Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46339
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอศิ บุญจิตราดุลย์en_US
dc.contributor.authorกิตติคุณ วงศ์ทองศิริen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:24:13Z
dc.date.available2015-09-18T04:24:13Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46339
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาผลของอัตราส่วนความเร็วประสิทธิผลต่อโครงสร้างและอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตร (E) ของเจ็ตในกระแสลมขวาง ด้วย Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV) เพื่อให้สามารถระบุขอบเขตของเจ็ตและแยกบริเวณที่เป็นส่วนผสมของเจ็ตออกจากบริเวณที่เป็นกระแสลมขวางบริสุทธิ์ได้อย่างชัดเจน ณ ขณะใดๆ ซึ่งนำไปสู่การหาอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ จึงใส่อนุภาคติดตามการไหลเฉพาะในเจ็ตเท่านั้นไม่ใส่ในกระแสลมขวาง โดยศึกษาที่อัตราส่วนความเร็วประสิทธิผล (r) เท่ากับ 4, 8 และ 12 เรย์โนลดส์นัมเบอร์ของกระแสลมขวางเท่ากับ 3,100 รูปร่างของความเร็วที่ปากทางออกของเจ็ตเป็นแบบ fully-developed turbulent pipe flow จากการศึกษาพบว่าใน rd scale และในช่วงบริเวณ near field เมื่อ r เพิ่มขึ้น โครงสร้างของปริมาณต่าง ๆ คือ ความน่าจะเป็นที่จะพบเจ็ต, อัตราเร็วเฉลี่ย, ความเร็วเฉลี่ยตามแนวแกน streamwise, ความเร็วเฉลี่ยตามแนวแกน traverse และ vorticity มีอัตราส่วนความสูงต่อความกว้างที่มากขึ้น อีกทั้งโครงสร้างของทุกปริมาณข้างต้นของกรณี r = 4 มีรูปร่างที่แตกต่างจากกรณี r = 8 และ 12 อย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่กรณี r = 8 และ 12 มีโครงสร้างที่คล้ายกัน จึงชี้แนะว่าในช่วง near field กรณี r = 4 เจ็ตมีรูปแบบการไหลที่แตกต่างจากกรณี r = 8 และ 12 และชี้แนะว่าปรากฎการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจาก wall blocking เมื่อเจ็ตพัฒนาตัวไปที่บริเวณ far field ผลของ r ต่อโครงสร้างของทุกปริมาณข้างต้นลดลง สำหรับคุณลักษณะของเจ็ตใน rd scale พบว่าเมื่อ r เพิ่มขึ้น เส้นทางเดินของเจ็ตที่นิยามจากความเร็วเฉลี่ยตามแนวแกน streamwise และเส้นทางเดินของเจ็ตที่นิยามจาก vorticity ตามแนวแกน streamwise สูงขึ้น อีกทั้งเส้นทางเดินของเจ็ตที่นิยามจากอัตราเร็วเฉลี่ยตามแนวแกน streamwise จะมีอยู่สูงกว่าเส้นทางเดินของเจ็ตที่นิยามจาก vorticity ตามแนวแกน streamwise เสมอ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อ r เพิ่มขึ้น circulation (Г) และอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตร (E) เพิ่มขึ้น ผลของ r ต่อคุณลักษณะของเจ็ตใน rd scale นี้แสดงให้เห็นว่า r ยังคงมีผลต่อคุณลักษณะของเจ็ตใน rd scale ดังนั้นเพื่อให้สามารถรวมผลของ r ต่อคุณลักษณะของเจ็ตได้ดีขึ้น การศึกษานี้จึงหา scaling ที่เหมาะสมต่อคุณลักษณะของเจ็ตใหม่ จากการศึกษาพบว่าสามารถรวมผลของ r ให้ ทุกกรณีของ r collapse เป็นความสัมพันธ์เดียวได้ เมื่อ scale เส้นทางเดินของเจ็ตด้วย r1.3d, circulation ด้วย rucfd และอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรด้วย r0.7 เมื่อพล็อตเทียบกับ x/rd นอกจากนี้ด้วยเทคนิคใส่อนุภาคติดตามการไหลเฉพาะเจ็ตเท่านั้นไม่ใส่ในกระแสลมขวางทำให้สามารถวิเคราะห์หาความน่าจะเป็นที่พบส่วนผสมของเจ็ตที่จุดใดๆ (ϕij) ได้ โดยพบว่า บริเวณที่มีความน่าจะเป็นสะสมที่จะพบส่วนผสมของเจ็ตต่ำ (ϕij < 0.1) ถึงแม้จะมีพื้นที่ถึงประมาณครึ่งหนึ่งของเจ็ต (50-60% ของพื้นที่เจ็ตทั้งหมด) แต่บริเวณดังกล่าวนี้ให้อัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรเพียงเล็กน้อยเท่านั้น (2-3% ของอัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรทั้งหมดบนหน้าตัดเจ็ต) ในขณะที่บริเวณที่มีความน่าจะเป็นสะสมที่จะพบเจ็ตสูง (ϕij > 0.9) ซึ่งมีพื้นที่เพียงเล็กน้อย (10-25%) กลับให้อัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรมากกว่าครึ่ง (40-70%) ยิ่งไปกว่านั้นพบว่าผลของ r ต่อความสัมพันธ์ของ jet fractional area ratio (Aϕ/Aj) และ jet fractional entrainment ratio (Eϕ/Ej) กับความน่าจะเป็นสะสมที่จะพบเจ็ต ϕ ลดลงเมื่อเจ็ตพัฒนาตัวไปตามแนว downstream สุดท้าย ผลการทดลองชี้แนะถึงหนึ่งในกลไกการเหนี่ยวนำการผสมของเจ็ตในกระแสลมขวางว่าเป็นผลมาจากการเหนี่ยวนำของ CVP ที่ทำให้เกิดและคงอยู่ของ vertical channel ของความเร็วตามแนวแกน traverse ที่สูงที่อยู่ระหว่างคู่วอร์เท็กซ์ของ CVP โดย CVP จะเหนี่ยวนำเอากระแสลมขวางจากบริเวณด้านล่างของเจ็ตให้ไหลขึ้นผ่าน vertical channel นี้เข้าไปผสมกับตัวเจ็ตen_US
