Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46149
Title: ผลการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสำหรับเด็กอายุ 7-9 ปี
Other Titles: EFFECTS OF ORGANISING EDUTAINMENT ART ACTIVITIES TO ENHANCE AESTHETIC OF CHILDREN AGED 7-9 YEARS OLD
Authors: สุภลักษณ์ วงศ์หน่อ
Advisors: โสมฉาย บุญญานันต์
อำไพ ตีรณสาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Soamshine.B@Chula.ac.th,soamshine@gmail.com,soamshine.b@chula.ac.th
Ampai.Ti@Chula.ac.th
Subjects: ศิลปะกับเด็ก
ศิลปกรรมของเด็ก
สุนทรียศาสตร์
ศิลปกรรม -- กิจกรรมการเรียนการสอน
ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
Arts and children
Children's art
Aesthetics
Art -- Study and teaching -- Activity programs
Art -- Study and teaching (Elementary)
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่ส่งเสริมประสบการณ์ทางสุนทรียภาพของเด็กอายุ 7-9 ปี และ 2) ศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่เหมาะสมกับเด็กอายุ 7-9 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กอายุ 7-9 ปี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 39 คน โดยไม่จำแนกเพศ ใช้ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 7 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยจากแนวทางศึกษาบันเทิงของ Randy White และทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของ Michael J. Parsons ประกอบด้วย 1) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แนวทางศึกษาบันเทิง 2) แบบบันทึกประสบการณ์ศึกษาบันเทิง 3) แบบทดสอบสุนทรียภาพ 4) คู่มือสำหรับการวิเคราะห์ประสบการณ์ทางสุนทรียะ 5) แบบสังเกตพฤติกรรมประสบการณ์ทางสุนทรียะ 6) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิง 7) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) และ 8) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพัฒนาการสุนทรียภาพของนักเรียนที่มีต่อภาพผลงานศิลปะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนผ่านกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยสูงสุดของระดับพัฒนาการสุนทรียภาพของนักเรียนที่มีต่อภาพผลงานศิลปะอยู่ที่ระดับ 3 การแสดงออก (Expressiveness) (x̄ = 2.02) 3) พฤติกรรมประสบการณ์ทางสุนทรียะของนักเรียนในระหว่างการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่ปรากฏมากที่สุด คือ สนใจต่อเนื้อหา 4) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิง คือ นักเรียนพึงพอใจกิจกรรมดินแดน Barbapapa และนักเรียนใฝ่ฝันที่จะแสดงผลงานศิลปะของตนเองมากที่สุด และ 5) พฤติกรรมที่เกิดขึ้นมากที่สุดในแต่ละขั้นตอนของแผนการจัดการเรียนรู้แนวทางศึกษาบันเทิง คือ ขั้นนำเกิดพฤติกรรมการสังเกต พิจารณา และริเริ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง ขั้นกิจกรรมเสริมประสบการณ์เกิดพฤติกรรมความร่วมมือและการทดลอง ขั้นดำเนินงานเกิดพฤติกรรมการทดลองและการทบทวน และขั้นสรุปเกิดพฤติกรรมการวิเคราะห์ แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แนวศึกษาบันเทิง ประกอบด้วย 4 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นนำ ประกอบด้วย ครูและนักเรียนมีการเตรียมพร้อม ครูกระตุ้นความกระหายใคร่รู้ให้แก่นักเรียน และนักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ 2) ขั้นกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ประกอบด้วย ครูกระตุ้นความกระหายใคร่รู้ให้แก่นักเรียนอีกครั้ง และนักเรียนประมวลความรู้ 3) ขั้นดำเนินงาน ประกอบด้วย นักเรียนเกิดความอยากรู้และความอยากทำ 4) ขั้นสรุป ประกอบด้วย ครูชักชวนนักเรียนให้เกิดความอยากแสดงออก และ ครูและนักเรียนสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้
Other Abstract: The objectives of this research were to 1) Study effects of aesthetic experiences enhancement through Edutainment art activities on aesthetic of children aged 7-9 years old and 2) Study and develop Edutainment art activities model suitable for children aged 7-9 years old. The sample group composed of 39 children aged 7-9 years old at Chulalongkorn University Demonstration School, regardless to genders. The durations of the experiment were 7 weeks. The research instruments were developed by the researcher based on Randy White’s approach in using the Edutainment, and Michael J. Parsons’ Cognitive and Development Account of Aesthetic Experience which consisted of 1) The Edutainment art activities, 2) The satisfaction worksheet for Edutainment art activities, 3) The aesthetic test, 4) The survey for analyzing aesthetic expression, 5) The observation form for aesthetic experiences, 6) The survey for students’ satisfaction on Edutainment art activities, 7) The students’ background data questionnaires. The data were analyzed by using frequencies, means, standard deviation, and t-test, and 8) content analysis. The findings revealed that 1) The level of aesthetic development of students were higher than before learning through Edutainment art activities at the significant difference level of .05, 2) The highest mean of the level of aesthetic development of students upon the works of art were at level 3 (expressiveness) (x̄ = 2.02), 3) The most of aesthetic experience behaviors shown by the students was interest in content, 4) The students’ satisfaction highest level of agreement in Edutainment art activities was “Barbapapa territory”, and wishing to exhibit their works of art, and 5) The top behaviors shown at each step of the Edutainment art activities lesson plans were, at the introduction step were observation and consideration, at the activities enhanced step were experiences cooperation and experimentation, at the operation step were experimentation and repetition, and at the conclusion step was an analysis The guidelines for designing the Edutainment art activities consist of 4 steps: 1) The Introduction step: preparation by the teacher and students, the teacher stimulate curiosity for students, and students are inspired, 2) The activities enhanced step: the teacher stimulate curiosity for students once again, and students gather knowledge, 3) The operation step: the students desire to know and desire to work, and 4) The conclusion step: the teacher encourages students to express, and the teacher and students reflect experiences.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46149
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.859
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.859
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583445127.pdf8.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.