Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46031
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปารีณา ศรีวนิชย์ | en_US |
dc.contributor.author | อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:21:36Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:21:36Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46031 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การจัดการประมงทะเลพื้นบ้านของไทยในปัจจุบัน อยู่ภายใต้แนวคิดพื้นฐานที่ว่าทรัพยากรประมงเป็นทรัพย์สาธารณะ ที่เปิดให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเสรี โดยรัฐเป็นผู้มีอำนาจจัดการเพียงลำพัง ส่งผลให้ทรัพยากรประมงเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องกับสภาพของทรัพยากร อย่างไรก็ดี ชุมชนสามารถเปลี่ยนทรัพยากรที่เข้าถึงโดยเสรี ให้กลายเป็นระบบทรัพย์สินรวมเพื่อจัดการร่วมกันได้ โดยใช้หลักการแบบการจัดการร่วม ที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ อาทิ ลักษณะของทรัพยากร ผู้ใช้ทรัพยากร เงื่อนไขความต้องการในตัวทรัพยากร และระบบกฎหมายว่าเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรดังกล่าวได้เพียงใด วิทยานิพนธ์นี้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกเป็นการศึกษาแนวคิดและหลักการของการจัดการร่วมในทรัพยากรธรรมชาติ และผลกระทบทางกฎหมายหากนำมาตรการการจัดการร่วมมาใช้กับการทำประมงทะเลพื้นบ้านของไทย โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายและกรณีศึกษาของต่างประเทศ ในประเด็นหลัก ได้แก่ สิทธิในทรัพยากรประมงว่าควรจะเป็นของใคร ข้อตกลงการจัดการร่วม การจัดองค์กรการจัดการร่วม และกระบวนการจัดการร่วม และในส่วนที่สองเป็นบทวิเคราะห์ บทสรุป และข้อเสนอแนะ โดยทำการวิเคราะห์ในประเด็นหลักดังกล่าว พร้อมทั้งสังเคราะห์ผลการศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในบริบทของประเทศไทยต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้ระบบสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ ที่ถือว่ารัฐเป็นเจ้าของทรัพยากร โดยชุมชนมีสิทธิการเข้าถึงและสิทธิการใช้ประโยชน์ในทรัพยากร ที่ถือเป็นสิทธิเชิงซ้อน อันเป็นการซ้อนทับของสิทธิ ได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง และสิทธิเก็บกินในทรัพยากรประมง โดยใช้มาตรการการจัดการร่วมในการทำประมงทะเลพื้นบ้านที่รัฐและชุมชนท้องถิ่นจัดทำข้อตกลงการจัดการร่วมกัน มีการจัดองค์กรการจัดการร่วมที่ประกอบไปด้วยผู้มีส่วนได้เสียจากภาครัฐ ชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ อย่างเท่าเทียม และการกำหนดมาตรการในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรประมงร่วมกันนั้น สามารถแก้ไขปัญหาการจัดการประมงทะเลพื้นบ้านได้อย่างยั่งยืน การพัฒนากฎหมายสำหรับการจัดการร่วมในประมงทะเลพื้นบ้านของไทย ควรสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่มีการกำหนดโครงสร้างอำนาจขององค์กรและสิทธิการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ อำนาจการตัดสินใจในการดำเนินมาตรการ สิทธิและความรับผิดชอบของหุ้นส่วนจัดการ การบูรณาการสิทธิและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการจัดการประมงร่วมกัน โดยกำหนดความชัดเจนในเรื่องต่างๆ ดังนี้ (1) รัฐเป็นเจ้าของและมีอำนาจจัดการทรัพยากรประมง (2) ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในทรัพยากรประมงในท้องถิ่น (3) รัฐเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการจัดการร่วมที่ชอบธรรม และ (4) ขอบเขตการแบ่งปันอำนาจการจัดการทรัพยากรประมงระหว่างรัฐกับชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้เสียที่เท่าเทียมกัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | Nowadays, the concept of community-based fishery management has long been provided under the principle of common heritage of mankind. Under this principle, even though it is opened for public usage, it is still under control of States entitled to such natural resources. By means of governmental natural resources management, this, subsequently, degenerate natural resources itself. Nonetheless, with local wisdom, communities can manage this freely access natural resources by themselves under the principle of the co-management of natural resources. This includes the consideration of natures of natural resources, users, terms and conditions of natural resources usage, and laws and regulations which allows such communities to manage resources themselves legally. This research consists of two parts. The first part will explore the concept and the principles of co-management of natural resources and the effects of the legal sanctions on Thai community-based fisheries, including a comparative study between Thai and foreign laws on the right to natural resources and the co-management concept. In the second part will be the analysis part and conclusions and suggestions for Thai law development. According to this research, it reveals that the concept of natural resources management which a State is a sole owner of all natural resources in its territory. Then, such State renders the right to access to these resources to people and communities. This concept creates a very complicated issue on the right to natural resources. This complicated issue concerns the property rights, the right to property, and the right to accession to natural resources. The research reveals that the co-management of natural resources between a State’s authorities and communities is more practical and reliable in many ways, particularly in accession to natural resources and sustainable conservation of natural resources. Therefore, for the effective management of such natural resources, Thai laws and regulations concerning Thai community-based fisheries should be based on the principle of co-management. All stakeholders have to pay their contribution for providing the rules for a sustainable development on this matter as follows: (1) reaffirming that States are the sole owner and have the right to regulate natural resources within their territory, (2) recognizing that communities have the right to accession to natural resources, (3) Agreeing that States can regulate terms and conditions on accession and usage of natural resources, and (4) reaffirming that co-management of natural resource are based on the cooperation of all stakeholders. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.788 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทย | |
dc.subject | ประมงพื้นบ้าน -- ไทย | |
dc.subject | การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ | |
dc.subject | Natural resources -- Thailand | |
dc.subject | Traditional fishing -- Thailand | |
dc.subject | Natural resources -- Management | |
dc.title | มาตรการทางกฎหมายสำหรับการจัดการร่วมในทรัพยากรธรรมชาติ: ศึกษาการประมงทะเลพื้นบ้าน | en_US |
dc.title.alternative | Legal Measures for the Co-management of Natural Resources: Case of Community-based Fisheries Co-management | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Pareena.S@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.788 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5486554334.pdf | 5.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.