Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46027
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุมพร ปัจจุสานนท์en_US
dc.contributor.authorสุทธิมาศ พยัคฆ์เกษมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:21:35Z
dc.date.available2015-09-18T04:21:35Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46027
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึง ระบอบบริเวณพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นมาของบริเวณพื้นที่ กิจกรรมบริเวณพื้นที่ สถานะทางกฎหมายของบริเวณพื้นที่ บุคคลที่เข้าเกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมบริเวณพื้นที่ การระงับข้อพิพาทในบริเวณพื้นที่ ตลอดจนขอบเขตความรับผิดชอบและความรับผิดของรัฐผู้อุปถัมภ์ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 โดยเน้นศึกษาถึงขอบเขตความรับผิดชอบและความรับผิดของรัฐผู้อุปถัมภ์ตามความเห็นแนะนำขององค์คณะว่าด้วยข้อพิพาทพื้นดินท้องทะเลแห่งศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศในคดีหมายเลข 17 ซึ่งปัญหาที่นำมาพิจารณาในครั้งนี้เนื่องมาจากการที่ขอบเขตความรับผิดชอบและความรับผิดข้างต้นยังเกิดปัญหาความไม่ชัดเจนในการปฏิบัติตามโดยรัฐผู้อุปถัมภ์ ผลจากการศึกษาพบว่า ความรับผิดชอบหรือพันธกรณีของรัฐผู้อุปถัมภ์แบ่งออกเป็น พันธกรณีในการประกันและพันธกรณีโดยตรง โดยพันธกรณีในการประกันถือเป็นพันธกรณีที่รัฐผู้อุปถัมภ์ต้องประกันว่าผู้รับงานที่ตนเป็นผู้อุปถัมภ์จะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ปรากฏในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งพันธกรณีในการประกันนี้ถือเป็นพันธกรณีที่จะใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มความสามารถอย่างหนึ่ง ส่วนพันธกรณีโดยตรงเป็นพันธกรณีที่รัฐผู้อุปถัมภ์จะต้องประกันว่าตนจะปฏิบัติตามในฐานะที่ตนเป็นผู้อุปถัมภ์ผู้รับงาน โดยการปฏิบัติตามพันธกรณีโดยตรงหล่านี้ถือเป็นพันกรณีที่สอดคล้องกับพันธกรณีที่จะใช้ความระมัดระวังอย่างเต็มความสามารถเช่นกัน พันธกรณีโดยตรงของรัฐผู้อุปถัมภ์มี อาทิ การช่วยเหลือองค์กรพื้นดินท้องทะเลระหว่างประเทศ การใช้หลักการป้องกันล่วงหน้า การใช้แนวปฏิบัติทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ส่วนความรับผิดของรัฐผู้อุปถัมภ์นั้น รัฐผู้อุปถัมภ์จะมีความรับผิดแต่ในกรณีที่รัฐผู้อุปถัมภ์ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีของตนตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 อันได้แก่ การไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีในการประกันและพันธกรณีโดยตรงตามที่กล่าวข้างต้น โดยเงื่อนไขที่ทำให้รัฐผู้อุปถัมภ์ต้องรับผิด คือ การที่รัฐผู้อุปถัมภ์ไม่ปฏิบัติตามความรับผิดชอบที่ตนมีตามอนุสัญญาดังกล่าวและการไม่ปฏิบัติดังกล่าววก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study regime of the Area whether in history, activity of the Area, the legal status, the person involved in the activity and the settlement of dispute relating to the Area, along with the responsibilities and liabilities of State Sponsoring Persons under the United Nations Convention on the Law of the Sea ​​1982. This thesis focused on responsibilities and liabilities of State Sponsoring Persons in the Advisory Opinion of Seabed Dispute Chamber of the Tribunal on the Law of the Sea in case no. 17 which was raised to be consider due to the uncertainly of the responsibilities and liabilities on the Area, causing a vague implementation by the Sponsoring State. From the study, the responsibilities or Obligations of the Sponsoring State may be classified into the Obligation to ensure and the direct obligations. The obligation to ensure bound the Sponsoring State to guarantee that the contractors under their support will comply with the obligations under the United Nations Convention on the Law of the Sea 1982 and other related Instruments. The obligation to ensure is due diligence obligation. The direct obligations are obligations that the Sponsoring State affirm to comply on the account of the patrons. The direct obligations also have to implement considerably, the example of direct obligations are the assistant to the International Seabed Authority, the application of precautionary approach, the good practices on environmental management, the assessment of environmental impacts. The liabilities of the Sponsoring State were only confined to the inconformity of the United Nations Convention on the Law of the Sea 1982 which are the liabilities from the incompliance with the Convention and the liabilities of damage.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.784-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายทะเล
dc.subjectการระงับข้อพิพาท
dc.subjectกฎหมายระหว่างประเทศ
dc.subjectLaw of the sea
dc.subjectDispute resolution (Law)
dc.subjectInternational law
dc.titleความรับผิดชอบและพันธกรณีของรัฐผู้อุปถัมภ์บุคคลและองคภาวะในการทำกิจกรรมบริเวณพื้นที่ : ศึกษากรณีความเห็นแนะนำขององค์คณะว่าด้วยข้อพิพาทพื้นดินท้องทะเลแห่งศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศในคดี หมายเลข 17en_US
dc.title.alternativeRESPONSIBILITIES AND OBLIGATIONS OF STATES SPONSORING PERSONS AND ENTITIES WITH RESPECT TO ACTIVITIES IN THE AREA: A CASE STUDY ON THE ADVISORY OPINION OF SEABED DISPUTES CHAMBER OF THE INTERNATIONAL TRIBUNAL FOR THE LAW OF THE SEA CASE NO. 17en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchumphorn.p@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.784-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486045234.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.