Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46004
Title: | นโยบายของไทยในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่อชนกลุ่มน้อยของเมียนมาร์ |
Other Titles: | THAI POLICY DURING THE ADMINISTRATION OF THAKSIN SHINAWATRA TOWARDS MYANMAR'S MINORITY GROUPS |
Authors: | ณัฐพร ละอองอินทร์ |
Advisors: | พวงทอง ภวัครพันธุ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Puangthong.Pa@chula.ac.th |
Subjects: | ทักษิณ ชินวัตร นโยบายต่างประเทศ -- ไทย ชนกลุ่มน้อย -- พม่า รัฐกันชน -- ไทย ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ -- พม่า ไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- พม่า Thaksin Shinawatra International relations -- Thailand Minorities -- Burma Buffer states -- Thailand Ethnic conflict -- Burma Thailand -- Foreign relations -- Burma |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์จุดมุ่งหมายการใช้นโยบายเศรษฐกิจนำความมั่นคงของรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ต่อรัฐบาลทหารเมียนมาร์ และชนกลุ่มน้อยของเมียนมาร์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ต่อชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน เหตุผลที่รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ยังคงรักษาความสัมพันธ์กับชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลเมียนมาร์ และปัจจัยชนกลุ่มน้อยส่งผลกระทบอย่างไร ต่อความสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ นำเสนอแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยศึกษาจากเอกสารทางวิชาการทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างประเทศของไทยต่อรัฐบาลทหารเมียนมาร์ และชนกลุ่มน้อย ตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นมาจนถึงยุครัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ผลการวิจัยได้ค้นพบว่า การใช้แนวทางเศรษฐกิจนำความมั่นคงของรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ต่อรัฐบาลทหาร และชนกลุ่มน้อยของเมียนมาร์ ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในเชิงนโยบายและปฏิบัติของฝ่ายไทย นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลต่อเมียนมาร์ มีเป้าหมายที่ต้องการรื้อฟื้นและกระชับความสัมพันธ์อันดีกับเมียนมาร์ ตามนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่สถานการณ์ความขัดแย้งบนพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมาร์ ทางภาคเหนือของไทย การดำเนินยุทธศาสตร์ทางความมั่นคงของกองทัพที่เลือกใช้แนวทางการทหารและดำเนินนโยบายกันชน ด้วยการสนับสนุนกองกำลังไทยใหญ่ SSA(Shan State Army) ที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลทหารเมียนมาร์ สร้างความไม่พอใจต่อรัฐบาล SPDC (State Peace and Development Council) เป็นอย่างมาก ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-เมียนมาร์ ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ แนวทางของกองทัพจึงไม่สนองตอบกับนโยบายของรัฐบาล จน พ.ต.ท. ทักษิณ ได้ออกมาประกาศยกเลิกนโยบายกันชนและเข้าแทรกแซงกองทัพ เพื่อยุติความขัดแย้ง แต่ในทางปฏิบัติ รัฐบาลไทยยังให้การสนับสนุนกองกำลังไทยใหญ่อย่างไม่เปิดเผย เพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากยาเสพติดที่มาจากแหล่งผลิตของกลุ่มว้าแดง UWSA (the United Wa State Army) พันธมิตรของรัฐบาลทหารเมียนมาร์ การดำเนินนโยบายกันชนอย่างไม่เปิดเผย จึงคงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทย-เมียนมาร์ โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลคาดไว้ |
Other Abstract: | This research is to analyze the business-oriented policy during the administration of Thaksin Shinawatra towards the military government and minority groups of Myanmar. Thaksin’s approach focuses more on economic security than military one. Its then affects to Thai policy towards the minority groups along Thai-Myanmar Border. It questions why Thaksin’s government keep nurturing certain minority groups which oppose their central government. Lastly, it is to analyze the minorities’ factor influencing Thai-Myanmar relations. The qualitative methodology is applied in this research with a descriptive analysis from various sources of technical documents. The findings illustrated that Thaksin’s business-oriented policy towards the military government and minority group of Myanmar lead to the incoherent approaches of Thai cabinet and military. Thai foreign policy towards Myanmar during Thaksin’s administration aimed to officially re-approach Thai–Myanmar relations so as to build-up a business tie with the military government. However, there was a conflict on the Thai-Myanmar border. Thai military resorted to the use of force and adopted the buffer policy supporting the SSA(the Shan State Army); Myanmar’s antagonist. Thai-Myanmar relation faced crisis. To end the conflicts, Thaksin terminated the buffer policy in order to neutralize Thai–Myanmar relations and asserted his authority to over the Thai military. In fact, the buffer policy still remained due to the “War on Drugs” policy of Thaksin. Thai army kept providing assistance to the SSA unofficially to fight against the Myanmar military and the allied UWSA (the United Wa State Army) where Thailand’s de facto policy of buffer zone did not damage Thai-Myanmar economic cooperation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46004 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.716 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.716 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480606224.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.