Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46278
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิธิดา จรุงเกียรติกุลen_US
dc.contributor.authorอาบเดือน คุ้มถนอมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:41Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:41Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46278
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการใช้แหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น โดยใช้แบบสอบถามปัญหาและความต้องการในการใช้แหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำนวน 40 คน 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแนวทางการจัดแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับปฏิบัติการ และระดับใช้บริการ ด้วยเทคนิคเดลฟาย จำนวน 30 คน และสนทนากลุ่ม เพื่อหาฉันทามติของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ฐานนิยม ค่าสัมบูรณ์ของผลต่างระหว่างค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการใช้แหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านโครงสร้างทางกายภาพต้องการแผนผังนูนแสดงรายละเอียดของพื้นที่ (ร้อยละ 57.5) เช่น ตำแหน่งที่ตั้งของบันได ลิฟต์ หรือบันไดเลื่อน เป็นต้น 2) ด้านสื่อการเรียนรู้ (นิทรรศการ) ต้องการสื่ออุปกรณ์ที่ช่วยให้บุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นเข้าถึงได้โดยตรง สัมผัสวัตถุ สิ่งของที่จัดแสดงในนิทรรศการ (ร้อยละ 50.0) 3) ด้านกิจกรรม ต้องการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม (ร้อยละ 50.0) และต้องการกิจกรรมที่สามารถเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสอื่นๆได้ (ร้อยละ 47.5) และ 4) ด้านบุคลากร ต้องการให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นอย่างถูกวิธี (ร้อยละ 47.5) 2. ในการจัดแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีแนวทาง 5 ด้าน หลักสำหรับการพัฒนาการจัดแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 ด้าน คือ 1) ด้านการบริหารจัดการ (การจัดนิทรรศการ) ควรการวางแผนเพื่อจัดนิทรรศการให้เหมาะสมกับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็น เช่น จัดทำวัตถุจำลองที่สามารถสัมผัสได้ 2) ด้านโครงสร้างทางกายภาพ คำนึงถึงหลักการออกแบบเพื่อความเป็นสากล (Universal Design) 3) ด้านสื่อการเรียนรู้ (นิทรรศการ) จัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ เช่น เครื่องบรรยายด้วยเสียง (Audio Guide) แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ สื่อที่หลากหลายความรู้สึก (Multisensory Display) โปรแกรมอ่านจอภาพคอมพิวเตอร์ (Screen Reader Program) โปรแกรมการอ่านด้วยนิ้วสัมผัส (Finger Reader) 4) ด้านกิจกรรม เน้นกิจกรรมที่เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 4 และ 5) ด้านบุคลากร เปิดรับอาสาสมัครที่สนใจเข้าทำงานร่วมกับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นในแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นระหว่างบุคลากรด้วยกัน หรือกับผู้มีประสบการณ์ หรือผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้en_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study were to 1) analyze the problem and the need for science and technology learning resources for the visually impaired using a questionnaire completed by forty visually impaired people and 2) develop guidelines for managing science and technology learning resources for the visually impaired using questionnaires completed by thirty experts who offered opinions on three levels: policy, operation and service in managing science and technology learning resources for the visually impaired. For this objective, the Delphi method and group discussions were used to arrive at a consensus among the experts. Then the data were analysed through percentage, median, mode, median-mode differences, and interquartile rank. The results of the study are summarized as follows: 1. The results of the analysis of the problem and the need to use science and technology learning resources of the visually impaired can be divided into four areas. 1) Physical structure: They want tactile map of each learning resource to show details of the area (57.5%), for example, the location of the stairs, elevator or escalator. 2) Displays in Exhibition: They want the visually impaired to be able to directly access the learning resources on their own. They should be able to touch objects or items displayed in the exhibition (50%). 3) Activities: They want the visually impaired to participate in activities (50%) and want activities from which they can learn using other senses (47.5%). 4) Staff: They want personnel to help the visually impaired in the right way (47.5%). 2. The guidelines for science and technology learning resources management for the visually impaired should focus on five aspects. 1) Management (exhibitions): There should be planning to organise exhibitions that are appropriate for the visually impaired such as mock objects the visually impaired can touch. 2) Physical structure: Consideration should be given to universal design. 3) Learning tools (exhibition): facilitate learning should be provided such as audio guide, applications on mobile phones, multisensory display, screen reader program and finger reader. 4) Activities: Emphasis should be placed on activities the visually impaired can use all four senses. 5) Staff: Recruit volunteers to work with the visually impaired in science and technology resources centre, as well as have forums to exchange experience in helping the visually impaired among staff, experienced people or experts.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1145-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษาต่อเนื่อง
dc.subjectพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
dc.subjectคนตาบอด
dc.subjectเทคนิคเดลฟาย
dc.subjectContinuing education
dc.subjectScience museums
dc.subjectBlind
dc.subjectDelphi method
dc.titleแนวทางการจัดแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเห็นen_US
dc.title.alternativeGUIDELINES FOR MANAGING SCIENCE AND TECHNOLOGY LEARNING RESOURCES FOR THE VISUALLY IMPAIREDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwithida.C@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1145-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683421127.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.