Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46398
Title: ความรู้เท่าทันสื่อของผู้ใช้สื่อโทรทัศน์ไทยภายใต้ภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ที่เปลี่ยนไป
Other Titles: MEDIA LITERACY OF THAI TELEVISION USERS IN THE CHANGING TELEVISION LANDSCAPE
Authors: เพ็ญพักตร์ เตียวสมบูรณ์กิจ
Advisors: ณรงค์ ขำวิจิตร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Narong.K@Chula.ac.th
Subjects: การรู้เท่าทันสื่อ -- ไทย
สื่อมวลชน -- ไทย
การเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล -- ไทย
โทรทัศน์ -- ไทย
Media literacy -- Thailand
Mass media -- Thailand
Digital divide -- Thailand
Television -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงระดับความรู้เท่าทันสื่อและมิติของการรู้เท่าทันสื่อและปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้เท่าทันสื่อของคนไทยภายใต้ภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ของประเทศไทยในปัจจุบัน รวมทั้ง เพื่อทราบประเด็นและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะใช้เพิ่มระดับความรู้เท่าทันสื่อของคนไทยภายใต้ภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากความรู้เท่าทันสื่อเพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลตัวเองของสื่อโทรทัศน์ไทย ระเบียบวิธีวิจัย ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับเชิงคุณภาพ วิธีวิจัยเชิงปริมาณคือ การสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนผู้ชมโทรทัศน์ทั่วทุกภาคของประเทศไทย รวมจำนวน 1,200 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพคือการสนทนากลุ่มกับประชาชนผู้ชมโทรทัศน์จำนวน 6 กลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน ผลการวิจัย แบ่งออกเป็นสามส่วน ดังนี้ ส่วนแรก รายงานสภาพภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ภายหลังการปฏิรูปสื่อและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการกำกับดูแล และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสื่อในประเทศไทย พบว่าภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 องค์กรกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ องค์ประกอบที่ 2 อุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ และองค์ประกอบที่ 3 ประชาชนผู้ใช้สื่อโทรทัศน์ ส่วนที่สอง พบว่าประชาชนผู้ใช้สื่อมีความรู้เท่าทันสื่อในระดับค่อนข้างต่ำและปัจจัยด้านประชากรยกเว้นลักษณะทางเพศ มีผลต่อความรู้เท่าทันสื่อ การเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมีอิทธิพลและมีความสัมพันธ์กับระดับความรู้เท่าทันสื่อ รูปแบบการการใช้สื่อโทรทัศน์มีผลต่อความรู้เท่าทันสื่อ ผู้ใช้สื่อโทรทัศน์ในภูมิทัศน์สื่อใหม่มีระดับความรู้เท่าทันสื่อสูงกว่าผู้ใช้สื่อโทรทัศน์ในภูมิทัศน์สื่อเก่า ผู้ใช้สื่อโทรทัศน์แบบกระตือรือร้นมีระดับความรู้เท่าทันสื่อสูงกว่าผู้ใช้สื่อแบบโทรทัศน์แบบเฉื่อยชา และผู้ใช้สื่อโทรทัศน์มากมีระดับความรู้เท่าทันสื่อสูงกว่าผู้ใช้สื่อโทรทัศน์น้อย ผลจากการศึกษาด้วยวิธีสนทนากลุ่มยืนยันเรื่องความรู้เท่าทันสื่อค่อนข้างต่ำของผู้เข้าร่วมสนทนาและให้ภาพภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ในมุมของผู้ร่วมสนทนา ส่วนที่สาม ประเด็นที่ควรได้รับความสำคัญสำหรับการสร้างความรู้เท่าทันสื่อให้ผู้ใช้สื่อโทรทัศน์ ได้แก่ 1) ผู้ใช้สื่อขาดความรู้เท่าทันสื่อ โดยเฉพาะในมิติเรื่องภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป 2) ผู้ใช้สื่อไม่ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการรู้เท่าทันสื่อ 3) ผู้ใช้สื่อมีพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์เนื้อหารายการไม่หลากหลาย และเน้นรับชมรายการบันเทิงและรายการเล่าข่าวเป็นหลัก 4) ปัจจัยแวดล้อมทางสังคมของผู้ชมที่ไม่ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะใช้เพิ่มระดับความรู้เท่าทันสื่อของคนไทยภายใต้ภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ได้จากการศึกษามี 5 แนวทางดังนี้ 1) ให้ความรู้เรื่องความรู้เท่าทันสื่อ 2) พัฒนาทักษะความรู้เท่าทันสื่อและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้น 4) จัดตั้งองค์กรผู้บริโภคสื่อโทรทัศน์ 5) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มระดับความรู้เท่าทันสื่อของผู้ชมโทรทัศน์ ข้อเสนอเชิงนโยบายอื่นคือ การใช้ประโยชน์จากความรู้เท่าทันสื่อเพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลตัวเองของสื่อโทรทัศน์ไทย โดยให้มีการกำกับดูแลสื่อจากสามภาคส่วน ภาครัฐ ภาคองค์กรวิชาชีพและภาคประชาชนอย่างสมดุล และใช้ความรู้เท่าทันสื่อเป็นกลไกหนึ่งในการกำกับดูแลสื่อ
Other Abstract: This research aims to compile a picture of the current television landscape in Thailand and to study the level of media literacy, dimensions of media literacy as well as factors that influence level of media literacy of Thais. The study intends to identify issues and policy suggestions pertinent to media literacy level development of Thais under the changing media landscape. Also, the study explores the possibility of utilizing media literacy to promote media users self-regulation in Thailand. Research methodology, an integrated method of qualitative research and qualitative research are used. Quantitative Research Method is a survey by questionnaire with a sample of television audiences across the country total 1,200 people and qualitative research method is a focus group on television audience of six groups and in-depth interviews with 15 experts. The research results are reported in three parts as following: The first part reports the status of current television landscape in Thailand after media reform, regulatory structure transformation, and changes in media technology. It has been found that three main elements are transforming the television landscape; broadcasting regulator, television industry, and television users. The second part, the study found that the level of media literacy of Thai people is rather low. Demographic characters, with the exception of sex, have influence over or correlated with media literacy. Television usage pattern also found to be influencing. People living life in the new media landscape has higher level of media literacy than those living life in the old media landscape. The active audiences have higher level of media literacy than the passive audiences. The Heavy users higher level of media literacy than the light users. Focus group interview generally confirmed the rather low level of media literacy found in survey results. Study also provides the media landscape under the view of focus group participants. The third part, to help develop media literacy among Thai people, the study found the issues that should receive priority are; 1) Media users lack media literacy, especially in the dimension of changing landscape. 2) Users unaware of the important and necessity of media literacy. 3) Lack of program variety in viewers’ viewing pattern, and focusing mainly on entertainment and news talk only. 4) Users social environment is not conductive to media literacy promotion. The policies recommendations derived from the study to increase the level of media literacy are 1) Giving media literacy knowledge 2) Developing the media literacy skill and build learning environment 3) Promoting civil society participation and active citizenship 4) Establishing television consumer organizations 5) Promoting research and development to increase the level of media literacy of television users. The possibility to utilize media literacy for promote self-regulation in Thailand by co-regulate from three sectors; government organization, professional television organization and television users. Other policy recommendation is using media literacy as a mechanism to regulate the media.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46398
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1215
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1215
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5285104228.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.