Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46276
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ | en_US |
dc.contributor.author | อัญชุลี ศิริประพนธ์โรจน์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:23:40Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:23:40Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46276 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถในการให้เหตุผลเชิงกรณีโดยใช้ เอ็มอีคิวร่วมกับสคริปต์คอนคอร์แดนซ์ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินความสามารถในการให้เหตุผลเชิงกรณี และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงกรณีของตัวอย่างวิจัยที่มีภูมิหลังด้านสถานภาพและระดับชั้นที่สอนต่างกัน ตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จำนวน 195 คนและครูจำนวน 74 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุนามแบบสองทางด้วยโปรแกรม SPSS 22.0 และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม LISREL 9.1 ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. เครื่องมือประเมินความสามารถในการให้เหตุผลเชิงกรณีที่สร้างขึ้นโดยใช้เอ็มอีคิวร่วมกับสคริปต์ คอนคอร์แดนซ์ ประกอบไปด้วย 5 ปัญหาสถานการณ์ที่พบในชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับประถมศึกษาใช้ในการประเมิน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสามารถในการระบุปัญหาและเชื่อมโยงปัญหา ความสามารถในการประยุกต์ใช้ในปัญหาใหม่ ความสามารถในการใช้หลักการเดิมแก้ปัญหาใหม่ และความสามารถในการเก็บรักษาวิธีการแก้ปัญหา 2. คุณภาพเครื่องมือประเมินความสามารถในการให้เหตุผลเชิงกรณีด้านความตรงและความเที่ยงอยู่ในระดับสูง ในงานวิจัยนี้ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง 3 ด้าน ดังนี้ 1) ความตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนี IOC จากผู้เชี่ยวชาญ 7 คนเท่ากับ 1 2) ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดทั้ง 4 องค์ประกอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 4.759, df = 2, RMSEA = 0.084, AGFI = 0.939) และความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่รู้ชัด พบว่า กลุ่มสูงมีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงกรณีสูงกว่ากลุ่มต่ำ (M1 = 70.242, M2 = 51.910, SD1 = 13.710, SD2= 12.611, F(1) = 0.322 , p = 0.000) และ 3) ความตรงเชิงสภาพซึ่งวิเคราะห์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นกับเครื่องมือประเมินการให้เหตุผลทั่วไป พบว่า มีความสัมพันธ์กันค่อนข้างน้อย (r = 0.249, p < 0.01) การตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยง 3 ด้าน ดังนี้ 1) ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ด้วยวิธีการประมาณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค พบว่า มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.812 2) การตรวจสอบความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในด้วยวิธีการตรวจสอบระหว่างผู้ประเมินจำนวน 4 คน พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.823 – 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความเที่ยงแบบคงที่ด้วยวิธีการประเมินซ้ำด้วยแบบประเมินเดิม พบว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r = 0.813, p < 0.01). 3. ครูและนิสิตนักศึกษาครูมีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงกรณีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยครูที่สอนในระดับประถมศึกษามีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงกรณีสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (M = 70.242, SD = 13.710, F(30, 41835.218) = 0.690, p = 0.004). | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to develop an instrument for assessing student teachers’ case-based reasoning, by integrating the modified essay question (MEQ) and script concordance test (SCT); 2) to evaluate the quality of the developed instrument; and 3) to investigate the difference of case-based reasoning levels among samples with different backgrounds. The samples were 195 student teachers and 74 teachers from Faculties of Education of Chulalongkorn University and Srinakharinwirot University. Data were analyzed by basic descriptive statistics and two-way MANOVA analyses using SPSS 22.0, and confirmatory factor analyses using LISREL 9.1. The research findings were as follows. 1. The developed instrument for assessing students’ case-based reasoning consisted of five problem situations generated from those found in the daily life of elementary students. In each situation, MEQ and SCT items were designed and designated to appropriately assess the four dimensions of case-based reasoning, i.e., Retrieve, Reuse, Revise, and Retain dimensions. 2. The instrument showed high levels of both reliability and validity. In this study, three types of validity were examined: 1) the content validity evaluated by the average of item-objective congruence (IOC) indices from seven experts was perfectly one; 2) the construct validity examined by a CFA was satisfactory because a good fit to the data was found for the four-factor model of case-based reasoning (Chi-square = 4.759, df = 2, RMSEA = 0.084, AGFI = 0.939) and verified by comparing the levels of case-based reasoning between known groups was also acceptable (M1 = 70.242, M2 = 51.910, SD1 = 13.710, SD2= 12.611, F(1) = 0.322 , p =0.000); and 3) the concurrent validity as shown by the correlation coeffient between scores from the developed instrument and the general reasoning assessment tool was slightly low (r = 0.249, p < 0.01). As for the instrument’s reliability, three types of reliability were examined: 1) the Cronbach’s Alpha for internal consistency reliability was 0.812 for the overall scale; 2) the inter-rater reliability as measured by the correlations between scores from four rates ranged between 0.823–1 with statistically significant at the level of 0.05; and 3) the test-retest reliability coefficient was also high (r = 0.813, p < 0.01). 3. It was found that teachers and student teachers had statistically significant differences in their ability of case-based reasoning. Overall, the elementary teachers had higher case-based reasoning ability than the other groups (M = 70.242, SD = 13.710, F(30, 41835.218) = 0.690, p = 0.004). However, whether the samples had been teaching at the elementary level seemed to moderate their reasoning ability. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1143 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การอ้างเหตุผลโดยใช้กรณีเป็นฐาน -- การทดสอบความสามารถ | |
dc.subject | การประเมินผลทางการศึกษา | |
dc.subject | Case-based reasoning -- Ability testing | |
dc.subject | Educational evaluation | |
dc.title | การพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถในการให้เหตุผลเชิงกรณีของนิสิตนักศึกษาครูโดยใช้เอ็มอีคิวและสคริปต์คอนคอร์แดนซ์ | en_US |
dc.title.alternative | DEVELOPMENT OF CASE-BASED REASONING ASSESSMENT TOOL FOR STUDENT TEACHERS USING MEQ AND SCRIPT CONCORDANCE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | chayut.p@chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1143 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5683419027.pdf | 3.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.