Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46029
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัชชมัย ทองอุไรen_US
dc.contributor.authorอรชนันท์ บุญมีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:21:35Z
dc.date.available2015-09-18T04:21:35Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46029
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าแนวคำตัดสินของ WTO ที่ให้น้ำหนักพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกเหนือกว่าความตกลง WTO เป็นคำตัดสินที่ไม่สอดคล้องกับแนวคำตัดสินของ GATT/WTO ที่ผ่านมาซึ่งมีสมดุลระหว่างการค้าและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ ในการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้ศึกษาถึงแนวทางการตีความของพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ GATT ถึง WTO แนวทางการตีความตามมาตรา 20 (g) ของ GATT 1994 หลักการตีความสนธิสัญญาตามอนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ. 1969 และวิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับคำตัดสินกรณีการจำกัดการส่งออกแร่ของจีน จากการศึกษาวิจัยดังกล่าวพบว่าในยุคของ GATT มีแนวโน้มการตีความที่ให้น้ำหนักกับความตกลง GATT 1947 เหนือกว่าพิธีสารการเข้าเป็นภาคี เพราะพิธีสารการเข้าเป็นภาคีเป็นความตกลงที่อาจเข้ามาเปลี่ยนแปลงและทำลายความมั่นคงและความคาดการณ์ได้ของระบบ GATT 1947 ซึ่งเป็นความตกลงเดียวที่มีผลใช้บังคับในขณะนั้น แต่ในยุคของ WTO มีแนวทางการตีความที่ให้น้ำหนักกับพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกเหนือกว่าความตกลง GATT 1994 ซึ่งเป็นความตกลงแนบท้าย WTO เพราะกรอบความตกลง WTO มีลักษณะเป็น the Single Undertaking (ลงนามครั้งเดียวแต่มีผลผูกพันทุกความตกลง) เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างมาตรา 20 (g) ของ GATT 1994 กับพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกขึ้น คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทและองค์กรอุทธรณ์จึงหลีกเลี่ยงที่จะตีความว่าพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกเป็นส่วนหนึ่งของความตกลง GATT 1994 โดยให้น้ำหนักกับข้อบท/บทบัญญัติของพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกเหนือกว่าสมดุลระหว่างการค้าและสิ่งแวดล้อมดังจะเห็นได้จากกรณีการจำกัดการส่งออกแร่ของจีนที่ WTO ตัดสินว่า ถ้าพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกไม่มีถ้อยคำที่เชื่อมโยงถึงความตกลง GATT 1994 ประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกของ WTO ภายหลังก็ไม่มีสิทธิใช้มาตรการกำกับ/ควบคุมทางการค้าภายใต้มาตรา 20 (g) ของ GATT 1994 ผ่านพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกได้ ซึ่งในประเด็นนี้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ของนักวิชาการทางกฎหมายระหว่างประเทศและความเห็นแย้งของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทในคดี China - Rare Earths ที่ผู้เขียนอาจสรุปได้ คือ ควรตีความพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกว่าเป็นส่วนหนึ่งของ GATT 1994 ด้วย ดังนั้นประเทศที่เข้าเป็นสมาชิกของ WTO ภายหลังควรทำพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิกให้ครอบคลุมถึงความตกลง WTO และความตกลงตามภาคผนวกแนบท้ายของ WTO ตั้งแต่ขั้นตอนการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this Thesis is to study whether the decisions of the World Trade Organization which assumed that Protocol of Accession had been considered superior to WTO Agreement is inconsistent with the precedent of GATT/WTO which has had tendency to balance suitably between trade and environment. On account of this the researcher describes the evolution and interpretation of the Protocol cases and interpretation of Article 20 (g) since the establishment of GATT and WTO; explains rules of interpretation under Vienna Convention 1969 as well as analyzes the cases study on China – Measures Relating to the Exportation of Various Raw Materials and Rare Earth, Tungsten and Molybdenum. The finding indicates that GATT 1947 has been given considerably more weight than Protocol of Accession in GATT jurisprudence because if this is not the case, Protocol would be change and dismantle the stability and predictability of GATT 1947 which was then only treaty in force. However, in the era of WTO, Protocol of Accession has been superior to GATT 1994 which is in WTO Annex because WTO Agreement is of the ‘Single Undertaking’ character. When there exist differences between Article 20 (g) GATT 1994 and Protocol of Accession, the Panel and Appellate Body then had a tendency to avoid interpreting that Protocol of Accession is an integral part of GATT 1994. They have rather emphasized the text of the Protocol than equalized trade and environment such as China - Raw Materials/ China - Rare Earths. If terms of the Protocol have no reference to GATT 1994, the Member by Accession cannot exercise its right to regulate under Article 20 (g) GATT 1994 through the Protocol as to this issue there are many opinions and arguments from legal scholars and one panelist from China - Rare Earths case which can be concluded that Protocol of Accession should be considered an integral part of GATT 1994. Therefore, the Member by Accession should include comprehensive terms in the covered agreements since accession negotiation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.786-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectองค์การการค้าโลก
dc.subjectความตกลงระหว่างประเทศ
dc.subjectทรัพยากรธรรมชาติ
dc.subjectวัตถุดิบ
dc.subjectแร่ -- จีน
dc.subjectWorld Trade Organization
dc.subjectInternational obligations
dc.subjectNatural resources
dc.subjectRaw materials
dc.subjectMinerals -- China
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างความตกลง WTO กับพิธีสารการเข้าเป็นสมาชิก : ศึกษากรณีการจำกัดการส่งออกแร่ของจีนen_US
dc.title.alternativeRELATION BETWEEN WTO AGREEMENT AND PROTOCOL OF ACCESSION : THE CASE STUDY OF CHINA - MEASURES RELATED TO THE EXPORTATION OF VARIOUS RAW MATERIALS AND RARE EARTHS, TUNGSTEN AND MOLYBDENUMen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTashmai.R@chula.ac.th,rtashmai@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.786-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5486053234.pdf3.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.