Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46286
Title: การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย
Other Titles: SYNTHESIS OF THESES ON LOCAL CURRICULUM DEVELOPMENT IN THAILAND
Authors: ศกร พรหมทา
Advisors: เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Permkiet.K@chula.ac.th
Subjects: การวางแผนหลักสูตร -- ไทย
การศึกษา -- หลักสูตร -- ไทย
Curriculum planning -- Thailand
Education -- Curricula -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ วิทยานิพนธ์ที่พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน ผู้วิจัยใช้การสังเคราะห์เชิงคุณลักษณะ ด้วยแบบบันทึกคุณลักษณะวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยทำการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ระดับชั้นประถมศึกษา ใช้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพ ศิลปะ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีในท้องถิ่น ในแต่ละหลักสูตรจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ 4-9 แผน เวลาสอน 20-40 ชั่วโมง นำหลักสูตรไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประมาณ 30 คน 2. องค์ความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นจากการสังเคราะห์ มีรายละเอียดดังนี้ 1) ปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ได้แก่ หลักสูตร เนื้อหาที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น บุคลากร อาคารสถานที่ สื่อวัสดุอุปกรณ์และแหล่งการเรียนรู้ 2) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ส่วนใหญ่มีกระบวนการสร้าง ใช้และประเมินหลักสูตร โดยครู ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหาที่จัดทำหลักสูตรทำการตรวจสอบคุณภาพ ผู้สอนคือ ผู้วิจัยหรือครู และวิทยากรท้องถิ่น จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติภายในและนอกห้องเรียน มีการจัดทำวัสดุหลักสูตร สื่อวัสดุและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเมินผู้เรียนโดยการทดสอบก่อน-หลังเรียน ประเมินหลักสูตรจากแบบสอบถาม/แบบวัดเจตคติ 3) ผลที่ได้จากการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ได้แก่ รูปแบบของหลักสูตรท้องถิ่น เป็นการปรับเนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาที่มีอยู่แล้วหรือพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นขึ้นใหม่ เนื้อหาในหลักสูตร กิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนเนื้อหาที่เน้นให้เกิดทักษะโดยการสาธิตแล้วลงมือปฏิบัติหรือการสอนเนื้อหาที่เน้นให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา สื่อการเรียนรู้และวัสดุหลักสูตร ได้แก่ สื่อวัสดุและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ใบความรู้ ใบงาน แบบฝึกหัด ผู้สอนใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในระหว่างการเรียนการสอนและหลังจากการเรียนการสอน วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบหลังเรียน แบบประเมินผลงานหรือแบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน 3. งานวิจัยที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เป็นงานวิจัยที่ศึกษาสภาพทั่วไปในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของสถานศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่ทำการศึกษาในด้านแนวทางการดำเนินงาน ปัญหาและผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
Other Abstract: This research aimed at synthesizing theses regarding the local curriculum development in Thailand. The samples were theses were published in 1991 up to the present. The data were collected by using qualitative synthesis employed theses’ local curriculum development characteristics in Thailand form .The statistics used were frequency and percentage. The results concluded that 1. Most of the theses were Master’s degree theses from the departments of curriculum and instruction, faculties of education among the Rajabhat campuses where developed the local curriculum of primary school level for being used among the schools under the Office of the Basic Education Commission (OBEC) in the northeastern region. The content was about careers, arts, cultures, and local traditions. There were about 4 up to 9 lesson plans, Teaching hours raged from 20-40 hours for each. The local curriculum was normally conducted with a sample of about 30 students. 2. The knowledge regarding the local curriculum development was drawn from the qualitative synthesis as the following details: 1) The input in developing local curriculum included, the curriculum, the content for developing local curriculum, human resources, buildings, teaching materials, and learning resources. 2) Mostly, the local curriculum development process involved the construction, implementation and evaluation. The local curriculum quality was examined by teachers and experts in the fields of local content and curriculum. The instructor were the researcher or teacher in school and local resources person. The learning activities involved both theories and practices, and occurred both inside and outside the classrooms. Curriculum materials, printed materials and electronic teaching materials were created. Students were evaluated by using pretests and posttests. The curriculums were evaluated by using the questionnaires and attitude tests.3) The output were the formats of local curriculum, in which the contents were adjusted from the existing courses or developed the new local courses. Learning activities focused on practicing and acquiring skills through the demonstration, or understanding of the content. The learning media and course materials were instructional media in hard copy and electronic, work sheets and exercise book. Learning resources were used during and after the class time. Students were measured and evaluated by employing observation forms, pre-posttests, and skill performance evaluation forms. 3. The study of local curriculum development, were the research that studied general conditions of the local curriculum development. Which most of the studies focused on the operational guidelines, problems, and people involving in developing the local curriculum.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46286
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1153
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1153
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683885727.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.