Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46070
Title: ผลกระทบในการปรับปรุงสภาพการทำงานในสภาวะเร่งทำงานต่อผลิตภาพและความปลอดภัย :กรณีศึกษาการยกสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ด้วยแรงคน
Other Titles: THE EFFECTS OF IMPROVEMENT OF WORKING CONDITION WITH RUSH STATE ON PRODUCTIVITY AND SAFETY : A CASE STUDY OF CONTAINER MANUAL HANDLING TASKS
Authors: รวีวรรณ เอี่ยมอารีรัตน์
Advisors: ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Phairoat.L@chula.ac.th
Subjects: การขนถ่ายวัสดุ
ความล้า
สภาพแวดล้อมการทำงาน
Materials handling
Fatigue
Work environment
การขนถ่ายวัสดุ
ความล้า
สภาพแวดล้อมการทำงาน
Materials handling
Fatigue
Work environment
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุปสรรคสำคัญของงานจัดเรียงสินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์ คือ อุณหภูมิภายในที่ทำงานสูงและพื้นที่ทำงานจำกัด เนื่องจากตู้คอนเทนเนอร์มักถูกวางไว้กลางแจ้ง จึงทำให้อุณหภูมิภายในสูงกว่าภายนอกเสมอ รวมทั้งทางเข้า-ออก มีเพียงทางเดียวจึงไม่สามารถสร้างระบบการไหลเวียนของอากาศได้ แม้ว่าสินค้าที่จัดเรียงมีน้ำหนักไม่มาก แต่ด้วยปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่กล่าวมางานจัดเรียงสินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์จึงเป็นงานที่สร้างภาระให้กับร่างกายมากกว่าการทำงานยกแบบปกติทั่วไป งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลิตภาพและความปลอดภัยในการจัดเรียงสินค้าขนาดไม่เกิน 7 กิโลกรัมเข้าตู้คอนเทนเนอร์ด้วยแรงงานคนในสภาวะปกติและสภาวะเร่งทำงาน 2) เพื่อค้นหาสภาพการทำงานที่มีผลิตภาพที่สูงขึ้นโดยไม่ก่อให้เกิดภาระแก่ร่างกายเกินระดับจนก่อให้เกิดอันตรายหรือภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง การปรับปรุงสภาพการทำงานที่บริษัทเข้าร่วมยอมรับให้ปรับปรุงได้มี 2 วิธี คือ 1)การติดตั้งพัดลมบริเวณหน้าทางเข้า-ออกตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อช่วยลดภาระความร้อน และ 2)การนำโต๊ะเข้ามาเพื่อช่วยลดปัญหาท่ายกของที่ไม่ปลอดภัย โดยมีพนักงานชายที่เข้าร่วมงานวิจัยด้วยความสมัครใจทั้ง 2 สภาพงาน โดยสภาพงานละ 6 คน แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของเวลาในการวิจัยแต่ละครั้งที่ต้องไม่รบกวนเวลาการทำงานของพนักงาน งานวิจัยนี้จึงได้ใช้แนวทางการเพิ่มความเร็วในการทำงานเพื่อต้องการให้ได้ผลการปรับปรุงที่ชัดเจน จึงได้กำหนดความเร็วในการทำงานออกเป็น 3 ระดับ คือ 1.ความเร็วปกติ (Rating 100%) 2.ความเร็วสูง (Rating 110 -120%) และ 3.ความเร็วสูงที่สุด (Rating 120 - 140%) โดยแต่ละความเร็วมีระยะเวลาเพียง 5 นาที จำนวนกล่องที่จัดเรียงและอัตราการเต้นของหัวใจของพนักงานถูกใช้เป็นตัวชี้วัดผลในการปรับปรุงครั้งนี้ ผลการวิจัยพบว่า ในสภาวะการทำงานที่มีการติดตั้งพัดลม ไม่ได้ส่งผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ทำให้ผลิตภาพสูงขึ้น แต่ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง (ลดลงเฉลี่ย 4.20%) อย่างมีนัยสำคัญทุกระดับความเร็วในการทำงาน สำหรับการนำโต๊ะเข้ามาช่วย พบว่าส่งผลให้ผลิตภาพลดลงอย่างมีนัยสำคัญทุกระดับความเร็วในการทำงาน (ลดลงเฉลี่ย 10.23%) เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ทำงานได้ทำให้การใช้โต๊ะกลายเป็นการกีดขวางการทำงาน แต่ทำให้จำนวนท่าทางที่ไม่ปลอดภัยลดลง (ลดลงเฉลี่ย 16.95 %) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ทุกระดับความเร็วในการทำงาน นอกจากนี้ยังพบข้อสังเกตสำหรับการทำงานที่ยาวนานขึ้น (90 นาที) ว่าการติดตั้งพัดลมได้ทำให้ผลิตภาพเพิ่มขึ้นประมาณ 16.45% ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การติดตั้งพัดลมจึงเป็นแนวทางที่เป็นไปได้ที่ได้รับการยอมรับจากโรงงานนี้ เนื่องจากเป็นการเพิ่มระดับความปลอดภัยจากอัตราการเต้นของหัวใจในขณะทำงานที่ลดลง และอาจส่งผลต่อผลิตภาพในระยะยาวให้เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากความล้าสะสมที่เกิดขึ้นจากการทำงานลดลง
Other Abstract: The major problems of a container manual handling task are the high temperature in working area and the limited working space. The container is always located outside the building causes the inner temperature is higher than the outside. Moreover, there is only one way access the ventilation system cannot be installed in the container. Although the handling packages are not heavy, the working environments of container increases workload more than a normal manual handling task. This research aimed to 1) study the effects of improvement of working conditions with normal and rush states on productivity and safety of the container manual handling task with lifting load less than 7 kg. 2) determine the working conditions which increase the productivity without the injury and illness from exceeding workloads. The joined company accepted two methods of improvement which were 1) the installation of industrial fan in front of the access way of the container in order to reduce heat loads. 2) the installation of table for solving unsafe lifting posture. Male industrial workers were recruited voluntarily in 2 working conditions. Each working condition was performed by 6 workers. Due to the time limitation of research that should not disturb the routine works. Therefore the increasing of working movement speed were implemented in this research for revealing the obvious results. The working movement speed was implemented into 3 levels of rating 1) normal movement speed (rating at 100%), 2) rush movement speed (rating at 110-120%) and 3) very rush movement speed (rating at 120-140%). Each movement rating was performed in 5 minutes. The quantity of handling cartons and the heart rate of worker were recorded as the indicator for these improvements. The results showed that when industrial fan was applied in working condition. There was no significant differences on the increasing of productivity but it significantly decreased the heart rate in all movement rating (average decreasing = 4.20%). Furthermore, the table installation significantly decreased in productivity in all movement rating (average decreasing = 10.23%) because of working space constraints and table was obstructive for handling. However the number of unsafe lifting posture significantly decreased (average decreasing = 16.95 %) in all movement rating. By observation for long term working (90 minutes), the industrial fan installation increased the productivity about 16.45% In conclusion, the indusial fan installation should be possible to accept in this factory that will increase the safety level by decreasing the working heart rate. Furthermore, it may be increase the productivity in longer term because it reduces the working fatigue.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46070
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.811
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.811
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570938021.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.