Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46121
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิภาวดี ลี้มิ่งสวัสดิ์ | en_US |
dc.contributor.author | ฤทธิรงค์ อัญจะนะ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:22:22Z | - |
dc.date.available | 2015-09-18T04:22:22Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46121 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือกของคนไทย และเพื่อเปรียบเทียบความรู้ และทัศนคติการใช้การแพทย์ทางเลือกของคนไทย จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ที่ได้รับต่อเดือน และพื้นที่ที่อยู่อาศัย กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนวัยทำงาน จำนวน 500 คน ที่มีอายุ 20-59 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและอาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมืองใหญ่ของแต่ละจังหวัดในแต่ละภาค โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่า “ที” (t-test) และค่า “เอฟ” (F-test) ในกรณีที่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1. คนไทยมีความรู้เกี่ยวกับการใช้การแพทย์ทางเลือกอยู่ในระดับควรปรับปรุง และมีทัศนคติกับพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้การแพทย์ทางเลือกอยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบ ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้การแพทย์ทางเลือก พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กลุ่มที่มีระดับการศึกษาสูง รายได้ที่ได้รับต่อเดือนสูง และพื้นที่ที่อยู่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีความรู้ และทัศนคติดีกว่ากลุ่มที่มีระดับการศึกษาต่ำ รายได้ที่ได้รับต่อเดือนน้อย และพื้นที่ที่อยู่อาศัยอยู่ในภาคอื่น และพบว่ากลุ่มอายุน้อยกว่ามีความรู้แตกต่างกับกลุ่มอายุมากกว่า สรุปผลการวิจัย คนไทยมีความรู้เกี่ยวกับการใช้การแพทย์ทางเลือกในระดับควรปรับปรุง มีทัศนคติและพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้การแพทย์ทางเลือกระดับปานกลาง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะเสริมสร้างความรู้ ส่งเสริมการสร้างทัศนคติ และการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้การแพทย์ทางเลือกให้กับคนไทย | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this study were to study the knowledge, attitude and behavior of using alternative medicine in Thai people and to compare knowledge and attitude classified by variables of gender, age, education levels, income per month and residential areas. The subjects were 500 working age Thai people who live in Bangkok metropolis and large urban areas of other provinces in each region. The subjects were working age people from the age of 20 to 59 years. The data were collected by questionnaires developed by the researcher. The completed data were analyzed in terms of percentages, means, standard deviations, t-test, F-test, and multiple comparisons by using Scheffe’s method and set P-value at the 0.05 level. The results of this study were as follows: 1. The knowledge of Thai people in using alternative medicine showed the rectifiable level while both attitude and behavior showed a moderate level. 2. Comparing the knowledge and attitude regarding the use of alternative medicine. There were significant differences between a group high level of education, income per month and habitation in Bangkok vary significantly compared with a group low level of education, income per month and other provinces (p<0.05). Moreover, there was a significant difference in knowledge between young and older age groups (p<0.05). Conclusions The study found that the knowledge of Thai people in using alternative medicine should be improved while both attitudes and behavior are at a moderate level. Therefore, it is necessary to support the knowledge, promote a good attitude and rectify perform regarding to the use of alternative medicine in Thai people. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.842 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผู้บริโภค -- ทัศนคติ | |
dc.subject | พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย | |
dc.subject | การแพทย์ทางเลือก | |
dc.subject | Consumers -- Attitudes | |
dc.subject | Consumer behavior -- Thailand | |
dc.subject | Alternative medicine | |
dc.title | ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือกของคนไทย | en_US |
dc.title.alternative | KNOWLEDGE, ATTITUDE AND BEHAVIOR OF USING ALTERNATIVE MEDICINE IN THAI PEOPLE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wipawadee.L@chula.ac.th,wipawadel@yahoo.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.842 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5578415639.pdf | 6.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.