Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46362
Title: PRODUCTIVITY CHANGE IN SUB-DIVISIONAL HOSPITALS IN FIJI
Other Titles: การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพการผลิตในโรงพยาบาลชุมชน ประเทศฟิจิ
Authors: Ratish Vinay Pal Singh
Advisors: Pongsa Pornchaiwiseskul
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Economics
Advisor's Email: pongsa.p@chula.ac.th
Subjects: Industrial productivity
Data envelopment analysis
Hospitals -- Administration -- Fiji
การเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรม
การวิเคราะห์วางกรอบข้อมูล
โรงพยาบาล -- การบริหาร -- ฟิจิ
Issue Date: 2014
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The study aims to investigate the productivity and efficiency trends of Sub-Divisional Hospitals in Fiji since 2005 to 2014. The study is first of such nature in Fiji where an objective evaluation of the performance of Sub-Divisional Hospitals is investigated. The study is divided into two major parts .The first major part explores the use of the extended version of the Data Envelopment Analysis (DEA), the Malmquist Productivity Index to measure and evaluate the performances of the Sub-Divisional Hospitals in Fiji. The second part of the study applied the Multi Stage DEA programme to the most recent year data, 2014 to evaluate hospital performance in terms of technical and scale efficiency for the particular year. The results or scores of both parts of the study were then used as dependent variables and econometric models of a Log-Linear function and Tobit function were used to determine the key factors that were believed to have influenced the productivity and efficiency changes in Fiji's context. The results from the Malmquist Productivity Indices disclosed some concern in terms of the downward sloping trend of productivity over the period of the study. This meant that SDH's in Fiji were not utilising inputs efficiently which led to the inability of the Ministry to meet its targeted outputs. The trend in total factor productivity in summary of the period of the study fell from a positive gain in productivity of 36.3% in 2005-2006 period to a productivity loss of 14.3%. This was significantly attributed to the lowest change in technical efficiency which fell to a record low of negative score of 18.4% in the period 2013-2014. This was also reflected in the Technical Efficiency change scores where all 17 hospitals had scores below 1. The Multi Stage DEA under the output oriented model also had considerable variations of efficiency scores from the reference hospitals under the assumption of Constant and Variable Returns to scale.Only 2 out of the 17 hospitals under the study were operating on the optimal production frontier. Majority of the hospitals were producing outputs at a decreasing returns to scale implying that many hospitals were not using their inputs in the most efficient manner and needed to decrease investment in the production of outputs or they needed to produce more outputs within the inputs that was consumed.
Other Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลิตภาพการผลิตและประสิทธิภาพของโรงพยาบาลชุมชนในประเทศฟิจิ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2557 การศึกษานี้เป็นการศึกษาครั้งแรกในประเทศฟิจิ เพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชน การศึกษานี้มี 2 ส่วนหลัก ประกอบด้วย ส่วนแรก คือ การวิเคราะห์โดยการใช้การวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูล และตัวชี้วัดผลิตภาพการผลิต Malmquist เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชนในประเทศฟิจิ ตัวชี้วัดผลิตภาพการผลิตยังสามารถนำมาใช้วัดการเปลี่ยนแปลงระดับผลิตภาพการผลิตซึ่งเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพทางเทคนิคและการพัฒนาทางเทคโนโลยี ส่วนที่สอง คือ การวิเคราะห์ข้อมูลของปี พ.ศ. 2557 โดยใช้โปรแกรมการวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูลแบบหลายขั้นตอน เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลในรูปแบบของประสิทธิภาพทางเทคนิคและประสิทธิภาพด้านขนาด ผลลัพธ์ของคะแนนจากทั้งสองส่วนของการศึกษาจะถูกนำมาใช้เป็นตัวแปรตามโมเดลทางเศรษฐศาสตร์ของ Log-Linear function และ Tobit function ถูกนำมาใช้เพื่อหาปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตผลการผลิตและประสิทธิภาพของประเทศฟิจิ ผลลัพธ์จากตัวชี้วัดผลิตภาพการผลิต Malmquist จะช่วยแก้ปัญหาของผลิตผลการผลิตที่มีแนวโน้มลดลงในช่วงเวลาที่ศึกษา ซึ่งหมายถึงโรงพยาบาลชุมชนในประเทศฟิจิไม่ได้ใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ เป็นผลให้รัฐบาลไม่สามารถกำหนดเป้าหมายของผลลัพธ์ได้ แนวโน้มของปัจจัยโดยรวมของผลิตผลการผลิตในช่วงเวลาที่ศึกษามีตั้งแต่การเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 จนถึงลดลงร้อยละ 14.3 ในช่วงปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2549 ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพทางเทคนิคที่ต่ำที่สุดมีค่าเท่ากับติดลบร้อยละ 18.4 ในช่วงปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2557 ซึ่งผลที่ได้นี้ได้บ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงของคะแนนประสิทธิภาพทางเทคนิคของทั้ง 17 โรงพยาบาลมีค่าน้อยกว่า 1 ส่วนที่สองของการศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์การล้อมกรอบข้อมูลแบบหลายขั้นตอนภายใต้โมเดลที่พิจารณาความสามารถในการผลิตสินค้าในปริมาณมากที่สุดภายใต้ปัจจัยการผลิตที่กำหนดได้ถูกนำมาวิเคราะห์ในด้านความแตกต่างของคะแนนประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลที่ใช้อ้างอิงภายใต้สมมติฐานผลได้ต่อขนาดคงที่และผลได้ต่อขนาดเปลี่ยนแปลง การศึกษานี้พบว่ามีเพียง 2 จาก 17 โรงพยาบาลที่มีการดำเนินงานอยู่ในช่วงการผลิตที่เหมาะสม และจากโมเดลนี้พบว่าโรงพยาบาลส่วนมากมีการผลิตผลลัพธ์ที่ผลได้ต่อขนาดลดลง หรือหมายถึงโรงพยาบาลส่วนมากไม่ได้ใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอและจำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มากขึ้น โดยสรุป การศึกษานี้พบว่าโรงพยาบาลชุมชนในประเทศฟิจิขาดประสิทธิภาพทางเทคนิค ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการให้มีการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าที่สุดสำหรับการลงทุนด้านการบริการด้านสุขภาพเพื่อให้ได้รับผลลัพธ์สูงสุด
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2014
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Health Economics and Health Care Management
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46362
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.349
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.349
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5785642029.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.