Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45982
Title: | การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี |
Other Titles: | THE DEVELOPMENT OF NURSE ANESTHETIST COMPETENCY ASSESSMENT SCALE RAJAVITHI HOSPITAL |
Authors: | วิไลรัตน์ ใจพินิจ |
Advisors: | วาสินี วิเศษฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Subjects: | วิสัญญีพยาบาล สมรรถนะ -- การประเมิน Nurse anesthetists Performance -- Evaluation |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินและทดสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี โดยการศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมินมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์รายการสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถีโดยทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างข้อรายการสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี โดยการกำหนดรายการสมรรถนะและวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อรายการสมรรถนะด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .99 นำผลที่ได้ไปสร้างแบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 78 ข้อรายการระยะที่ 2 การทดสอบคุณภาพของแบบประเมิน โดยนำแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 55 คน ประกอบด้วยวิสัญญีพยาบาลประจำการ 35 คน วิสัญญีพยาบาลหัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วย 20 คน โดยการประเมิน 360 องศา ทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความสอดคล้องของแบบประเมินระหว่างวิสัญญีพยาบาลประจำการประเมินตนเอง ประเมินโดยหัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วย และประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน ด้วยสถิติ Intra-class correlation coefficient ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.แบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลราชวิถี ประกอบด้วย 8 รายการสมรรถนะหลัก 78 ข้อรายการสมรรถนะ ประกอบด้วยสมรรถนะหลัก ดังนี้ 1)ด้านการปฏิบัติการพยาบาลวิสัญญีประกอบด้วยรายการสมรรถนะ จำนวน 24 ข้อ 2) ด้านการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพระยะวิกฤตขั้นสูงประกอบด้วยรายการสมรรถนะ จำนวน 8 ข้อ 3) ด้านการบริหารยาระงับความรู้สึกประกอบด้วยรายการสมรรถนะ จำนวน 7 ข้อ 4)ด้านความสามารถกระทำหัตถการประกอบด้วยรายการสมรรถนะ จำนวน 7 ข้อ 5) ด้านการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ประกอบด้วยรายการสมรรถนะ จำนวน 8 ข้อ 6) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วยรายการสมรรถนะ จำนวน 8 ข้อ 7) ด้านการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลวิสัญญี ประกอบด้วยรายการสมรรถนะ จำนวน 7 ข้อ 8) ด้านคุณลักษณะของพยาบาลวิสัญญี ประกอบด้วยรายการสมรรถนะ จำนวน 9 ข้อ 2.คุณภาพของแบบประเมินที่สร้างมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (CVI) = .93 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ .98 ค่าเฉลี่ยของวิสัญญีพยาบาลประเมินตนเอง ประเมินโดยหัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วย ประเมินโดยเพื่อนร่วมงาน เท่ากับ 3.98, 3.97 และ 4.09 ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับมากทุกกลุ่มผู้ประเมินและการประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาลระหว่างวิสัญญีพยาบาลประเมินตนเอง ประเมินโดยหัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วย และประเมินโดยเพื่อน พบว่ามีความสอดคล้องกัน (r = .97) |
Other Abstract: | This research aims to develop and test the psychometric of nurse anesthetist competency scale in Rajavithi Hospital. The study was divided into two phase. The 1st phase : The development of an appraisal form, which can be further divided into the following two steps: (1) to comprise a component and capacity list for nurse anesthetists by means of literature review and experts group discussion (2) to develop and test the validity of measurement by five experts and internal consistency showed Cronbach’s alpha .99. The 2nd Phase : The quality test for an appraisal form , which was randomly selected from 35 anesthetist nurses 20 supervisors and sub supervisors. After that , the researchers carried out a precision test well as calculating the mean and standard deviation and the consistency among appraisal form oneself ,supervisor and sub supervisor and peers by applying intra –class correlation coefficient. The results are follows: 1.nurse anesthetist competency assessment scale of Rajavithi Hospital comprised of 8 components 78 items and 8 components were identified: (1) the clinical anesthesia.(24 points) 2) the operating range of crisis advanced resuscitation.(8 points) 3) anesthesia management.(7 points). 4) the ability intervention.(7 points) 5) the use of equipment and medical technology.(8 points) 6) the use of information technology and communications.(8 points). 7) the use of evidence in nursing practice anesthesiology.(9 points). 8) the characteristics of the nurse anesthetist.(9 points) 2.The CVI = .93 , Cronbach’s Alpha coefficient =.98, X = 3.98 - 4.09 The model can represent 0.97 correlation between the appraisal by oneself ,supervisor and sub supervisor and assessment by peers. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45982 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5477324936.pdf | 5.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.