Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46106
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าในเขตภาคกลาง
Other Titles: SELECTED FACTORS RELATED TO DEPRESSION OF THE OLDER PERSONS WITH DEPRESSIVE DISORDER IN THE CENTRAL REGION)
Authors: มุจรินทร์ พุทธเมตตา
Advisors: รังสิมันต์ สุนทรไชยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: rangsiman.s@chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
โรคซึมเศร้า
ผู้สูงอายุ
Depression in old age
Psychotic depression
Older people
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ความสามารถ ในการรู้คิด การดื่มแอลกอฮอล์ เหตุการณ์ความเครียดในชีวิต ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความเข้มแข็งทางใจ การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการทำหน้าที่ ความเชื่อทางศาสนา กับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้า และมารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 176 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย 3) แบบประเมินเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต 4) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง 5) แบบประเมินความเข้มแข็งทางใจ 6) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม 7) แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ และ 8) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ เครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน พบค่าความตรงอยู่ระหว่าง .88 ถึง 1.00 และค่าความเที่ยงของเครื่องมือชุดที่ 2-8 อยู่ระหว่าง .811 ถึง .962 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า พบอยู่ในระดับเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 65.9 ระดับปานกลาง ร้อยละ 30.7 และระดับรุนแรง ร้อยละ 3.4 2. เพศ มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า (r=.242, p<.01) 3. การดื่มแอลกอฮอล์ และเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต มีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า (r=.238, p<.01 และ r=.435, p<.01 ตามลำดับ) 4. ความสามารถในการรู้คิด ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความเข้มแข็งทางใจ การสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการทำหน้าที่ และความเชื่อทางศาสนา มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า (r=-.181, p<.05, r=-.318, p<.01, r=-.320, p<.01, r=-.331, p<.01, r=-.362, p<.01 และ r=-.179, p<.05 ตามลำดับ) 5. การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโรคซึมเศร้า
Other Abstract: The purpose of this descriptive correlational research were to examine level of depression of the older persons with depressive disorder and to study the relationship between gender, chronic illness, cognitive function, alcohol drinking, stressful life event, self-esteem, resilience, social supports, functional ability, religion belief and depression. A Sample of 176 patients with depressive disorder, aged 60 years and older was recruited from the psychiatric out-patient department, the tertiary hospital by using multi-stage random sampling. The research instruments included: 1) Personal Questionnaire, 2) Mini – Mental State Examination : Thai version, 3) Geriatric Social Readjustment Rating Scale (GSRRS), 4) Self Esteem Scale, 5) Resilience Scale Instrument, 6) The personal resource questionnaire (PRQ85), 7) Late-Life Function Instrument (LLFI) and, 8) Thai Geriatric Depression Scale (TGDS). All instruments were verified for Content Validity Index (CVI) by five experts. The CVI of instruments was .88 - 1.00. The reliability of the 2nd–8th questionnaires was .811 - .962. Data were analyzed by using descriptive statistics, Point biserial correlation and Pearson’s Product Moment correlation. Findings were: 1. The Percentage and level of depression of the older persons with depressive disorder was 65.9% mild, 30.7% moderate and 3.4% severe. 2. Gender was statistically significant related to depression. (r=.242, p<.01) 3. Alcohol drinking and stressful life event were statistically significant positive correlation with depression. (r=.238, p<.01 and r=.435, p<.01 respectively) 4. Cognitive function, self-esteem, resilience, social support, functional ability and religion belief were statistically significant negative correlation with depression. (r=-.181, p<.05, r=-.318, p<.01, r=-.320, p<.01, r=-.331, p<.01, r=-.362, p<.01 and r=-.179, p<.05 respectively) 5. Chronic illness were not related to depression of the older persons with depressive disorder.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46106
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.830
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.830
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577312436.pdf9.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.