Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46236
Title: | การศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด PERSISTENT OR PERMANENT ATRIAL FIBRILLATION ในผู้ป่วยชาวไทยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ |
Other Titles: | PREVALENCE AND FACTORS ASSOCIATED WITH PERSISTENT OR PERMANENT ATRIAL FIBRILLATION IN THAI OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA PATIENTS AT KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL |
Authors: | ชัยศิริ วรรณลภากร |
Advisors: | สุรพันธ์ สิทธิสุข |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Surapun.S@Chula.ac.th,ssurapun28@gmail.com |
Subjects: | เอเตรียลฟิบริลเลชัน -- ผู้ป่วย -- ไทย ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ -- ปัจจัยเสี่ยง Atrial fibrillation -- Patients -- Thailand Sleep apnea syndromes -- Risk factors |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มาและเหตุผล: Atrial fibrillation เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อย และเป็นสาเหตุที่สำคัญของภาวะสมองขาดเลือด ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA) เป็นหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญของการเกิด atrial fibrillation การศึกษานี้ต้องการศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรค atrial fibrillation ในผู้ป่วยชาวไทยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเพื่อหาว่าผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับกลุ่มใดมีความเสี่ยงต่อการเกิด atrial fibrillation วิธีการวิจัย: ทำการศึกษาโดยเก็บข้อมูลของผู้ป่วยจำนวน 2,195 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 – เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ข้อมูลที่นำมาศึกษาได้แก่ ข้อมูลทั่วไป เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบวงของคอ ความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคหัวใจผิดจังหวะชนิด atrial fibrillation และโรคประจำตัวอื่น ๆ โดยใช้สถิติ Fisher’s exact test, independent t test และ logistic regression analysis ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่า p-value ที่น้อยกว่า 0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษา: ความชุกของโรค atrial fibrillation ในผู้ป่วย OSA ในการศึกษานี้เท่ากับร้อยละ 1.14 ผู้ป่วย OSA กลุ่มที่มี atrial fibrillation มีอายุเฉลี่ย 61.3 ปี และกลุ่มที่ไม่มีatrial fibrillation มีอายุเฉลี่ย 51.5 ปี (p-value = 0.001) ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันสูงในกลุ่มที่มี atrial fibrillation สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มี atrial fibrillation กล่าวคือ ร้อยละ 76 เทียบกับร้อยละ 35.8 (p-value < 0.001) และร้อยละ 40 เทียบกับร้อยละ 20.9 (p-value = 0.02) ตามลำดับเมื่อวิเคราะห์ multivariate analysis พบว่าอายุที่เพิ่มขึ้น 1 ปี เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด AF 1.04 เท่า (adjusted odds ratio 1.04 (95% CI 1.01-1.07, p-value = 0.023) และการมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย เพิ่มความเสียงต่อการเกิด AF 3.89 เท่า (adjusted odds ratio = 3.89, 95% CI 1.43-10.61, p-value = 0.008) สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีความชุกของ atrial fibrillation ค่อนข้างต่ำอายุที่เพิ่มขึ้นและการมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วยเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิด atrial fibrillation ในผู้ป่วย OSA |
Other Abstract: | Background: Atrial fibrillation (AF) is one of the most important causes of embolic stroke. Obstructive Sleep Apnea (OSA) is known to be a risk factor for atrial fibrillation. Thus, we aims to study the prevalence and factors associated with atrial fibrillation in OSA patients in order to determine which group of OSA patients are at higher risk of developing AF. Methods: A total of 2,195 patients who were diagnosed with OSA at King Chulalongkorn Memorial Hospital between October 2006 - July 2014 were retrospectively reviewed. We evaluated demographic data, gender, age, height, weight, neck circumference, severity of OSA, presence of atrial fibrillation and other underlying comorbidities. Categorical variables were compared using Fisher’s exact test and logistic regression analysis. Continuous outcomes were compared using independent t test. P-value < 0.05 is considered statistically significant. Results: The prevalence of atrial fibrillation in OSA patients in our study was 1.14%. The mean age of patients in AF group was 61.3 years whereas in non-AF group, the mean age was 51.5 years (p-value = 0.001). The prevalence of hypertension and dyslipidemia were higher in the AF group compared with the non-AF group; 76% vs 35.8% (p- value < 0.001) and 40% vs. 20.9% (p-value = 0.02), respectively. According to the multivariate analysis, older ageisa risk factor for developing AF in OSA patients. The adjusted odds is 1.04 times higher as age increases by 1 year (95% CI 1.01-1.07, p-value 0.023). The odds of developing AF in hypertensive OSA patients is 3.89 times higher than in non-hypertensive group (95% CI 1.43-10.61, p-value = 0.008). Conclusions: Our study suggests a low prevalence of AF among OSA patients. Older age and presence of hypertension were associated with AF. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46236 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1113 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1113 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5674025930.pdf | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.