Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46099
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์en_US
dc.contributor.authorสุจิตรา มหาสุขen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:12Z
dc.date.available2015-09-18T04:22:12Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46099
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฟื้นฟูมือและแขนต่อการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองในระยะฟื้นฟูสภาพ จำนวน 44 คน อาศัยในพื้นที่บริการสุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลพัทลุง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม จับคู่ในด้านเพศ อายุ และระยะเวลาการเจ็บป่วย โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฟื้นฟูมือและแขน ระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฟื้นฟูมือและแขน และBarthel ADL Index โดยใช้แนวคิด The Information- Motivation Behavioral Skills Model ร่วมกับแนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ได้รับการตรวจสอบความตรงโดยพิจารณาความเหมาะสมของโปรแกรม 5 รายการจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านได้ค่าเท่ากับ 0.81 ตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน Barthel ADL Index กับผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 30 ราย ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองภายหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฟื้นฟูมือและแขนมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองภายหลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฟื้นฟูมือและแขนมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research aimed to test the effects of Information-Motivation-Hand and Arm Rehabilitation program on Activity of Daily Living (ADL) among older persons with stroke. The samples were 44 older persons post stroke at recovery stage living in the community, Phatthalung Province. They were equally assigned to a control group and an experimental group. The participants in both groups were matched by gender, age and duration of illness. The experimental group underwent the Information-Motivation-Hand and Arm Rehabilitation program for sixth weeks and the control group received conventional care. The instruments employed in the study were the Information-Motivation-Hand and Arm Rehabilitation program and Barthel ADL Index. The program was developed under the Information- Motivation Behavioral Skills Model and Hemiplegia Rehabilitation Concept. Content Validity of the program was approved by 5 experts (CVI=0.81). Barthel ADL Index was tested with 30 participants obtaining Reliability 0.80. The data were analyzed using descriptive statistic and t-test. The major results were as follows: 1. Activity of daily living after receiving the Information-Motivation-Hand and Arm Rehabilitation program of older persons with stroke in the experiment group were significantly higher than activity of daily living before undertaking the program (P<.05). 2. Activity of daily living after receiving the Information-Motivation-Hand and Arm Rehabilitation program of older persons with stroke in the experiment group were significantly higher those who undertaking conventional care (p<.05).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.824-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟื้นฟูสมรรถภาพ
dc.subjectหลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วย -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
dc.subjectการพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟู
dc.subjectRehabilitation
dc.subjectCerebrovascular disease -- Patients -- Rehabilitation
dc.subjectOlder people
dc.subjectSelf-care, Health
dc.subjectRehabilitation nursing
dc.titleผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการฟื้นฟูมือและแขนต่อการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF INFORMATION-MOTIVATION-HAND AND ARM REHABILITATION PROGRAM ON ACTIVITY OF DAILY LIVING AMONG OLDER PERSONS WITH STROKEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisortassana.c@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.824-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577203736.pdf8.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.