dc.description.abstractalternativeThe effects of effective velocity ratio (r) on structures and volumetric entrainment (E) of a jet in crossflow (JICF) are investigated by Stereoscopic Particle Image Velocimetry (SPIV). In order to be able to instantaneously and clearly identify and differentiate the jet-fluid mixture region and structures from the pure crossflow region and consequently to determine the volumetric entrainment ratio of the jet more accurately, only the jet fluid – and not the crossflow fluid - is seeded with PIV tracer particles. The experiment is conducted for a jet in crossflow with effective velocity ratio (r) of 4, 8, and 12. The crossflow Reynold number is 3,100 and the initial jet velocity profile is fully-developed turbulent pipe flow. The results show that in rd-scale and in the near field as r increases, the structures of probability of finding jet-fluid mixture, mean speed, streamwise velocity, traverse velocity, and streamwise vorticity have height to width ratio increase. In addition, the jet structures in the case of r of 4 are quite different from cases of r of 8 and 12 while the jet structures of r of 8 and 12 are similar. This suggests that JICF at r of 4 belongs to different flow regime from r of 8 and 12, at least in the near field. Furthermore, the results also suggest that this is due to wall blocking effect. As the jet develops downstream into the far field, however, the effect of r diminishes. For jet characteristics in rd scale, it is found that as r increases, the jet trajectories as defined by the magnitude of streamwise velocity and streamwise vorticity increase; the velocity trajectory is always higher than the vorticity trajectory. In addition, as r increases, the jet circulation (Г) and entrainment (E) also increase. These results in rd-scale show that these jet characteristics still depend on r in the rd-scale. In order to unify the results at various r further, we therefore investigate more appropriate scaling laws for these jet characteristics and find that the results of various r are well collapsed onto one unifying relation, i.e., no longer depend on r, when both jet velocity and vorticity trajectories are scaled instead by r1.3d, circulation by rucfd and entrainment by r0.7 when plotted against x/rd. Furthermore, due to the jet-fluid only seeding scheme, the probability of finding jet-fluid mixture at a point ϕij can also be determined. The results show that the jet region with low probability of finding the jet-fluid mixture ϕij < 0.1, while contributes about half (50-60%) of the jet cross sectional area, contributes minimal (2-3%) to the jet entrainment at the cross section. On the other hand, the jet region with high probability of finding the jet fluid mixture ϕij > 0.9, while contributes relatively little (10-25%) to the jet cross sectional area, contributes approximately more than half (40-70%) to the jet entrainment. In addition, the diminishing effect of r in the downstream direction is also observed in the relations of the jet fractional area ratio (Aϕ/Aj) and the jet fractional entrainment ratio (Eϕ/Ej) with the accumulative probability of finding jet-fluid mixture ϕ. Finally, the results also suggest to one of the entrainment mechanisms of JICF being due to a vertical channel of high upward transverse flow located between the vortex pair of the counter-rotating vortex pair (CVP). This vertical channel of high upward transverse flow is induced, fueled, and sustained in the downstream direction by the CVP. It channels crossflow fluid from underneath the jet to rise up and be entrained into the jet.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1194-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอัตราส่วนและสัดส่วน
dc.subjectความเร็ว
dc.subjectเจ็ต
dc.subjectRatio and proportion
dc.subjectSpeed
dc.subjectJets
dc.titleผลของอัตราส่วนความเร็วประสิทธิผลต่ออัตราส่วนการเหนี่ยวนำการผสมเชิงปริมาตรและโครงสร้างของเจ็ตในกระแสลมขวางen_US
dc.title.alternativeEffects of effective velocity ratio on entrainment and structure of a jet in crossflowen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเครื่องกลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAsi.B@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1194-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770119621.pdf13.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.