Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46420
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศานิต ปิยพัฒนากรen_US
dc.contributor.advisorสุชนา ชวนิชย์en_US
dc.contributor.authorทิพวิมล รัตนะวงวาลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:38:56Z
dc.date.available2015-09-19T03:38:56Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46420
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora damicornis สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศ และมีการรายงานไว้ว่าในปะการังชนิดนี้ เซลล์ไข่สามารถพัฒนาเป็นตัวอ่อนได้แม้ไม่ได้รับการผสมกับเสปิร์ม โดยอัตราส่วนการสร้างตัวอ่อนแบบอาศัยเพศและแบบไม่อาศัยเพศนี้จะแตกต่างกันไปตามปัจจัย เช่น ที่ตั้ง สภาพแวดล้อมในพื้นที่ และขนาดของโคโลนี เป็นต้น การศึกษานี้มุ่งสำรวจการสร้างตัวอ่อนของปะการังดอกกะหล่ำ P. damicornis บริเวณเขาหมาจอ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เครื่องหมายพันธุกรรมไมโครแซตเทลไลท์ในส่วนของนิวเคลียร์ดีเอ็นเอจำนวน 5 ตำแหน่ง ถูกใช้ในการตรวจสอบจีโนไทป์ของโคโลนีแม่ทั้งหมด 9 โคโลนี และตัวอ่อนทั้งหมด 276 ตัว (เฉลี่ย 31±2.52 ตัว/โคโลนี) การเปรียบเทียบรูปแบบพันธุกรรมของตัวอ่อนกับโคโลนีแม่ พบว่าตัวอ่อนจากโคโลนีแม่จำนวน 5 โคโลนี (55.56 เปอร์เซ็นต์) ถูกผลิตจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ส่วนตัวอ่อนจากโคโลนีแม่อีก 4 โคโลนี (44.44 เปอร์เซ็นต์) เกิดจากการผลิตตัวอ่อนแบบอาศัยเพศ โดยพบตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมพันธุ์ของโคโลนีแม่กับโคโลนีพ่อเพียงโคโลนีเดียว จำนวน 3 โคโลนีแม่ และตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมพันธุ์ของโคโลนีแม่กับโคโลนีพ่อมากกว่า 1 โคโลนี จำนวน 1 โคโลนีแม่ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าประชากรของปะการังชนิดนี้ในบริเวณที่ศึกษามีการทดแทนประชากรจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศควบคู่กันไป ซึ่งก่อให้เกิดสมดุลระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมและการคงไว้ซึ่งพันธุกรรมที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ รวมถึงการขยายแนวปะการังให้กว้างขึ้น ข้อมูลรูปแบบการสืบพันธุ์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญที่จะช่วยให้การวางแผนอนุรักษ์ประชากรปะการังดอกกะหล่ำในพื้นที่นี้สามารถทำได้อย่างประสิทฺธิภาพมากขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeCauliflower coral, Pocillopora damicornis, has two reproductive modes: sexual and asexual reproduction. Moreover, there were reports on its parthenogenetic larvae. The proportions of sexual and asexual larvae were dependent on locations, environments and colony sizes. This study was focusing on the reproductive modes in cauliflower coral, P. damicornis. The genotyping of total 9 brood colonies and 276 larvae (31±2.52 larvae per brooder), collected from Khao Maa Cho, Sattahip, Chon Buri, were carried out using 5 polymorphic microsatellite loci. The results revealed that there were 5 brood colonies (55.56 %) producing asexual or parthenogenetic larvae and 4 brood colonies (44.44 %) producing sexual larvae, in whichthe sexual larvae from 3 brood colonies were produced via a single mating and 1 colony was produced by multiple mating. The results suggested that the recruitment of the populations could be supplied by both asexual and sexual larvae. These two reproductive modes could play an important role in the maintenance of genetic diversity and fitness of the populations in the area. The knowledge of the reproductive modes in P. damicornis is the major information to enhance the efficiency of conservative planning for this coral species in this area.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1220-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปะการัง -- ไทย -- ชลบุรี
dc.subjectปะการัง -- การสืบพันธุ์
dc.subjectไมโครแซทเทลไลท์ (พันธุศาสตร์)
dc.subjectCorals -- Thailand -- Chonburi
dc.subjectCorals -- Reproduction
dc.subjectMicrosatellites (Genetics)
dc.titleรูปแบบการสืบพันธุ์ของปะการังดอกกะหล่ำ Pocillopora damicornis (Linnaeus, 1758) บริเวณเขาหมาจอ จังหวัดชลบุรี โดยใช้เครื่องหมายทางพันธุกรรมไมโครแซตเทลไลท์en_US
dc.title.alternativeREPRODUCTIVE MODE OF CAULIFLOWER CORAL Pocillopora damicornis (Linnaeus, 1758) AT KHAO MAA CHO, CHON BURI PROVINCE, USING MICROSATELLITE MARKERSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSanit.Pi@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorsuchana.c@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1220-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5471983323.pdf2.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.