Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46281
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสีen_US
dc.contributor.authorชมภูนุช จันทร์แสงen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:43Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:43Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46281
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติไม่มีกิจกรรมการประเมินตนเอง กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบวงเดียว (Single-loop self-reflective thinking) และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบสองวง (Double-loop self-reflective thinking) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียน ระหว่างกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติไม่มีกิจกรรมการประเมินตนเอง กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบวงเดียว และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบสองวง ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ1) แบบประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบวงเดียว (Single-loop self-reflective thinking) 2) แบบประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบสองวง (Double-loop self-reflective thinking) และ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (Paired Sample T-Test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Anova) ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติไม่มีกิจกรรมการประเมินตนเองมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนและคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบวงเดียว มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบสองวง มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. คะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนของกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติไม่มีกิจกรรมการประเมินตนเองกับกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบวงเดียว และ กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบสองวง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติไม่มีกิจกรรมการประเมินตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนของกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบสองวงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 ที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติร่วมกับกิจกรรมการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดแบบวงเดียว โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this experimental research were to 1. Compare the critical thinking abilities pretest and posttest between control group (traditional teaching methods without self-assessment activity) and the experimental group design (experimental group1: traditional teaching methods with single-loop self-reflective thinking activity and experimental group2: traditional teaching methods with double-loop self-reflective thinking activity) and 2. Compare the critical thinking abilities posttest between control group and the experimental group design. The sample groups were 113 students in the eleventh graders on second semester in academic year 2014. Research instruments included 1) checklist scale and open-ended questionnaire for Single-loop self-reflective thinking 2) checklist scale and open-ended questionnaire for Double-loop self-reflective thinking and 3) critical thinking abilities test. Data were analyzed by using descriptive statistics, Paired Sample T-Test and One-way ANOVA The results were as follows: 1. The critical thinking abilities between pretest-posttest scores of the control group were not significantly different at level .05. The critical thinking abilities between pretest-posttest scores of the experimental group1: traditional teaching methods with single-loop self-reflective thinking activity and experimental group2: traditional teaching methods with double-loop self-reflective thinking activity the result compare score posttest was higher than pretest were significantly different at level .01. 2. The critical thinking abilities posttest between control group and the experimental group design were significantly different at level .01. The critical thinking abilities posttest of experimental group1 and experimental group2 was higher than the control group were significantly different at level .01 and The critical thinking abilities posttest of experimental group2 was higher than the experimental group1 and were significantly different at level .01en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1148-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการประเมินตนเอง
dc.subjectความคิดอย่างมีวิจารณญาณ
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.subjectSelf-evaluation
dc.subjectCritical thinking
dc.subjectHigh school students
dc.titleผลของการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการสะท้อนคิดที่แตกต่างกัน ที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5en_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF DIFFERENT SELF-REFLECTION METHODS ON CRITICAL THINKING ABILITY OF ELEVENTH GRADERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirichai.K@Chula.ac.th,skanjanawasee@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1148-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683457827.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.