Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46253
Title: การวิเคราะห์อภิมานปัจจัยเชิงเหตุของคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล
Other Titles: A META-ANALYSIS ON ANTECEDENT VARIABLES OF NURSES’ QUALITY OF WORKING LIFE
Authors: ศิริญญา คงอยู่
Advisors: อารีย์วรรณ อ่วมตานี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Areewan.O@Chula.ac.th,areeday@yahoo.com
Subjects: คุณภาพชีวิตการทำงาน
พยาบาล
Quality of work life
Nurses
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อธิบายคุณลักษณะของงานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยเชิงเหตุของคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล 2) ศึกษาปัจจัยและวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐาน 3) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐาน จำแนกตามตัวแปรปัจจัยและคุณลักษณะของงานวิจัย และ 4) อธิบายความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐานด้วยตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ปริญญานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2557 จำนวน 44 เรื่อง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ผ่านการตรวจสอบคุณภาพความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการของ Glass, et al. ได้ค่าดัชนีมาตรฐานจำนวน 213 ค่า และวิเคราะห์หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานโดยใช้t-test, One-way ANOVA และ Hierarchical stepwise regression analysis ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะทั่วไปของงานวิจัย ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะทั่วไป ด้านเนื้อหาสาระงานวิจัย และด้านวิธีวิทยาการวิจัย 2) ปัจจัยเชิงเหตุของคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านการจัดการ (r=.57) ด้านองค์การ (r=.55) ด้านงาน (r=.38) ด้านคุณลักษณะภายในบุคคล (r=.36) และด้านภูมิหลังของบุคคล (r=.07) ตามลำดับ 3) ตัวแปรปีที่พิมพ์เผยแพร่ คุณภาพงานวิจัย ค่าความเที่ยงของเครื่องมือวัดตัวแปรปัจจัยเชิงเหตุ และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ส่งผลให้เกิดความแตกต่างและความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐานของกลุ่มปัจจัยเชิงเหตุของคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) คุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าดัชนีมาตรฐาน ได้แก่ ปัจจัยเชิงเหตุด้านการบริหารจัดการ บรรยากาศองค์การ ลักษณะงาน การมีส่วนร่วมในงาน ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ วัฒนธรรมองค์การ เจตคติต่อวิชาชีพพยาบาล สัมพันธภาพของบุคลากร ความพึงพอใจในงาน ปัจจัยจูงใจ ค่านิยมในงาน ความสามารถเชิงวิชาชีพ ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย การสนับสนุนขององค์การ การเพิ่มคุณค่าในงาน ความเครียดในงาน ความเหนื่อยหน่ายในงาน และขนาดกลุ่มตัวอย่าง สามารถร่วมกันทำนายค่าดัชนีมาตรฐานปัจจัยเชิงเหตุของคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลได้ร้อยละ 64.6
Other Abstract: The purposes of this meta-analysis study were to 1) describe research characteristics of antecedent variables of nurses’ quality of working life 2) identify the factor that influence antecedent variables of nurses’ quality of working life 3) compare mean of correlation coefficients across antecedent variables and research characteristics and 4) analyze predictors of correlation coefficients by research characteristics variables. The 44 Thai researches studied during 1987-2014 were recruited. Study moderators including general, substantive, methodological characteristics and research quality were collected. There were 213 correlation coefficients analyzed by using meta-analysis method of Glass, et al. Statistics used in this study were t-test, ANOVA and Hierarchical stepwise regression analysis. The major finding were as follows: 1) The research characteristics consisted of 3 components including general, substantive and methodological characteristics. 2) The antecedent variables were 5 factors including management factor (r=.57), organizational factor (r=.55), working factor (r=.38), personal trait factor (r=.36) and personal background factor (r=.07) respectively. 3) Publication year, research quality, reliabilities of research instrument and sample size were statistically and significantly affected on the mean of correlation coefficients of antecedent variables of nurses’ quality of working life, at .05 level. And 4) The predictors of correlation coefficients of antecedent variables were management, organizational climate, job description, participation, organizational commitment, organizational culture, attitude toward nursing profession, relationship, job satisfaction, motivation, work values, professional competency, leadership of head nurses, organizational support, job enrichment, job stress, burn out and sample size predicted research. They were accounted for 64.6 % of variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46253
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1125
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1125
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677215336.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.