Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46272
Title: | การพัฒนาเครื่องมือประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยใช้แองเคอร์ริง วินเยตต์ |
Other Titles: | A DEVELOPMENT OF STUDENTS' ACHIEVEMENT MOTIVATION ASSESSMENT TOOL USING ANCHORING VIGNETTE |
Authors: | มณิการ์ ชูทอง |
Advisors: | ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chayut.P@chula.ac.th |
Subjects: | แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การประเมินผลทางการศึกษา Achievement motivation Educational evaluation |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับร่วมกับแองเคอร์ริง วินเยตต์ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพเครื่องมือประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนโดยใช้มาตรประมาณค่า 5 ระดับทั่วไปและแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่ใช้ร่วมกับแองเคอร์ริง วินเยตต์ที่พัฒนาขึ้น เก็บข้อมูลกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2 จำนวน 191 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคด้วยโปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 20.0 วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรมลิสเรล เวอร์ชั่น 9.1 วิเคราะห์ความเป็นระดับของวินเยตต์และการปรับแก้คะแนนด้วยวิธี censored ordered probit model โดยใช้โปรแกรม R เวอร์ชั่น 3.2.1 ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพเครื่องมือประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ประกอบด้วยมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อและข้อคำถามใช้แองเคอร์ริง วินเยตต์ จำนวน 4 ชุด โดยแต่ละชุดมีระดับข้อคำถาม 3 ระดับที่พัฒนาขึ้น พบว่า คุณภาพเครื่องมือที่ดีที่สุด คือ เครื่องมือที่มีการจัดเรียงข้อคำถามรูปแบบที่ 1 โดยใช้แองเคอร์ริง วินเยตต์ 4 ชุด ตามด้วยมาตรประมาณค่า 5 ระดับ 24 ข้อโดยใช้วิธีการปรับแก้คะแนนรายข้อก่อนรวมเป็นคะแนนรายตัวบ่งชี้ โดยคุณภาพมาตรประมาณค่า 5 ระดับก่อนการปรับแก้คะแนนมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ 0.847 แต่ละตัวบ่งชี้อยู่ระหว่าง 0.601 ถึง 0.779 และหลังการปรับแก้คะแนนด้วยแองเคอร์ริง วินเยตต์มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ 0.989 แต่ละตัวบ่งชี้อยู่ระหว่าง 0.949 ถึง 0.977 และคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดี (Chi-square=0.520, df=1, p=0.470, RMSEA=0.000, AGFI=0.973) และชุดข้อคำถามแต่ละวินเยตต์ไม่มีความผกผันกัน 2. คุณภาพเครื่องมือประเมินแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยมาตรประมาณค่า 5 ระดับที่ใช้ร่วมกับแองเคอร์ริง วินเยตต์มีคุณภาพเครื่องมือด้านความเที่ยงและความตรงเชิงโครงสร้างดีกว่ามาตรประมาณค่า 5 ระดับแบบทั่วไปทุกด้าน |
Other Abstract: | The purposes of this research were 1) to develop an instrument to measure students’ achievement motivation using a five-level summated rating scale with anchoring vignettes and 2) to compare the properties of the developed instrument and a typical five-level summated rating scale. Data were collected from 191 Grade 12 students randomly selected from two schools under the Office of the Basic Education Commission of Thailand. For the data analysis, basic descriptive statistics and reliability coefficients were analyzed by SPSS 22.0, confirmatory factor models were validated by LISREL 9.1, and the anchoring vignettes’ order validation and scale score adjustment with the censored ordered probit model were done by using the ‘anchors’ package in R 3.2.1. The research findings were as follows. 1. The developed instrument for assessing students’ achievement motivation consisted of 24 five-level rating items and six sets of anchoring vignettes with three levels for each. The best format was the one that arranged all anchoring vignettes after the 24 rating items, then used the vignette responses to individually adjust the rating response item-by-item before computing the overall rating score. The Cronbach’s Alpha coefficients for the overall scale was 0.847 and for its subscales ranged between 0.601 to 0.779, and for complete version was 0.989 for overall scale and subscales were between 0.949–0.977. The confirmatory factor analyses suggested that the developed instrument had high levels of construct validity (Chi-square=0.520, df=1, p=0.470, RMSEA=0.000, AGFI=0.973). All vignettes were appropriately ordered and no reversal sequences of any vignettes were found. 2. The best format of developed instrument described above showed higher levels of reliability and validity than those of the typical five-level summated rating scale for assessing students' achievement motivation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46272 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1139 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1139 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5683374327.pdf | 5.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.