t - test for the independent sample, and paired t - test. The study findings revealed that: 1. After completing the problem solving program, the stress of family caregivers taking care of elderly stroke survivors was lower than before, which was significantly and statistically different (P < .05). 2. After completing the problem solving program, the level of stress in the experimental group was lower than the control group, which was significantly and statistically different (P < .05).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.692-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วยth
dc.subjectผู้ดูแลth
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)th
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)th
dc.subjectการแก้ปัญหาth
dc.subjectCerebrovascular disease -- Patientsen_US
dc.subjectCaregiversen_US
dc.subjectStress (Psychology)en_US
dc.subjectProblem solvingen_US
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกการแก้ปัญหาต่อความเครียดในการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF PROBLEM SOLVING TRAINING PROGRAM ON CAREGIVINGSTRESS OF FAMILY CAREGIVERS FOR ELDERLY STROKEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorJiraporn.Ke@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.692-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477214536.pdf7.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.