Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46307
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ | en_US |
dc.contributor.author | ณัฐกานต์ หาญภักดีสกุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:23:55Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:23:55Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46307 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเล่าเรื่องและการสร้างตัวละคร การสื่อสารวิถีบูชิโด และสัมพันธบทของหนังสือการ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นแนวซามูไรล้ำยุค โดยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) จากหนังสือการ์ตูน, แอนิเมชันทางโทรทัศน์ และภาพยนตร์แอนิเมชันแนวซามูไรล้ำยุคเรื่อง กินทามะ ผลการวิจัยมีดังนี้ การเล่าเรื่องของกินทามะ ดำเนินเรื่องในสมัยปลายเอโดะ (ค.ศ.1853-1868)เป็นหลัก และมีช่วงเวลาอื่นๆที่ปรากฏในเรื่องอีก คือ ปัจจุบัน(ศตวรรตที่ 20) อนาคต(ยุคอวกาศ) ซึ่งเห็นได้จากฉากของการ์ตูน เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ดำเนินไปในลักษณะการ์ตูนตลก และแอคชั่น ความขัดแย้งของตัวละครเป็นเรื่องของอุดมการณ์ที่มีต่อชาติบ้านเมืองที่ต่างกันของแต่ละฝ่าย รวมถึงมีการนำเรื่องราวที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์มาเป็นส่วนหนึ่งของการเล่าเรื่องด้วย ด้านการสร้างตัวละคร การ์ตูนกินทามะมีลักษณะในการสร้างตัวละคร คือ 1.การสร้างตัวละครที่มาจากบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ 2.การสร้างบุคลิกตัวละครให้เด่นจากลักษณะท่าทางและคำพูด 3.การสร้างความสัมพันธ์ของตัวละครให้มีตัวละครหลักเป็นจุดศูนย์กลาง โดยตัวละครทุกตัวในเรื่องจะมีพระเอกเป็นจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ให้มาเกี่ยวข้องกัน ในด้านของสัมพันธบทระหว่างสื่อพบว่า โดยภาพรวมแล้วเป็นลักษณะสัมพันธบทที่มีความใกล้เคียงกับตัวแม่แบบ ทั้งแก่นเรื่อง, บทสนทนา และ มุมมองของการเล่าเรื่อง ส่วนรายละเอียดของเนื้อเรื่องและตัวละคร เปลี่ยนแปลงไปจากตัวแม่แบบเพียงเล็กน้อย ในส่วนที่ขยายได้แก่ส่วนที่สร้างขึ้นเป็นตอนเฉพาะของภาพยนตร์แอนิเมชัน การสื่อสารวิถีบูชิโดที่เด่นชัดที่สุดในการ์ตูนเรื่องกินทามะ คือ ความกล้าหาญ โดยจะสื่อสารในเรื่องความเข้มแข็งและการต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่งสำคัญที่สุดของตัวละคร ส่วนวิถีบูชิโดที่สื่อสารน้อยที่สุด คือ การประพฤติของสตรีที่เกี่ยวข้องกับซามูไร โดยสื่อสารในเรื่องของการรักนวลสงวนตัวของผู้หญิง ผู้เขียนใช้การสื่อสารวิธีบูชิโดด้วยวิธีการดังนี้ 1.การสื่อสารโดยใช้ตัวละครที่มีบุคลิกของซามูไรผ่านคำพูดของตัวละครนั้นๆ 2. การสื่อสารผ่านการต่อสู้กับตัวร้าย แสดงให้เห็นความแข็งแกร่งและความกล้าหาญของตัวเอก 3.การเล่าย้อนอดีตถึงประสบการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับตัวเอง ภูมิหลังด้านการทำสงคราม 4.เล่าผ่านเนื้อเรื่องและสถานการณ์ซึ่งให้แง่คิดและแก่นเรื่องบูชิโดในตอนนั้นๆ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study narration ,characterization, communicating the way of Bushido and intertextuality in avant garde samurai manga and animation by using textual analysis from Gintama comic book, animation program and animation movie. The results showed :- 1.The narrative and characterization in avant garde samurai manga and animation. In narrative part , Gintama story was in Edo period (1853-1868), as well as in present and future.It appears in this manga setting. The genre of Gintama is mixed of comedy and action. The conflict of characters is the difference of national ideology. There are a lot of ture stories from japanese history in this fiction too. For Characterization, Gintama was created characters by 1.Famous people from history 2. Action and dialog 3.relationship with the protagonist, Gintoki who relate all characters in Gintama. 2.The media intertextuality, Over view of all Gintama media, are similar to the manga components :- theme, dialogue and point of view . However the story detail and character have a little modification, the extension is the special episode of animation movie. 3. Communicating the way of bushido in Gintama, the most issue appears in Gintama is Brave . Brave is communicate in great strength and fighting for protecting the characters’most important thing of character . The least that appears in Gintama is Conduct of women who live with samurai. It’s communicate about women should be reserve herself. The writer communicates Bushido by 1. Samurai’s dialogue 2. The fighting of Samurai 3. Flashback to the characters’ background and 4. The Situation and storyline that shown the concepts of Bushido. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1167 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โซะระชิ, ฮิเดะอะกิ. กินทามะ | |
dc.subject | บูชิโด -- หนังสือการ์ตูน | |
dc.subject | ซามูไร -- หนังสือการ์ตูน | |
dc.subject | หนังสือการ์ตูน -- ญี่ปุ่น | |
dc.subject | การ์ตูนโทรทัศน์ -- ญี่ปุ่น | |
dc.subject | Sorachi, Hideaki. Gin Tama | |
dc.subject | Bushido -- Comic books, strips, etc. | |
dc.subject | Samurai -- Comic books, strips, etc. | |
dc.subject | Comic books, strips, etc. -- Japan | |
dc.subject | Animated television programs -- Japan | |
dc.title | การสื่อสารวิถีบูชิโดในหนังสือการ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นแนวซามูไรล้ำยุค | en_US |
dc.title.alternative | COMMUNICATING THE WAY OF BUSHIDO IN AVANT GARDE SAMURAI MANGA AND ANIMATION | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Thiranan.A@Chula.ac.th,tiranan2005@hotmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1167 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5684856728.pdf | 9.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.