Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46300
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธาตรี ใต้ฟ้าพูลen_US
dc.contributor.authorมัชฌิมา ศิริอิ่มสำราญen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:23:51Z
dc.date.available2015-09-18T04:23:51Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46300
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบถึงทัศนคติต่อการดำรงชีวิต พฤติกรรมการบริโภค และความนิยมในตราสินค้าของผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และผู้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 50 – 59 ปี 2) ทราบถึงความแตกต่างของทัศนคติต่อการดำรงชีวิต พฤติกรรมการบริโภคระหว่างผู้สูงอายุและผู้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ 3) ทราบถึงความความเกี่ยวข้องของความนิยมในตราสินค้าระหว่างผู้สูงอายุและผู้ก้าวสู่วัยสูงอายุ 4) ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการดำรงชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุ และผู้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยทดสอบสมมติฐานด้วย t-test, Chi square และ Pearson correlation กลุ่มตัวอย่างจำนวน 402 ชุด ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของทัศนคติต่อการดำรงชีวิตของทั้งสองกลุ่มเป็นบวก โดยผู้ก้าวสู่วัยสูงอายุมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุมีความบ่อยครั้งในการบริโภคน้อยกว่าผู้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ยกเว้นการใช้บริการโรงพยาบาลเพียงประเภทเดียวที่ผู้สูงอายุใช้บริการบ่อยกว่า ส่วนความนิยมในตราสินค้า พบว่า ผู้สูงอายุยึดติดในตราสินค้าน้อยกว่าผู้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ ทัศนคติต่อการดำรงชีวิตระหว่างผู้ก้าวสู่วัยสูงอายุและผู้สูงอายุ ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ขณะที่ทัศนคติต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความบ่อยครั้งในการใช้บริการสายการบินที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และทัศนคติต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความบ่อยครั้งในการใช้บริการร้านอาหาร ร้านอาหารแบบประหยัด (Limited service restaurants) ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (Discount store) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 การทดสอบสมมติฐานยังพบอีกด้วยว่า ทัศนคติต่อการดำรงชีวิตของผู้ก้าวสู่วัยสูงอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความบ่อยในการใช้บริการโรงพยาบาล โทรศัพท์เคลื่อนที่และห้างสรรพสินค้าที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความบ่อยในการใช้บริการซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01en_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey research aimed to study 1) attitude towards life, consuming behavior and brand preference of Thai elderly (people aged 60 and above) and pre-elderly (people aged 50-59) 2) difference between consuming behavior of Thai elderly and pre-elderly and difference between attitude towards life of Thai elderly and pre-elderly 3) association between brand preference of Thai elderly and pre-elderly 4) correlation between attitude towards life and consuming behavior of Thai elderly and pre-elderly. The hypotheses were tested by t-test, Chi square and Pearson correlation. Questionnaires were used to collect data from 402 samples. The results were carried out on the research objectives as follows: The overall attitude towards life in both groups was positive while the pre-elderly’s average was higher. Besides, the pre-elderly showed more frequency of buying products and using services than the elderly except hospital services. The pre-elderly also adhered to brand than the elderly. There was no difference in attitude towards life between the elderly and pre-elderly at a significance level of 0.05. In addition, there was a positive relationship between attitude towards life of the elderly and the frequency of using airlines at a significance level of 0.05. Attitude towards life of the elderly was also positively related to the frequency of visiting limited service restaurants, shopping malls, supermarkets and discount stores at a significance level of 0.01. Furthermore, there was a positive relationship between the attitude towards life of the pre-elderly and the frequency of visiting hospitals, shopping malls and buying mobile phones at a significance level of 0.05. There was also a positive relationship between the attitude towards life and the frequency of visiting supermarkets and discount stores at a significance level of 0.01.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1161-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค
dc.subjectการตัดสินใจ
dc.subjectทัศนคติ
dc.subjectชื่อตราผลิตภัณฑ์
dc.subjectOlder people -- Thailand -- Bangkok
dc.subjectOlder people -- Conduct of life
dc.subjectConsumer behavior
dc.subjectDecision making
dc.subjectAttitude (Psychology)
dc.subjectBrand name products
dc.titleทัศนคติต่อการดำรงชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคของผู้สูงอายุและผู้ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeATTITUDE TOWARDS LIFE AND CONSUMING BEHAVIOR OF THAI ELDERLY AND PRE-ELDERLYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTatri.T@Chula.ac.th,tatri13@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1161-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684685728.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.