Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46270
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี แกมเกตุ | en_US |
dc.contributor.author | นิภารัตน์ รูปไข่ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:23:37Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:23:37Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46270 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการฟื้นพลัง ความกดดันทางวิชาการ แรงจูงใจในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำแนกตามภูมิหลัง 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลอิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน และ 3) วิเคราะห์บทบาทการส่งผ่านของแรงจูงใจในการเรียนในโมเดลอิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลอิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างนักเรียนที่มีระดับชั้นแตกต่างกัน ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 832 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (multi-stage random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมีระดับความสามารถในการฟื้นพลัง ความกดดันทางวิชาการ และแรงจูงใจในการเรียน อยู่ในระดับปานกลาง (mean = 3.41, 2.90 และ 3.46 ตามลำดับ) และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับมาก (mean = 3.50) และเมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลัง ความกดดันทางวิชาการ แรงจูงใจในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำแนกตามภูมิหลัง ได้แก่ เพศ ระดับชั้น ภูมิภาค และขนาดของโรงเรียน พบว่า (1.1) นักเรียนหญิงมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลัง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ความกดดันทางวิชาการและแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนชายและหญิงมีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน (1.2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลังไม่แตกต่างกัน แต่มีคะแนนเฉลี่ยความกดดันทางวิชาการ แรงจูงใจในการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความกดดันทางวิชาการสูงกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขณะที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีแรงจูงใจในการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (1.3) นักเรียนในแต่ละภูมิภาคมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการฟื้นพลัง ความกดดันทางวิชาการ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีความสามารถในการฟื้นพลังสูงกว่านักเรียนภาคกลาง และนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความกดดันทางวิชาการสูงกว่านักเรียนภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนนักเรียนในภาคกลางมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ นอกจากนี้เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแรงจูงใจในการเรียนในภาพรวม พบว่านักเรียนในทุกภูมิภาคมีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน และ (1.4) นักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการฟื้นพลังและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความกดดันทางวิชาการและแรงจูงใจในการเรียน พบว่านักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่และเล็กมีคะแนนเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน 2. โมเดลอิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่านที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 28.519, df = 23, p = 0.197, GFI = 0.995, AGFI = 0.980, RMR = 0.014, RMSEA = 0.017 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจในการเรียนได้ร้อยละ 18.9 และ 53.7 ตามลำดับ โดยความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการมีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (DE = .116, -.218 ตามลำดับ) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการผ่านแรงจูงใจในการเรียน (IE = .163, -.046 ตามลำดับ) ทุกค่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ตัวแปรแรงจูงใจในการเรียน มีบทบาทการส่งผ่านเป็นแบบบางส่วน (partial mediator) จากตัวแปรความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการไปยังตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4. โมเดลอิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน ไม่มีความแปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดล แต่มีความแปรเปลี่ยนของพารามิเตอร์สัมประสิทธิ์การถดถอยอิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรภายนอกแฝงไปยังตัวแปรภายในแฝง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were: 1) to study the level of resilience, academic pressure, academic motivation and academic achievement of secondary school students and compare students’ resilience, academic pressure, academic motivation, and academic achievement between the students whose backgrounds in gender, education, region, and size of school are different; 2) to develop and examine the goodness of fit of resilience and academic pressure on academic achievement with academic motivation as the mediator model’s effect; 3) to analyze the role of academic motivation as the mediator of effect of resilience and academic pressure on academic achievement; and 4) to test the invariance of resilience and academic pressure on academic achievement with academic motivation as the mediator model's effect across those two education groups. The research sample consisted of 832 secondary school students selected by multi-stage random sampling method. Data were collected through a survey questionnaire. Descriptive analysis and SEM (Structural Equation Model) by LISREL were used for the data analysis. The results revealed: 1. Students had a moderate level of resilience, academic pressure and academic motivation (mean = 3.41, 2.90, and 3.46, respectively) and had a high level of academic achievement (mean = 3.50) and the results of the analysis of differences in resilience, academic pressure, academic motivation, and academic achievement by gender, education, region, and the size of the school found that (1.1) female students had higher resilience and academic achievement than male students within a .05 level of significance. For the academic pressure analysis, there was no difference found between the male and female students. (1.2) Lower and upper secondary students had no difference in the resilience score but were different in academic pressure, academic motivation, and academic achievement at a .05 level of significance. Upper secondary students had more academic pressure than lower secondary students. However, lower secondary students had more academic motivation and academic achievement than upper secondary students. (1.3) Students in each region showed a difference in the level of resilience, academic pressure, and academic achievement at a .05 level of significance. Students in the northeast and the south had more resilience than students in the center of the country. Furthermore, students in the northeast had more academic pressure than students in the north and the south. Students in the center had higher academic achievement than students in the northeast and the south. However, students in every region showed no difference in academic motivation. (1.4) Students in big schools had higher resilience than in small schools at a .05 level of significance. There was no difference found in academic pressure and academic motivation. 2. The model’s effects of resilience and academic pressure on academic achievement with academic motivation as a mediator fit the empirical data (Chi-square = 28.519, df = 23, p = 0.197, GFI = 0.995, AGFI = 0.980, RMR = 0.014, RMSEA = 0.017). The variables in the model explained 18.9% and 53.7% of the variance of academic achievement and academic motivation, respectively. Resilience and academic pressure directly influenced academic achievement (DE = .116, -.218, respectively) and academic achievement had a significantly indirect effect via academic motivation (IE = .163, -.046, respectively). All effects were significant at p<.05. 3. The role of academic motivation as a mediator in this model was a partial mediator from resilience and academic pressure to academic achievement. 4. The model’s effects of resilience and academic pressure on academic achievement with academic motivation as a mediator indicated the model form across those two groups with different education but there was a variation of the parameter regression coefficient causal influence of the external latent variables to internal latent variables. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1137 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | th |
dc.subject | ความสามารถในการฟื้นพลัง | th |
dc.subject | การจูงใจในการศึกษา | th |
dc.subject | จิตวิทยาการศึกษา | th |
dc.subject | นักเรียน -- จิตวิทยา | th |
dc.subject | นักเรียนมัธยมศึกษา | th |
dc.subject | Academic achievement | en_US |
dc.subject | Resilience (Personality trait) | en_US |
dc.subject | Motivation in education | en_US |
dc.subject | Educational psychology | en_US |
dc.subject | Students -- Psychology | en_US |
dc.subject | High school students | en_US |
dc.title | อิทธิพลของความสามารถในการฟื้นพลังและความกดดันทางวิชาการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยมีแรงจูงใจในการเรียนเป็นตัวแปรส่งผ่าน | th |
dc.title.alternative | EFFECTS OF RESILIENCE AND ACADEMIC PRESSURE ON ACADEMIC ACHIEVEMENT OF SECONDARY SCHOOL STUDENTS WITH ACADEMIC MOTIVATION AS A MEDIATOR | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wannee.K@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1137 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5683348027.pdf | 5.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.