Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45993
Title: กวีนิพนธ์เกี่ยวกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้: กลวิธีทางวรรณศิลป์กับแนวคิดสันติภาพ
Other Titles: POETRY OF CONFLICT IN THE SOUTHERNMOST PROVINCES OF THAILAND:LITERARY TECHNIQUES AND THE CONCEPT OF PEACE
Authors: ปิยรัตน์ แซ่อึ้ง
Advisors: อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Arthid.S@Chula.ac.th,arthid_s@yahoo.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดสันติภาพในกวีนิพนธ์เกี่ยวกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และวิเคราะห์กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่ใช้สื่อแนวคิดสันติภาพในกวีนิพนธ์ดังกล่าว โดยตั้งสมมุติฐานว่ากวีนิพนธ์เกี่ยวกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้กลวิธีทางวรรณศิลป์อย่างหลากหลายเพื่อสื่อแนวคิดสำคัญเรื่องสันติภาพ ตั้งแต่สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปสู่สันติภาพระดับสากล ผู้วิจัยกำหนดขอบเขตศึกษากวีนิพนธ์ตั้งแต่พ.ศ.2547-2554 ในนิตยสารรายสัปดาห์ การประกวดกวีนิพนธ์รางวัลพานแว่นฟ้าและนายอินทร์อะวอร์ด หนังสือรวมกวีนิพนธ์ของนักเขียนและกลุ่มนักเขียน ผลการศึกษาพบว่า กวีนิพนธ์เกี่ยวกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้นำเสนอแนวคิดสันติภาพ ได้แก่ แนวคิดสันติภาพกับการปฏิเสธความรุนแรง และแนวคิดสันติภาพกับการอยู่ร่วมกันด้วยความรัก กวีเน้นแสดงให้เห็นว่าความรุนแรงเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา โดยนำเสนอภาพผลกระทบของความรุนแรง และวิจารณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรง ผลกระทบของความรุนแรง ได้แก่ การสูญเสียชีวิตผู้คน บาดแผลของครอบครัวผู้สูญเสีย สภาพชีวิตผิดปกติของผู้คนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และความรู้สึกของผู้รับรู้เหตุการณ์ ส่วนบุคคลที่ถูกวิจารณ์ ได้แก่ ผู้ใช้ความรุนแรงก่อความไม่สงบ รัฐบาล บุคคลทั่วไปรวมถึงสื่อมวลชน สรุปว่ากวีนิพนธ์มุ่งเรียกร้องให้เกิดสันติภาพด้วยการยุติความรุนแรงทุกรูปแบบจากทุกฝ่าย ส่วนแนวคิดสันติภาพกับการอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ได้แก่ การให้ความหวังและกำลังใจ สันติภาพคือมิตรภาพและความรัก ความแตกต่างไม่ใช่ข้อจำกัดของการอยู่ร่วมกัน คนมลายู-มุสลิมรักมาตุภูมิและสันติภาพ ความเป็นหนึ่งเดียวของชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่พึ่งทางใจ สรุปว่าหากมอบความรักให้กันในฐานะเพื่อนมนุษย์และยอมรับความแตกต่างแล้ว ก็จะไม่มีการใช้ความรุนแรงต่อกัน และยังเกิดสันติภาพในการอยู่ร่วมกันในทุกสังคมซึ่งเป็นสันติภาพในระดับสากลด้วย กวีนิพนธ์เกี่ยวกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้กลวิธีทางวรรณศิลป์อย่างหลากหลาย ได้แก่ การใช้รูปแบบคำประพันธ์ การใช้คำ การซ้ำ การใช้ความเปรียบคู่ขนาน การตั้งคำถามเชิงวาทศิลป์ การใช้ภาพพจน์และสัญลักษณ์ การอ้างถึง การวางโครงเรื่องและสร้างตัวละคร และกลวิธีอื่น ๆ กลวิธีส่วนใหญ่สัมพันธ์กับการสื่อแนวคิดสันติภาพกับการปฏิเสธความรุนแรงคือ กวีนำเสนอภาพความรุนแรงและผลของความรุนแรงเพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกสะเทือนใจ รวมทั้งวิจารณ์รัฐบาลในฐานะผู้แก้ปัญหา และวิจารณ์ผู้ใช้ความรุนแรงก่อความไม่สงบที่อ้างศาสนาอย่างผิด ๆ ส่วนกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่สัมพันธ์กับแนวคิดสันติภาพกับการอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ส่วนใหญ่เป็นการแสดงให้เห็นภาพความหวังและความงดงามของสันติภาพ ลักษณะเด่นของกลวิธีทางวรรณศิลป์ในกวีนิพนธ์เกี่ยวกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ การนำอัตลักษณ์ท้องถิ่นภาคใต้มาใช้เป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ เช่น การใช้ภาษามลายูและภาษาไทยถิ่นใต้ ภาพพจน์เกี่ยวกับศาสนาและความเชื่อ ภาพพจน์เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของภาคใต้ การอ้างถึงวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้และความเชื่อในศาสนาอิสลาม การสร้างตัวละครมุสลิม กวีนิพนธ์เกี่ยวกับความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงเป็นกวีนิพนธ์ที่บันทึกและวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย แสดงให้เห็นพันธกิจของกวีที่ใช้เครื่องมือคือวรรณศิลป์อันประณีตและกลั่นกรองความคิดเพื่อสะท้อนปัญหาและเรียกร้องสันติภาพซึ่งเป็นความสุขที่พึงปรารถนาไม่ว่าชาติหรือศาสนาใด
