Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46375
Title: การสร้างโปรแกรมประมวลผลและแบบทดสอบพลังอดทนที่จำเพาะกับการเคลื่อนที่ในขณะแข่งขันกีฬาเทนนิสที่สามารถทำนายความเร็วและความแคล่วคล่องว่องไวของนักกีฬาเทนนิส
Other Titles: A CONSTRUCTION OF POWER ENDURANCE TEST AND COMPUTING PROGRAM BASE ON MOVEMENT TENNIS MATCH PLAY TO PREDICT SPEED AND AGILITY OF TENNIS PLAYERS
Authors: กฤษณะ อรุณโชติ
Advisors: ศิลปชัย สุวรรณธาดา
วันชัย บุญรอด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Silpachai.Su@chula.ac.th
wanchai.b@chula.ac.th
Subjects: การเคลื่อนที่ของมนุษย์
ความสามารถทางกลไก
เทนนิส
ความเร็ว -- พยากรณ์
Human locomotion
Motor ability
Tennis
Speed -- Forecasting
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษารูปแบบการเคลื่อนที่ของนักกีฬาเทนนิส และศึกษาความสัมพันธ์ของพลังอนากาศนิยม สมรรถภาพอนากาศนิยม ความเร็วสูงสุด และความแคล่วคล่องว่องไว ระหว่างการทดสอบด้วยวิธีวินเกทและแบบทดสอบพลังอดทน (SAPe Test) และสร้างสมการพยากรณ์ความเร็วและความแคล่วคล่องว่องไวจาก SAPe Test กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาเทนนิสทั้งชายและหญิงของสถาบันการพลศึกษา อายุ 19 – 22 ปี จำนวน 31 คน ทำการวิ่งทดสอบหาความเร็วสูงสุดบนลู่วิ่งกล (Sm), ทำการทดสอบความแคล่วคล่องว่องไวแบบเฮกซากอน (AG) , ทำการปั่นทดสอบจักรยานวัดงานด้วยวิธีวินเกท และทำการวิ่งทดสอบแบบ SAPe Test ซึ่งเวลาที่ได้จากแบบ SAPe Test ถูกแปลงค่าเป็นพลังอนากาศนิยม (APe) และสมรรถภาพอนากาศนิยม (ACe) เพื่อหาความสัมพันธ์กับค่าที่ได้จาก Wingate test ด้วยวิธีการถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย นำค่าตัวแปรอิสระที่ได้จาก SAPe Test รวมถึงสมการพยากรณ์ Ape และ Ace หาความสัมพันธ์กับ Sm และ AG ด้วยวิธีการถดถอยพหุคูณ โดยใช้ Stepwise method นำสมการพยากรณ์ความเร็วสูงสุด (Sme) และ ความแคล่วคล่องว่องไว (AGe) มาเปรียบเทียบความแตกต่างกับ Sm และ AG ด้วยการทดสอบความแตกต่างค่ากลางของสองประชากรไม่อิสระ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเคลื่อนที่ของนักกีฬาเทนนิสในสถานการณ์จริง ส่วนใหญ่มีการเคลื่อนที่เฉียงลงจากด้านขวาไปด้านซ้าย เฉียงขึ้นจากด้านขวาไปด้านซ้าย ขนานเส้นท้ายสนามจากซ้ายไปขวา เฉียงขึ้นจากด้านซ้ายไปด้านขวา และตรงไปด้านหน้า ตามลำดับ 2) SAPe Test มีความสัมพันธ์กับแบบทดสอบมาตรฐาน โดยความเร็วสูงสุด ความแคล่วคล่องว่องไว พลังอนากาศนิยม มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (R=.619, .650, .629 ตามลำดับ) และสมรรถภาพอนากาศนิยมมีความสัมพันธ์ในระดับสูง (R=.846) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) สมการพยากรณ์พลังอนากาศนิยมคือ 30.266 + 5.016 (APs), สมรรถภาพอนากาศนิยมคือ113.574 + 65.274 (ACs), ความแคล่วคล่องว่องไวคือ 0.942 (เวลาน้อยที่สุด 1 รอบ) – 7.476 และความเร็วสูงสุดคือ 0.198 (ความสูง) – 15.548 สรุปผลการวิจัย SAPe Test สามารถนำไปใช้พยากรณ์ค่า สมรรถภาพอนากาศนิยม พลังอนากาศนิยม ความเร็วสูงสุด และความแคล่วคล่องว่องไวได้จริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This research aimed to study movement patterns of tennis players and relationships among anaerobic power (AP), anaerobic capacity (AC), maximum speed (Sm) and agility (AG) by Wingate Anaerobic Test (WAnT) and Speed Agility and Power Endurance Test (SAPe) to predict speed and agility from SAPe Test. Test subjects were 31 male and female tennis players, aged 19 to 22, from Institute of Physical Education. Maximum speed (Sm) by running on treadmill, Agility (AG) by Hexagonal Agility Test, Anaerobic Power (APe) and Anaerobic Capacity (ACe) by WAnT, and SAPe Test were carried out for statistical analyses. Simple regression analysis was used to correlate APe and ACe from WAnT and SAPe Tests. Stepwise multiple regression analysis was used to correlate Sm and AG from SAPe Test, APe and ACe. And finally paired samples t test of dependent population was used for difference comparisons of Sm and AG. It was found that 1) movement patterns in real tennis competition situation were cross-court downward from right to left, cross-court upward from right to left, along the end court line from left to right, cross-court upward from left to right and straight forward in descending order. 2) SAPe Test correlated with standard test methods moderately in Sm, AG and AP (r=.619, .650 and .629 respectively), and highly in AC (r=.846) at .05 level of significance. 3) Equation of anaerobic power was 30.266 + 5.016 (APs), anaerobic capacity was 113.574 + 65.274 (ACs), agility was 0.942 (less time for around) – 7.476 and maximal speed was 0.198 (height) – 15.548. It was concluded that SAPe Test could be used to predict AC, AP, Sm and AG comparable to laboratory tests.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46375
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1204
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1204
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5278950739.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.