Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46107
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์en_US
dc.contributor.authorวรวรรณ สวนศรีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:17Z
dc.date.available2015-09-18T04:22:17Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46107
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยจิตเภท และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ เพศ ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในการรู้คิด กลุ่มอาการทางบวก กลุ่มอาการทางลบ สัมพันธภาพในครอบครัว ประเภทของกลุ่มยาที่ได้รับและการปฏิบัติตนด้านสุขอนามัยการนอนหลับ กับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการนอนไม่หลับ ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และโรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 165 คน คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ แบบประเมินการปฏิบัติตนด้านสุขอนามัยการนอนหลับ แบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว แบบประเมินอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท แบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย แบบวัดกลุ่มอาการทางบวกของโรคจิตเภท และแบบวัดกลุ่มอาการทางลบของโรคจิตเภทฉบับภาษาไทย โดยเครื่องมือทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .90,.71, .90, .96, .85, .76 และ .79 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบหาค่าที สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน สหสัมพันธ์ Eta และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยจิตเภทมีอาการนอนไม่หลับโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย=16.13, S.D.= 5.56) 2. อายุ เพศ ภาวะซึมเศร้า ความสามารถในการรู้คิด และประเภทของกลุ่มยาที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Eta = .538, .561, .594 .209 และ .220 ตามลำดับ) 3. กลุ่มอาการทางบวก กลุ่มอาการทางลบ และการปฏิบัติตนด้านสุขอนามัยการนอนหลับมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .378, .193 และ .269 ตามลำดับ) 4. สัมพันธภาพในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยจิตเภท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.349)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study the severity of insomnia of schizophrenic patients and relationships among selected factors including age, gender, depressive symptoms, cognitive, positive symptoms, negative symptoms, family relationship, type of anti-psychotic drugs, sleep hygiene practice, and insomnia of schizophrenic patients. The subjects composed of 165 schizophrenic patients with insomnia who were receiving service at the Out Patients Department of Lampang Hospitals, Vachiraphuket Hospitals, Chonburi Hospitals, and Nakhonpathom Hospitals. The research instruments consisted of the personal data record, Insomnia Severity Index, the sleep hygiene behavior, the family relationship questionnaire, the Calgary Depression Scale for Schizophrenia, the Thai Mini-Mental State Examination, the Thai Version of the Positive syndrome scale and the Thai Version of the Negative syndrome scale. All instruments were tested for content validity by professional experts. Reliability of instruments were reported by Cronbach’s coefficient alpha as of .90, .71, .90, .96, .85, .76 and .79 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, independent t-test, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, Eta, and One-way Analysis of Variance. The Major finding were as follows: 1. The severity of insomnia of schizophrenic patients were at the moderated level (mean = 16.13, S.D.= 5.56); 2. Age, gender, depressive symptoms, cognitive, and type of anti-psychotic drugs were significantly related to insomnia of schizophrenic patients at level of .05 (Eta = .538, .561, .594, .209, and .220 respectively); 3. Positive symptoms, negative symptoms and Sleep hygiene were positively correlated to insomnia of schizophrenic patients at level of .05 (r = .378, .193, and .269 respectively); 4. Family relationship were negatively correlated to insomnia of schizophrenic patients at level of .05 (r = -.349) .en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.831-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบริการสุขภาพจิต
dc.subjectการนอนไม่หลับ
dc.subjectจิตเภท
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภท
dc.subjectMental health services
dc.subjectInsomnia
dc.subjectSchizophrenia
dc.subjectSchizophrenics
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยจิตเภทen_US
dc.title.alternativeSELECTED FACTORS RELATED TO INSOMNIA OF SCHIZOPHRENIC PATIENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPennapa.D@Chula.ac.th,dnayus@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.831-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577313036.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.