Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46200
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โอฬาร กิตติธีรพรชัย | en_US |
dc.contributor.author | ฉันทัช ลักษณานันท์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:23:01Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:23:01Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46200 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือกล้องถ่ายรูปดิจิตอลนั้น กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ผู้อุปโภคใช้กันอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน ส่วนประกอบหนึ่งที่จะช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มีขนาดเล็ก บาง และมีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลาย คือแผ่นวงจรพิมพ์แบบยืดหยุ่น โดยการประกอบอุปกรณ์ทางไฟฟ้าต่างๆบนพื้นผิวที่มีความยืดหยุ่นด้วยการใช้กระบวนการประกอบพิเศษที่มีเทคโนโลยีและความแม่นยำสูงเรียกว่า Surface Mount Technology (SMT) ซึ่งในกระบวนการ SMT นั้น มีข้อบกพร่องที่สำคัญและทำให้เกิดของเสียที่ไม่สามารถนำมาแก้ไขได้คือ คราบของสารบัดกรีเปื้อนแผ่นวงจรพิมพ์แบบยืดหยุ่นคิดเป็น 520 PPM ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิต ดังนั้นจึงได้มีการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อหาสาเหตุของการเกิดข้อบกพร่อง พบว่าขั้นตอนการทำความสะอาดของเครื่องพิมพ์สารบัดกรีเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดข้อบกพร่องนี้ หลังจากนำแนวคิดของซิกซ์ ซิกมามาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ ซึ่งสัดส่วนข้อบกพร่องประเภทคราบของสารบัดกรีเปื้อนแผ่นวงจรพิมพ์แบบยืดหยุ่นได้ถูกเลือกเป็นค่าตอบสนองหลักของการทดสอบสมมติฐานและการออกแบบการทดลอง การกำหนดค่าพารามิเตอร์ที่แนะนำในการทำความสะอาดด้วยใช้การออกแบบการทดลองแบบเชิงแฟคทอเรียล สองระดับปัจจัยที่มีสองการทดลองซ้ำ โดยพารามิเตอร์ที่แนะนำคือ การเช็ดทำความสะอาดด้วยทิศทางเดียวกัน ที่ความเร็วในการเช็ด 80 มิลลิเมตรต่อวินาทีโดยไม่ต้องเปิดใช้แรงดูดสูญญากาศ ผลที่ได้จากการเริ่มใช้พารามิเตอร์นี้แสดงให้เห็นว่ามีข้อบกพร่องจะลดลงเหลือ 250 PPM หรือลดลงร้อยละ 51.92 จากกระบวนการเดิมก่อนการปรับปรุง และมูลค่าความเสียหายต่อชิ้นลดลงจาก 17.21 บาท เหลือ 10.94 บาท | en_US |
dc.description.abstractalternative | During the last decades, consumer electronic devices, such as mobile phone and digital cameras, have been integrated with our everyday activities. One component that helps these devices to achieve with their small sizes and versatile functions is a flexible printed circuit (FPC). Each FPC consists of various electronic components on a flexible conducted surface using a special assembling process, called surface mount technology (SMT) that places electrical components directly on the FPC. Within the SMT process, the most significant defective is the solder-paste strain on pads of a FPC, which accounts for 520 PPM. Such defective products cannot be reworked. Small group techniques revealed that the cleaning routine of a solder printing machine is one of the root causes. Followed the six-sigma approach, the defective rate is selected as the main response for hypothesis tests and design of experiment. Determining of the suggested parameters in the cleaning routine using two-level full factorial design with two replications suggest same direction and 80 mm per second cleaning speed without vacuum as optimal setting. The result after one month of implementation showed that was reduced to 250 PPM or 51.92 from previous process before improved and defect cost was reduced from 17.21 Baht/Piece to 10.94 Bath/Piece. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1084 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ) | |
dc.subject | บัดกรีและการบัดกรี | |
dc.subject | Six sigma (Quality control standard) | |
dc.subject | Solder and soldering | |
dc.subject | Surface mount technology | |
dc.subject | Flexible printed circuits | |
dc.title | การลดของเสียเกิดจากข้อบกพร่องประเภทคราบของสารบัดกรีบนแผ่นวงจรพิมพ์แบบยืดหยุ่น | en_US |
dc.title.alternative | DEFECTIVE REDUCTION FROM SOLDER PASTE STRAIN DEFECT ON FLEXIBLE PRINTED CIRCUIT | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | oran.k@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1084 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670911121.pdf | 4.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.