Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46377
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐพร พานโพธิ์ทองen_US
dc.contributor.authorพรรณธร ครุธเนตรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:38:20Z-
dc.date.available2015-09-19T03:38:20Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46377-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่คู่สนทนาและคนกลางใช้ยุติการสนทนาที่มีความขัดแย้งในภาษาไทย รวมทั้งศึกษาความถี่การปรากฏใช้กลวิธีทางภาษาและปัจจัยพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษากลวิธีทางภาษาของคู่สนทนามาจากบทสนทนาในชีวิตจริง บทสนทนาในนวนิยาย และบทสนทนาในละครโทรทัศน์ ส่วนการศึกษากลวิธีทางภาษาของคนกลางใช้ข้อมูลบทสนทนาในรายการโทรทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีทางภาษาที่คู่สนทนาใช้ยุติการสนทนาที่มีความขัดแย้งมีทั้งหมด 5 กลวิธี เรียงลำดับตามค่าความถี่การปรากฏใช้จากมากไปหาน้อยดังนี้คือ 1) การออกจากสถานการณ์ 2) การใช้อำนาจ 3) การเปลี่ยนประเด็นการสนทนา 4) การยอมตาม และ 5) การประนีประนอม ส่วนกลวิธีทางภาษาที่คนกลางใช้ยุติการสนทนาที่มีความขัดแย้งมีทั้งหมด 4 กลวิธีเรียงลำดับตามค่าความถี่การปรากฏใช้จากมากไปหาน้อยดังนี้คือ 1) การทำให้ผู้ร่วมสนทนาออกจากสถานการณ์ 2) การใช้อำนาจ 3) การขอให้ผู้ร่วมสนทนาประนีประนอมกัน และ 4) การเปลี่ยนประเด็นการสนทนา ในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมที่มีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาของผู้พูดภาษาไทยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการศึกษาจากรูปภาษาหรือคำพูดที่ใช้ยุติการสนทนาที่มีความขัดแย้ง พบว่ารูปภาษาหรือคำพูดที่ผู้พูดภาษาไทยมักจะนำมาใช้ยุติการสนทนาที่มีความขัดแย้งมี 3 คำ ได้แก่ 1) “ไม่เป็นไร” 2) “ช่างมัน” และ 3) “ใจเย็น ๆ” คำทั้งสามคำนี้ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดทางพุทธศาสนา ส่วนที่สองเป็นการนำแนวคิดเกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมไทยที่นักวิชาการศึกษาไว้มาอธิบายข้อมูล พบว่า แนวคิดเรื่องสังคมแบบอิงกลุ่ม แนวคิดเรื่องมุมมองตัวตนแบบพึ่งพา แนวคิดเรื่อง “อาวุโส” และแนวคิดเรื่อง “หน้า” มีผลต่อการเลือกใช้กลวิธียุติการสนทนาที่มีความขัดแย้งในภาษาไทย อาจสรุปได้ว่าปัจจัยพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเหล่านี้น่าจะมีผลให้ผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีการออกจากสถานการณ์เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าหรือการแสดงความขัดแย้งมากที่สุดen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims at studying linguistic strategies which interlocutors and mediators use for terminating conflict talk in Thai interactions. It also studies how frequent such strategies are used and explores basic socio-cultural factors related. Data used in the study of interlocutors’ linguistic strategies came from daily conversations, novels, and TV dramas. Data used in the study of mediators’ linguistic strategies came from conversations in TV programs. Results show that there are five linguistic strategies that interlocutors use to terminate conflict talk. When put in order of frequency of use from high to low, they are: 1) withdrawal; 2) dominate; 3) stand-off; 4) submission; and 5) compromise. There are four linguistic strategies that mediators use to terminate conflict talk. When put in order of frequency of use from high to low, they are: 1) making interlocutors withdraw from the scene; 2) dominate; 3) request for interlocutors’ compromise; and 4) stand-off. To analyze basic socio-cultural factors influencing how Thai interactions adopt the linguistic strategies, the study is divided into two parts. The first part is to study linguistic forms used for terminating conflict talk. The study shows that the linguistic forms which Thai interactions adopt for terminating conflict talk: 1); mai-pen-rai 2); chang-man and 3) jai-yen-yen. According to anthropologists working on Thai, these three linguistic forms are related to the Buddhist concepts. The second part is to use the Thai socio-cultural concepts that researcher have studied to explain the data. The study shows that the concepts of collectivism, interdependent view of self, seniority and face influence the adoption of the strategies used for terminating conflict talk. It might be concluded that these socio-cultural factors have influence upon the use of the strategy of withdrawal by most of the interlocutors.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleกลวิธีทางภาษาที่ใช้ยุติการสนทนาที่มีความขัดแย้งในภาษาไทยen_US
dc.title.alternativeLINGUISTIC STRATEGIES USED FOR TERMINATING CONFLICT TALK IN THAI INTERACTIONSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNatthaporn.P@Chula.ac.th,ntp1142@hotmail.comen_US
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5280509922.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.