Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46150
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorยุรวัฒน์ คล้ายมงคลen_US
dc.contributor.authorอัญชลี ธะสุขen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:35Z
dc.date.available2015-09-18T04:22:35Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46150
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และนำเสนอแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best practice) ในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนประถมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากโรงเรียนประถมศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best practice) ในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในกรุงเทพมหานครจำนวน 6 โรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาและวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน ครู ครูบรรณารักษ์ นักเรียน และผู้ปกครอง ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งเสริมแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ดังนี้ 1)โรงเรียนให้ความสำคัญกับการจัดบริบทสภาพแวดล้อมภายในของโรงเรียนให้เหมาะกับการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านเพื่อเอื้อต่อการสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียน 2)บทบาทของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนประถมที่ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ได้แก่ บทบาทของผู้บริหาร บทบาทของครู ครูบรรณารักษ์ บทบาทของนักเรียน และบทบาทผู้ปกครอง คือ ให้การสนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาทักษะการอ่านตนเองและนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และเป็นแบบอย่างการอ่านที่ดีในการอ่าน 3) การมีส่วนร่วม ให้การสนับสนุนร่วมมือกันระหว่างภายในโรงเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานภายนอก 4) สร้างแรงจูงใจ การเสริมแรงในเชิงบวก กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความชอบ อยากอ่าน อยากมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง 5) มีแหล่งการอ่านและทรัพยากรการอ่านที่ดี ปรับปรุงพัฒนาให้ทันสมัยและเหมาะกับบริบทของโรงเรียน 6) โรงเรียนมีทัศคติที่ดีในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน เห็นความสำคัญของการอ่าน 2. องค์ประกอบของแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในโรงเรียนประถม มีดังนี้ 1) ความสำคัญของการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 2) เป้าหมายของการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 3) หลักการในดำเนินการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน 4) การนำผลความสำเร็จจากการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ไปขยายผล 3. แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนประถมศึกษา โดยส่งเสริมสนับสนุนทักษะ ความสามารถ ของทั้งผู้บริหาร ครู ครูบรรณารักษ์ นักเรียน พัฒนาแหล่งการอ่าน เห็นความสำคัญความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร ครู ครูบรรณารักษ์ นักเรียน และผู้ปกครอง รณรงค์ส่งเสริมนิสัยรักการอ่านอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กิจกรรม ตัวแบบที่ดี การใช้การเสริมแรง และการนำปัจจัยที่ส่งเสริมกับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เกิดขึ้นปรับให้เกิดแนวทางที่เป็นเลิศในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study of best practice elementary school in promoting reading habits in Bangkok metropolis. The data were collected from printed documents, observation and interviews by quantitative method with the administrators, teachers, students and parents in 6 schools. Findings revealed that 1. Factors of best practice elementary school in promoting reading habits were 1) Schools appreciate an arrangement of school context for students 2)roles of administrators, teachers, libralian, students and parents are always promoter, improvement in skills and good model at reading 3)having participation and corporation between internal school, parents and other organization 4) making motivation 5) making reading sources and reading material 6) having positive attitude and focusing of goals reading. 2. Component of best practice elementary school in promoting reading habits were 1) significance of promoting reading habits 2) goals of promoting reading habits 3) implementation of promoting reading habits 4) exchanging the achievement to other 3. Best practice in promoting reading habits were development skill and capability of promoting reading habits and reading sources, focusing on significant, connection between the administrators, teachers, students and parents. That also promote continually campaigns and a lot of reinforcements. Lastly using promoting factors and problem factor were adapted to best practice in promoting habits.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.860-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการส่งเสริมการอ่าน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectการอ่านขั้นประถมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectReading promotion -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectReading (Elementary) -- Thailand -- Bangkok
dc.titleการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeA STUDY OF BEST PRACTICE ELEMENTARY SCHOOL IN PROMOTING READING HABITSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประถมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorYurawat.K@Chula.ac.th,yurawat05@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.860-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5583451927.pdf3.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.