Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46244
Title: การประเมินความหนาของกล้ามเนื้อQuadriceps Femoris และกล้ามเนื้อ Hamstring ก่อนและหลังการฝึก10สัปดาห์ในนักเรียนจ่าทหารเรือของโรงเรียนชุมพลทหารเรือโดยใช้อัลตราซาวนด์
Other Titles: Assessment of Quadriceps Femoris and Hamstring Muscle Thickness after 10 week Training Program by Ultrasonography in Naval Rating School
Authors: รณิดา ธรรมะวัจนพันธุ
Advisors: ธันวา ตันสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Tanvaa.T@Chula.ac.th,tansatit@yahoo.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่เข้ารับราชการทหารเรือโดยเฉพาะกล้ามเนื้อขาที่ทหารต้องใช้ในการฝึกอย่างมากทุกวัน เช่น การรุกล้ำไปยังดินแดนฝ่ายตรงข้ามพร้อมสัมภาระ เครื่องยังชีพ และอาวุธ การวิ่ง โดยที่ผ่านมายังไม่พบว่ามีการศึกษาพัฒนาการของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการฝึกมีเพียงการศึกษาทางอ้อมที่ใช้ตลับวัดความหนาของกล้ามเนื้อหรือวัดความสามารถที่เพิ่มขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้ไม่สามารถให้รายละเอียดความหนาของกล้ามเนื้อแต่ละมัดที่ได้ผ่านการฝึกจากโปรแกรมการฝึกมาตรฐานในนักเรียนจ่าทหารเรือซึ่งได้รับการรับรองจากกรมยุทธศึกษาทหารเรือได้ การศึกษาวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของกล้ามเนื้อ Quadriceps femoris(QF) และกล้ามเนื้อ Hamstring(HM) ที่ได้รับอิทธิพลจากโปรแกรมการฝึก โดยผู้เข้าร่วมวิจัยผ่านเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก เป็นอาสาสมัครนักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ 1 โรงเรียนชุมพลทหารเรือ สังกัดกรมยุทธศึกษาทหารเรือ จำนวน 64 คน ที่จะได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ และกลุ่มเพศชายที่มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง จำนวน 62 คน จะถูกจัดให้เป็นกลุ่มควบคุม ทำการติดตามผลโดยการวัดความหนาของกล้ามเนื้อ QF และ HM ด้วยเครื่องอัลตราซาวนด์ กำหนดตำแหน่งในการวางหัววัดอัลตราซาวนด์ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของระยะทางระหว่าง greater trochanter และ popliteal crease ทำการศึกษาจำนวน 2 ครั้ง คือก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 10 สัปดาห์ พบว่า ความหนาของกล้ามเนื้อในอาสาสมัครนักเรียนจ่าทหารเรือ ชั้นปีที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังโปรแกรมการฝึก 10 สัปดาห์ ความหนาของกล้ามเนื้อ Rectus femoris กล้ามเนื้อ Biceps femoris และกล้ามเนื้อ Semimembranosus มีค่าเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < 0.05) ส่วน กล้ามเนื้อ Vastus medialis (VM) กล้ามเนื้อ Vastus lateralis (VL) และกล้ามเนื้อ Vastus intermedius (VI) พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกมาตรฐานในนักเรียนจ่าทหารเรือของโรงเรียนชุมพลทหารเรือ มีผลต่อการเพิ่มความหนาของ กล้ามเนื้อ Rectus femoris กล้ามเนื้อ Biceps femoris และกล้ามเนื้อ Semimembranosus โดยเฉพาะกล้ามเนื้อ Rectus femoris มีความหนาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากที่สุด
Other Abstract: Quadriceps femoris and hamstring muscular strength are significant in Naval rating school’s training program as carrying a lot of pack weight over long distance, lifting, artillery weapon and trespassing which may be a potential factor for development of muscle thickness in the first year students of Naval rating school. However, only few research about this could be found. Therefore, the purpose of this study was to evaluate development of the quadriceps femoris and hamstring muscle after training by using ultrasonography measurements of the muscular thickness. sixty - four of first year students of The Naval rating school and sixty - two of healthy subjects (control group) are volunteered in this study. A study was designed to compare changes in muscle thickness of quadriceps femoris and hamstring muscle during the 10 weeks of Naval rating school’s training program. Volunteers were appraised twice before and after the 10 weeks study to measure muscular thickness of quadriceps femoris and hamstring muscle through ultrasonography images. The site of thigh measured at 50% of the thigh length from the distance between the popliteal crease to the greater trochanter. The results of this study showed that rectus femoris, biceps femoris and semimembranosus muscle were increased significantly after training program (P < 0.05). This study showed that the intensity of the Naval rating school training program was competent to increase muscle thickness of the rectus femoris, biceps femoris and semimembranosus muscle , specifically the rectus femoris muscle was increasing more than semimembranosus muscle
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46244
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674100230.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.