Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46028
Title: สถานะและผลทางกฎหมายระหว่างประเทศของความตกลงสันติภาพระหว่างรัฐและกลุ่มปฏิปักษ์ในประเทศ
Other Titles: LEGAL STATUS AND CONSEQUENCES IN INTERNATIONAL LAW OF PEACE AGREEMENT BETWEEN STATE AND ARMED NON-STATE ENTITY
Authors: สุธาสินี เหล่าไทย
Advisors: ศารทูล สันติวาสะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Saratoon.S@chula.ac.th
Subjects: สันติภาพ
สนธิสัญญาสันติภาพ
กฎหมายระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Peace
Peace treaties
International law
International relations
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภายหลังจากการเกิดการขัดกันทางอาวุธที่ไม่มีลักษณะระหว่างประเทศ รัฐและฝ่ายปฏิปักษ์ภายในรัฐได้มีการจัดทำความตกลงสันติภาพเพื่อเป็นตราสารที่แสดงออกถึงการยุติความขัดแย้งเพื่อนำไปสู่สันติภาพอย่างถาวร เนื้อหาที่กำหนดในความตกลงสันติภาพจึงมีทั้งการวางระบบโครงสร้างทางอำนาจภายในรัฐ และการบรรจุหลักกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อเป็นกรอบในการปฏิบัติตาม อีกทั้งยังได้มีการกำหนดกลไกการบังคับโดยฝ่ายที่สามอันได้แก่รัฐหรือองค์การระหว่างประเทศ จึงทำให้เกิดประเด็นถกเถียงในเรื่องสถานะและผลของความตกลงสันติภาพระหว่างรัฐและฝ่ายปฏิปักษ์ภายในรัฐ จากการค้นคว้าปรากฏว่า ความตกลงสันติภาพระหว่างรัฐและกลุ่มปฏิปักษ์ภายในรัฐอาจอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศได้หากความตกลงสันติภาพมีจุดเกาะเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศกล่าวคือ สาเหตุของความขัดแย้งเป็นการใช้สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของประชาชน หรือ ฝ่ายปฏิปักษ์ได้รับการรับรองโดยองคภาวะในทางระหว่างประเทศ ซึ่งความตกลงสันติภาพที่เกิดขึ้นมีเงื่อนไขที่เข้าองค์ประกอบสองประการข้างต้น อย่างไรก็ดีประเด็นในเรื่องสถานะและผลในทางกฎหมายระหว่างประเทศของความตกลงสันติภาพยังไม่เป็นข้อยุติ เนื่องจากได้มีคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กำหนดให้ความตกลงสันติภาพเป็นเพียงวิธีปฏิบัติการเท่านั้น ในขณะที่นักวิชาการจำนวนมากเห็นว่าความตกลงสันติภาพมีลักษณะเป็นตราสารในทางกฎหมายระหว่างประเทศได้ แต่นักวิชาการก็ยังมีความเห็นในเรื่องระบบกฎหมายที่จะนำมาปรับใช้แตกต่างกัน กล่าวคือฝ่ายหนึ่งเห็นว่าสามารถหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ได้ ในขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่าควรมีการสร้างระบบกฎหมายระหว่างประเทศระบบใหม่มาปรับใช้กับความตกลงสันติภาพโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนวิทยานิพนธ์เห็นว่า ความตกลงสันติภาพมีลักษณะเป็นตราสารตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสามารถนำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้วมาบังคับใช้ได้ เพียงแต่ยังขาดประสิทธิภาพในเรื่องของการบังคับใช้ ทำให้ความตกลงสันติภาพยังมีปัญหาท้าทายที่ยังต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้การบังคับใช้ความตกลงสันติภาพเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: After the end of Armed conflicts, peace agreement is signed by State and armed non-state entities. In order to establish true peace, the parties agreed that the peace agreement shall oblige them both in Domestic laws and International laws, and moreover, being monitored system by third parties. As the peace agreements are different from other international agreement, academics have been discussing their status and legal consequences. The thesis found that a peace agreement between State and non-state entities could be an agreement under International law if the conflict either the right to self-determination, or the armed non-state entities are recognized by International. However, the issues concerning to the status and legal consequences of these agreements are far from definitive because International Court of Justice downgrades the legal status of peace agreements by treating them as mere “modus operandi”, while some academics disagree with the Court decisions and argue that the peace agreement can be an instrument under International law. Nevertheless, academics still have different opinions about legal consequences of these agreements, one side support for applying the doctrine of International Law to peace agreements. Another side represent a new category, lex pacificatoria, for preserving the legal character of peace agreements. The author support the first opinion but the drawback of this opinion is the lack of effective enforcement, so this will be a challenging issue of a more effective law enforcement mechanism that needs further development.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46028
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.785
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.785
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486046934.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.