Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46159
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์th
dc.contributor.authorณัฐพรรณ อาญาพิทักษ์th
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์th
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:39Z
dc.date.available2015-09-18T04:22:39Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46159
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557th
dc.description.abstractสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่ไม่ได้มีกฎหมายกำหนดไว้แน่ชัด อีกทั้งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่เปิดโอกาสให้สถาบันการเงินซึ่งมีอำนาจในทางเศรษฐกิจ สร้างเงื่อนไขอันไม่เป็นธรรมเพื่อเอารัดเอาเปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายในการกำหนดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมขึ้น แม้ในปัจจุบันมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งจำกัดเสรีภาพในการทำสัญญา แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้เขียนมุ่งศึกษาความเป็นมาของสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แนวความคิดพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และปัญหาสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและแนวปฏิบัติของสถาบันการเงินที่ไม่เป็นธรรมในประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น พบว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีที่มาจากการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในสหราชอาญาจักร ซึ่งสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่เพียงแต่เป็นการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ยังเป็นการให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคด้วย ซึ่งในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา ต่างก็มีกฎหมายที่มีการควบคุมเรื่องสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและมีหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญาทางการเงินอย่างเคร่งครัด ส่วนประเทศญี่ปุ่นแม้จะไม่มีกฎหมายโดยตรงแต่มีการแบ่งแยกการใช้กฎหมายแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างชัดเจน และมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่เป็นระบบ แต่เนื่องจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาที่ผูกติดอยู่กับบัญชีเงินฝากธนาคาร ทำให้ผู้ให้สินเชื่อคือสถาบันการเงินซึ่งมีอำนาจเหนือกว่าในทางเศรษฐกิจ สร้างเงื่อนไขให้มีข้อตกลงเบิกเงินเกินบัญชีที่แฝงอยู่ในสัญญาทางการเงินหลายประเภท ทำให้มีปัญหาเรื่องการตีความสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยไม่มีความชัดเจนในเรื่องลักษณะทางกฎหมายของสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ไม่มีมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และหน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญาทางการเงินมีมาตรการคุ้มครองที่น้อยเกินไปและไม่สามารถคุ้มครองในเรื่องสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่ไม่เป็นธรรมนี้ได้ ผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้ คือ ออกมาตรการทางกฎหมาย โดยออกประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 และเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วยงานกลางด้านการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน รวมทั้งขอเสนอให้ยกเลิกดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ให้มีข้อตกลงนี้เฉพาะสินเชื่อเพื่อผู้บริโภค และธนาคารต้องนำสืบหากจะมีการอ้างประเพณีธนาคาร เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีอำนาจทางเศรษฐกิจน้อยกว่าให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการทำสัญญาen_US
dc.description.abstractalternativeOverdraft contract is not explicitly defined by law. The overdraft contract provides an opportunity for the financial institutions which are more power in the economy, creating an unfair conditions for the purpose of taking advantaged to the other party with an unfair contract terms. Even in the present. There are the Civil and Commercial Code, Unfair Contract Terms Act B.E. 2540 (A.D. 1997) and Consumer Protection Act, B.E. 2522 (A.D. 1979). These laws restricts the freedom of contract but it still does not solve the problems. In this thesis, Author aims to study of background of the overdraft agreements. The fundamental concepts of the Law on the overdraft agreements and the issues of the overdraft agreements and the practices of financial institutions of Thailand are not justified. The comparison of studying the laws of foreign countries; the United Kingdom, United States and Japan. The author found overdraft result that was sourced from the business operation of the commercial bank in the United Kingdom, Overdraft is not only loans for business but also to be credit for consumers. In the United Kingdom and United States, They have regulations to control overdraft agreements and they have the government sectors to protect consumers concern with financial agreements strictly. In Japan, there is no direct legal but it has clearly discrimination law for applying to entrepreneurs and consumers and also has the government sectors to protect consumers in the overdraft agreement. However, due to the overdraft agreement was involved with bank accounts. It resulted the financial institutions, which are predominately in the economy creating conditions to an overdraft agreement concealing in the various financial contracts. It causes the legal interpretation problems regarding how to distinguish an overdraft agreement in any type of contract law. According to the study, Thailand has an unclear legal concept about the kind of overdraft agreement and there is no measures to protect businesses from unfair contracts. And the government agencies have not enough measures to protect consumers about the financial contract and can not cover the overdraft contract that was unfair. Author proposed solutions by regulate the Committee on the contract under Section 35 bis of the Consumer Protection Act , B.E. 2522 (A.D. 1979) and The Notification of the Bank of Thailand of the Financial Institution Business Act B.E. 2551 (A.D. 2008). And proposed the Office of the Consumer Protection Board to be the central agency to protect financial consumers. Including proposed to repeal the compound interest in case of consumer credit. And Bank must attest tradition bank in order to protect consumers who have less economic power to achieve equality and fairness in the contract.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.865-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540th
dc.subjectพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522th
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยth
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- สหราชอาณาจักรth
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- สหรัฐอเมริกาth
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ญี่ปุ่นth
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- สัญญาth
dc.subjectดราฟต์ -- ไทยth
dc.subjectดราฟต์ -- สหราชอาณาจักรth
dc.subjectดราฟต์ -- สหรัฐอเมริกาth
dc.subjectดราฟต์ -- ญี่ปุ่นth
dc.subjectกฎหมายเปรียบเทียบth
dc.subjectConsumer protection -- Law and legislation -- Thailanden_US
dc.subjectConsumer protection -- Law and legislation -- Great Britainen_US
dc.subjectConsumer protection -- Law and legislation -- United Statesen_US
dc.subjectConsumer protection -- Law and legislation -- Japanen_US
dc.subjectCivil and commercial law -- Contractsen_US
dc.subjectDrafts -- Thailanden_US
dc.subjectDrafts -- Great Britainen_US
dc.subjectDrafts -- United Statesen_US
dc.subjectDrafts -- Japanen_US
dc.subjectComparative lawen_US
dc.titleสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีen_US
dc.title.alternativeOverdraft Contracten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยth
dc.email.advisorsanunkorn.s@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.865-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586164334.pdf16.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.