Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46393
Title: กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู
Other Titles: INSTRUCTIONAL LEADERSHIP DEVELOPMENT STRATEGIES OF TEACHERS
Authors: สุพรรัตน์ สัตตธนชัยภัทร
Advisors: ปองสิน วิเศษศิริ
ปิยพงษ์ สุเมตติกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pongsin.V@Chula.ac.th,v.pongsin@gmail.com
Piyapong.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู (2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ ครูโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวม 298 โรงเรียน วิเคราะห์ด้วยสถิติหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNI modified ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.59) เรียงตามลำดับดังนี้ 1.ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุด (x = 3.77) รองลงมา คือ 2.ด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ (x = 3.67) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการสอน (x = 3.67) และ 4.ด้านการพัฒนาและสร้างมาตรฐาน 6.ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน (x = 3.52) 7ด้านการสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน (x = 3.50) และ 8.ด้านการประสานงาน การใช้หลักสูตร มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติต่ำสุด (x = 3.45) ตามลำดับ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในลำดับมากที่สุดทุกด้าน (x = 4.59) โดยเรียงตามลำดับดังนี้ 1.ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงสุด (x = 4.66) รองลงมาคือ 2.ด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ (=4.63) 3.ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการสอน (x =4.61) 4.ด้าน การพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ (x = 4.60) 5.ด้านการนิเทศและการประเมินผลด้านการเรียนการสอน (x = 4.57) 6.ด้าน การกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน (x = 4.56) 7.ด้านการประสานงานการใช้หลักสูตร (x = 4.55) และ 8.ด้านการสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน (x = 4.51) ตามลำดับ ค่าความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.279 (PNI modified = 0.279) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนามากที่สุด คือ 1.ด้าน การประสานงานการใช้หลักสูตร (PNIModified= 0.319) รองลงมา คือ 2 ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน (PNIModified= 0.295) 3.ด้านการสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน (PNIModified= 0.289) และ 4.ด้านการนิเทศและการประเมินผลด้านการเรียนการสอน (PNIModified= 0.284) กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู มี 8 กลยุทธ์ กลยุทธ์หลักคือ 1.ปฏิรูปการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียนแบบมุ่งเน้นอนาคต 2.ปฏิรูปการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้าน การสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียนแบบมุ่งเน้นอนาคต 3.ปฏิรูปการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการประสานงานการใช้หลักสูตรแบบมุ่งเน้นอนาคต 4.ปฏิรูปการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการนิเทศและการประเมินผลด้านการเรียนการสอนแบบมุ่งเน้นอนาคต 5.ปฏิรูปการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนแบบมุ่งเน้นอนาคต 6.ปฏิรูปการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการควบคุมการใช้เวลาในการสอนแบบมุ่งเน้นอนาคต 7.ปฏิรูปการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการแบบมุ่งเน้นอนาคต 8.ปฏิรูปการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นอนาคต และกลยุทธ์รอง 9 ข้อ คือ 1.พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้าการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียนแบบมุ่งเน้นอนาคต 2.พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียนกับผู้ปกครองแบบมุ่งเน้นอนาคต 3.พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการประสานงานการใช้หลักสูตรแบบมุ่งเน้นอนาคต 4.พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการนิเทศและการประเมินผลด้านการเรียนการสอนแบบมุ่งเน้นอนาคต 5.พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนแบบมุ่งเน้นอนาคต 6.พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการควบคุมการใช้เวลาในการสอนแบบมุ่งเน้นอนาคต 7.พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยการวิจัยในชั้นเรียนแบบมุ่งเน้นอนาคต 8.พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการสร้างเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพครูแบบมุ่งเน้นอนาคต 9.พัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูด้านการส่งเสริมผู้เรียนแบบมุ่งเน้นอนาคต
Other Abstract: This research aims to (1) analyze the current state and the desired state of the administration to develop the instructional leadership of teachers and (2) to develop management strategies to develop academic leadership of teachers. Using both quantitative and qualitative research methodologies based on data derived from the questionnaires. The samples includes teachers from 298 primary and high schools. The analysis based on descriptive statistics and prioritize the needs assessment strategies using PNI modified technique. The results showed that (1) the current administration to develop the leadership of teachers was performed at a high level with an average overall level of 3.59. Eig as follow: monitoring on the student progress presenting the highest average value (3.77), followed by the organization to promote a provision of learning (3.67), control the teach time (3.67), the development and create an academic standard ( 3.60), the supervision and evaluation of teaching (3.56), school targeting ct rategies. the same level (3.52) and communication on goals of the school (3.50). All the six categories mentioned above showing the same level. While the coordination of the curriculum showing the lowest average (3.45).The desirable condition is found to have the highest level in all categories studied (4.59) as follow: monitoring on the student progress showing the highest desirable conditions, with the highest average value (4.66), followed by the organization to promote a provision of learning (4.63), controlling the time for teaching (4.61), the development and create an academic standard (4.60), the supervision and evaluation of teaching (4.57) and the school targeting (4.56), the coordination of the curriculum (4.55) and communication on goals of the school (4.51).The necessary requirements for the administration to develop the leadership of teachers as a whole had an average of 0.279 (PNI modified = 0.279) when considering each aspect with the index. The need to develop the most is the coordination of the curriculum (PNIModified = 0.319), followed by the school targeting (PNIModified = 0.295), communication goals of the school (PNIModified = 0.289), and the supervision and evaluation of teaching (PNIModified = 0.284).Management strategies to develop the leadership of teachers contain eight main strategies: 1. Administrative reform to strengthen the school targets focused on the future. 2. Administrative reform to improve the curriculum focused on the future. 3. Administrative reform to enhance supervision focused on the future. 4. Administrative reform to strengthen monitoring the quality of the students focused on the future. 5. Administrative reform to improve time management focused on the future. 6. Administrative reform to strengthen the academic leadership focused on the future. 7. Administrative reform to enhance the pride focused on the future. 8. Transforming leadership development of teachers and providing a learning environment that promotes future-oriented.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46393
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5284472027.pdf7.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.