Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46257
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสมen_US
dc.contributor.authorสราวุธ จันทร์แสงen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:31Z-
dc.date.available2015-09-18T04:23:31Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46257-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการหายใจแบบห่อปากโดยใช้กังหันลมของเล่นที่มีต่อการทำงานของปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุและเปรียบเทียบผลของการฝึกการหายใจแบบห่อปากโดยใช้กังหันลมของเล่นกับการฝึกการหายใจแบบใช้กะบังลมและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 60-75 ปี ทำการแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 13 คน กลุ่มการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม จำนวน 13 คน และกลุ่มการหายใจแบบห่อปากโดยใช้กังหันลมของเล่น จำนวน14 คน กลุ่มการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลมและกลุ่มการหายใจแบบห่อปากโดยใช้กังหันลมของเล่น ได้รับการฝึกเป็นเวลา 45 นาที ต่อครั้ง จำนวน 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรก่อนและหลัง 12 สัปดาห์ของการทดลอง ได้แก่ ตัวแปรทางสรีรวิทยา สมรรถภาพของหัวใจและปอด การทำงานของปอด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ความเหนื่อย และความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรมการฝึกหายใจ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรระหว่างกลุ่มโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากนั้นจึงเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี่ (Bonferroni) ผลการวิจัย พบว่า 1. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่า สมรรถภาพของหัวใจและปอด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ของกลุ่มควบคุมและ กลุ่มการหายใจแบบใช้กล้ามเนื้อกะบังลมไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่พบว่ากลุ่มการหายใจแบบห่อปากโดยใช้กังหันลมของเล่น มีสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด การทำงานของปอด และกำลังกล้ามเนื้อหายใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนน ความเหนื่อยของกลุ่มหายใจแบบใช้กล้ามเนื้อกะบังลมและกลุ่มหายใจแบบห่อปากมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ภายหลัง 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มการหายใจแบบห่อปากโดยใช้กังหันลมของเล่น มีความจุปอด ค่าเฉลี่ยปริมาณอากาศที่หายใจออกใน 1 วินาที อัตราส่วนของค่าเฉลี่ยปริมาณอากาศที่หายใจออกใน 1 วินาที และความจุปอด และแรงดันการหายใจเข้าสูงสุดสูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มการฝึกการหายใจแบบใช้กะบังลมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และพบว่าทั้งกลุ่มหายใจแบบใช้กล้ามเนื้อกะบังลมและกลุ่มการฝึกการหายใจแบบห่อปากโดยใช้กังหันลมของเล่นมีคะแนนความเหนื่อยต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามกลุ่มฝึกหายใจทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจในโปรแกรมการฝึกการหายใจไม่แตกต่างกัน สรุปได้ว่าการหายใจแบบห่อปากโดยใช้กังหันลมของเล่น มีผลดีต่อการทำงานของปอด และความแข็งแรงของกำลังกล้ามเนื้อหายใจ ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความเหนื่อยที่ลดลงจึงเป็นรูปแบบการหายใจที่มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูสมรรถภาพของปอดในผู้สูงอายุen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate the effects of pursed-lip breathing exercise using windmill toy on lung function and respiratory muscle strength in the elderly and to compare those effects with diaphragmatic breathing exercise and control groups. Forty volunteered older men and women (aged 60 – 75 yrs.) were randomized allocated into three groups: control (CON; n=13), diaphragmatic breathing exercise (DBE; n =13) and pursed-lips breathing exercise (PBE; n = 14) groups. The DBE and PBE groups performed breathing exercise for 45 minutes per time, 3 times per week for 12 weeks. At pre and post 12 weeks, physiological data, cardiorespiratory fitness, lung function, respiratory muscle strength, dyspnea and breathing exercise program satisfaction were collected. The variables comparisons between pre and post test were analyzed by Paired sample t-test. One way analysis of variance, followed by ฺBonferroni multiple comparison, was used to determine the significant differences among groups. The results are as followed: 1. When compared between pre and post 12 weeks, the CON and DBE groups showed no significant differences in cardiorespiratory fitness and respiratory muscle strength. However, only PBE group had significantly higher in cardiorespiratory fitness lung function and respiratory muscle strength (p<0.05). Dyspnea scores decreased in both DBE and PBE groups (p<0.05). 2. When compared among groups at after 12 weeks, the PBE group had significantly higher in forced vital capacity, forced expiratory volume in one second, and maximal inspiratory pressure (p<0.05) than the CON and DBE groups (p<0.05). Both DBE and PBE groups had significantly lower (p<0.05) in dyspnea scores when compared with the CON groups. No significant differences were found between the DBE and PBE groups in breathing exercise programe satisfaction scores. In conclusion, the pursed-lip breathing exercise using windmill toy had favorable effects for improving lung function and respiratory muscle strength result in decreased dyspnea in the elderly. Therefore, pursed-lip breathing exercise could be an effective breathing exercise for respiratory rehabilitation in the elderly.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleผลของการฝึกการหายใจแบบห่อปากโดยใช้กังหันลมของเล่นที่มีต่อการทำงานของปอดและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้สูงอายุen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF PURSED-LIP BREATHING EXERCISE USING WINDMILL TOY ON LUNG FUNCTION AND RESPIRATORY MUSCLE STRENGTH IN THE ELDERLYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDaroonwan.S@Chula.ac.th,daroonwanc@hotmail.comen_US
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678421439.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.