Other Abstract: This thesis aims at studying the concept of peace in the poetry of conflict in the southernmost provinces of Thailand and analyzing the literary techniques employed to convey the concept of peace in the poetry. The hypothesis is that the poetry of conflict in the southernmost provinces is significantly diversified by using the literary techniques in order to convey the main concept of peace, ranging from peace in the southernmost provinces to universe. The scope of study is designated in the 2004 – 2011, by examining the poetry appearing in the weekly magazine, awarded by the Phan Waen Fa Awards, Naiin Awards, poetry collections by one and several poets. The study finds that the poetry of conflict in the southernmost provinces of Thailand represents the concept of peace in various ways, i.e., the concept of peace with the rejection of violence and the concept of peace with the living in harmony. The poets emphasize that violence is not desired by the society by illustrating the harmful effects of violence. The poets also criticize those who commit violence and the effects of violence such as the loss of lives, posttraumatic stress and deeply hurt embedded in victims who lost members of their family, unusual living of the people in provinces of the deep south and the sentiment of those who witness violent incidents. Persons who are criticized in poetry are the instigators, the government, general people including mass media. It thus can be concluded from the study that the poetry focus on calling for peace by ending violence in any form. The concept of peace with the living in harmony consists of giving hope and courage, peace: friendship and love, living in harmony regardless of dissimilarity, Malayu Muslims’ ties with their motherland and preferring peace, national unity and the monarchy as the center or soul of people. The poetry also implies that if people give love each other as a fellowmen and tolerate in differences, using violence will be mitigated and then peace will be built amongst living in harmony; it is regarded as the universal peace. The poets employ various literary techniques in poetry of conflict in the southernmost provinces, i.e., forms, words selection, repetition, parallelism, rhetorical question, figures of speech and symbol, allusion, plotting and characterization as well as other literary devices. It is noticeable that most literary techniques significantly relate with passing on the concept of peace with the rejection of violence, that is to say, the poets manifest the violence and its harmful effects in order to make readers to be touched, including to criticize the government as the policy maker and those who commit violence in the name of distorted religion’s doctrine. In the sense of the literary techniques that relate with the concept of peace and the affectionate living in harmony mostly illustrate the hope and picturesqueness of peace. The outstanding characteristic of the poetry of conflict in the southernmost provinces of Thailand is the local identity of southern Thailand employed as the literary technique such as usage of Malayu and southern Thai dialect, figure of speech concerning religion and belief, figure of speech concerning arts and culture and Thai southerner’s way of life, allusion of Thai southern folklore literature and Islam’s belief, characterization of Muslim character. The poetry of conflict in the southernmost provinces of Thailand is thus the record and criticism of events occurring in Thai society. It considerably manifests the commitment of poets to employ the delicate literary techniques as a tool to refine the idea for being an echo of problems and making a demand for peace that is the ultimately desired happiness regardless of any nation or religion.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45993
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5480150322.pdf6.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.