Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46256
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุจิตรา สุคนธทรัพย์en_US
dc.contributor.authorมณฑล หวานวาจาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:31Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:31Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46256
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนในช่วงอายุ 15-59 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาโดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ของแบบสอบถามทั้งฉบับอยู่ที่ 0.94 และทดสอบความเที่ยงได้เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. สื่อที่ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนมากที่สุด คือ โทรทัศน์ ร้อยละ 91.78 รองลงมา คือ เฟซบุ๊ค (Facebook) ร้อยละ 80.89 และเพื่อน ร้อยละ 80.00 สื่อที่มีการเปิดรับข่าวสารน้อยที่สุด คือ อาสาสมัครสาธารณสุข ร้อยละ 19.11 และช่วงเวลาที่ประชาชนเปิดรับข่าวสารมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 18.01 - 22.00 น. ร้อยละ 41.33 ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วน อยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 87.2 มีทัศนคติต่อการป้องกันโรคอ้วน อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 4.00, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50) และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.20, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57) 2. เมื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) พบว่า การเปิดรับข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วน แต่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.23 มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ ส่วนความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับทัศนคติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.28 คือ มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ และทัศนคติเกี่ยวกับการป้องกันโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.16 มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the relationship between media exposure, knowledge, attitude and behavior in obesity prevention of people in Bangkok. This research was a descriptive study. Sample sizes consisted of 450 Thai people, both male and female, between age 15 and 59 who lived in Bangkok. A questionnaire, created by the researcher, was used as a research tool. The content validity was tested by expert panel judges and showed 0.94 and demonstrated acceptable reliability at 0.81. Data were analyzed by percentile, mean, and standard deviation. The relationship between media exposure, knowledge, attitude and behavior in obesity prevention was examined by Pearson's Product Moment Correlation Coefficient. The results were as follows: 1.The most media exposure regarding obesity prevention for Bangkok people was television, facebook, and friend (91.78%, 80.89% and 80.00%, respectively). The least media exposure was public health volunteerat (19.11%). The frequent time for media exposure was 18.01 – 22.00 hrs. (41.3%). People in Bangkok had an excellent level of obesity prevention knowledge (87.2%), as well as their had an attitude toward obesity prevention in a high level (Mean 4.00 and Standard Deviation 0.50) and obesity prevention behavior in a middle level (Mean 3.20 and Standard Deviation 0.57). 2. From Pearson’s correlation coefficient, there was no relationship between media exposure and knowledge and attitude toward obesity prevention but there was a significant relationship between media exposure and obesity prevention behavior (p<0.05), the correlation coefficient was in the low level (0.23), and there was a significant relationship between obesity prevention knowledge and attitude (p<0.05), the correlation coefficient was in the low level (0.28). Similarly, There was a significant relationship between attitude toward obesity prevention and obesity prevention behavior (p<0.05), the correlation coefficient was in the low level (0.16).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1128-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคอ้วน
dc.subjectพฤติกรรมข่าวสาร -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectการสื่อสาร
dc.subjectทัศนคติ
dc.subjectObesity
dc.subjectInformation behavior -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectHealth behavior -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectCommunication
dc.subjectAttitude (Psychology)
dc.titleความสัมพันธ์ของการเปิดรับข่าวสาร กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของประชาชนในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeCORRELATION OF MEDIA EXPOSURE, KNOWLEDGE, ATTITUDE AND BEHAVIOR TO PREVENT OBESITY OF PEOPLE IN BANGKOK METROPOLISen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuchitra.Su@Chula.ac.th,sukonthasab@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1128-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678419239.pdf2.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.