Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46030
Title: | การผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าของบรรเทาทุกข์เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติภายใต้บริบทกฎหมายระหว่างประเทศ: ศึกษาการผ่านพิธีการศุลกากรของประเทศไทย |
Other Titles: | THE CUSTOMS CLEARANCE PROCEDURES FOR IMPORTS OF RELIEF CONSIGNMENTS ASSISTING PEOPLE AFFECTED BY DISASTER UNDER THE CONTEXT OF INTERNATIONAL LAWS: A CASE STUDY OF CUSTOMS CLEARANCE PROCEDURES IN THAILAND |
Authors: | อาทิตา แสนเสนาะ |
Advisors: | ทัชชมัย ทองอุไร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Tashmai.R@chula.ac.th,rtashmai@yahoo.com,rtashmai@yahoo.com |
Subjects: | กฎหมายศุลกากร -- ไทย กฎหมายระหว่างประเทศ -- ไทย สินค้าเข้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย ศุลกากร -- ไทย การยกเว้นอากรการนำเข้า -- ไทย ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย การบรรเทาสาธารณภัย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย Customs law -- Thailand International law -- Thailand Imports -- Law and legislation -- Thailand Customs administration -- Thailand Duty-free importation -- Thailand Humanitarian assistance -- Law and legislation -- Thailand Disaster relief -- Law and legislation -- Thailand |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การอำนวยความสะดวกการผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าของบรรเทาทุกข์ที่ปรากฏในกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรของประเทศไทยที่ไม่มีพิธีการศุลกากรบังคับใช้ในการอำนวยความสะดวกสำหรับการนำเข้าของบรรเทาทุกข์ไว้โดยเฉพาะ จากการศึกษาพบว่าในกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศและตราสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้ปรากฏหลักเกณฑ์การอำนวยความสะดวกการผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าของบรรเทาทุกข์ที่สอดคล้องกันทั้งหมด 6 ประการ ได้แก่ คำนิยาม เรื่องระยะเวลา การปรับปรุงขั้นตอนพิธีการศุลกากรให้รวดเร็ว การยกเว้นค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายต่างๆ การผ่อนผันข้อห้ามข้อจำกัด และการจัดการของบรรเทาทุกข์ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทีช่วยให้การนำเข้าของบรรเทาทุกข์นั้นรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ ประเทศที่ได้นำหลักเกณฑ์ข้างต้นมาใช้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรของตน จะทำให้ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและลดความสูญเสียในวงกว้างได้ สำหรับประเทศไทย กฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ไม่มีพิธีการศุลกากรที่ใช้อำนวยความสะดวกสำหรับการนำเข้าของบรรเทาทุกข์ไว้โดยเฉพาะ อีกทั้งมิได้บัญญัติขึ้นเพื่อบังคับใช้ในสถานการณ์เร่งด่วนเมื่อเกิดภัยพิบัติ การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยศุลกากรในปัจจุบันจึงกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้การนำเข้าของบรรเทาทุกข์ล่าช้า ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศข้างต้น โดยหลักเกณฑ์เรื่องคำนิยาม หลักเกณฑ์เรื่องระยะเวลา หลักเกณฑ์การยกเว้นค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายต่างๆ หลักเกณฑ์การผ่อนผันข้อห้ามข้อจำกัด และหลักเกณฑ์การจัดการของบรรเทาทุกข์ ควรแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 และพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 ส่วนหลักเกณฑ์เรื่องการปรับปรุงขั้นตอนพิธีการศุลกากรให้รวดเร็ว อันเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดหน้าที่และขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกในการนำเข้าของบรรเทาทุกข์ ควรแก้ไขเพิ่มเติมในประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ. 2556 ซึ่งการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรของประเทศไทยดังกล่าวย่อมเป็นประโยชน์ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถอำนวยความสะดวกการผ่านพิธีการศุลกากรสำหรับการนำเข้าของบรรเทาทุกข์ได้อย่างรวดเร็วและทำให้ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในประเทศไทยได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที |
Other Abstract: | This Thesis is aimed to study on the criteria of customs clearance procedures facilitation which is focusing on importing relief consignments appeared on international law. To use as guideline for improving a Customs law that has not been designed for relief consignments particularly. According to the study, in international law; conventions and other legal instruments, have been designated the criteria for customs clearance procedure facilitation methods on imported relief consignments. The methods consisted of six matters; Definitions, Period, Simplified Customs Procedures and Facilitation, Exemption from Import Duties, Taxes and Other Charges, Exemption from Prohibitions/Restrictions and Relief Consignments Management. Therefore, the states who have improved their customs law comply with the above mentioned criteria would be able to help the people affected by disasters rapidly and to reduce large losses. For Thailand, the customs law, which is currently in force, has not been designed for imported relief consignments in particular and has not constituted to enforce in an urgent situation when disaster strikes. The enforcement of current customs law has become a obstacle to the import of relief consignments delayed. Therefore, Thailand should amend the customs law comply with the above mentioned five aspects of criteria consisting of Definitions, Exemption from Import Duties, Taxes and Other Charges, Exemption from Prohibitions/Restrictions and Relief Consignments Management. This should be amended on the Customs Tariff Decree, B.E. 2530, Part 4 and The Customs Act, B.E. 2469. For customs clearance procedure facilitation methods, it should be amended on the Customs Regulations 2556. In conclusion, the improvement of Thai Customs law would be helpful for the customs officers who facilitate rapid customs clearance procedures for imported relief consignments and those who affected by disasters get immediately humanitarian assistance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46030 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.787 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.787 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5486056134.pdf | 4.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.