Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46434
Title: ผลของการดื่มน้ำเย็นต่อการตอบสนองของอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายและการสูญเสียน้ำขณะออกกำลังกายระดับปานกลางในที่ร้อนของคนอ้วน
Other Titles: EFFECTS OF COLD WATER INGESTION ON CORE TEMPERATURE RESPONSE AND FLUID LOSS OF OBESE MEN DURING MODERATE INTENSITY EXERCISE IN HOT ENVIRONMENT
Authors: ปิยเชษฐ์ ตะสิงห์
Advisors: อรอนงค์ กุละพัฒน์
สมพล สงวนรังศิริกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Onanong.K@Chula.ac.th,onanongt@hotmail.com
Sompol.Sa@Chula.ac.th
Subjects: อุณหภูมิกาย -- การควบคุม
Body temperature -- Regulation
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุณหภูมิแกนกลางของร่างกายและการสูญเสียน้ำของคนอ้วนเปรียบเทียบกับคนน้ำหนักปกติในการออกกำลังกายด้วยความหนักระดับปานกลางในที่อากาศเย็นและที่อากาศร้อน และศึกษาผลของการดื่มน้ำเย็นเปรียบเทียบกับการดื่มน้ำอุณหภูมิห้องก่อนการออกกำลังกายในที่ร้อนต่ออุณหภูมิแกนกลางและการสูญเสียน้ำของคนอ้วน 12 คน และชายสุขภาพดีน้ำหนักปกติ 12 คน ทำการทดสอบเดินเร็วแบบต่อเนื่องด้วยความหนักระดับปานกลาง 45–50% ของอัตราการเต้นของหัวใจสำรองสูงสุด ตามสูตรของ Karvonen เป็นเวลา 30 นาที บนลู่วิ่งกลในห้องควบคุมสภาพอากาศ ในที่อากาศเย็นควบคุมอุณหภูมิคงที่ 23°C - 24°Cความชื้นสัมพัทธ์ 75±5% ส่วนในที่อากาศร้อนควบคุมอุณหภูมิคงที่ 30°C - 31°C ความชื้นสัมพัทธ์ 80±5% ผลการศึกษาพบว่า อุณหภูมิแกนกลางร่างกายของคนอ้วนไม่มีความแตกต่างกันกับคนน้ำหนักปกติทั้งในที่เย็น (คนอ้วน 37.77±0.08°C, คนปกติ 37.68±0.08°C; P=0.463) และในที่อากาศร้อน (คนอ้วน 37.82±0.06°C, คนปกติ 37.85±0.06°C; P=0.725) อัตราการเต้นของหัวใจ ความรู้สึกเหนื่อย และความรู้สึกร้อนของคนอ้วนกับคนน้ำหนักปกติไม่แตกต่างกันทั้งในการออกกำลังกายในที่เย็นและที่ร้อน แต่คนอ้วนมีปริมาณการสูญเสียน้ำจากการออกกำลังกายมากกว่าคนน้ำหนักปกติ ในที่เย็น 160 มล. (คนอ้วน 443.33±98.65 มล., คนปกติ283.33±108.15 มล.; P≤0.001) ในที่ร้อน 194 มล. (คนอ้วน 632.50 ±126.57 มล.,คนปกติ 438.33±126.62 มล.; P≤0.001) และผลการศึกษาการดื่มน้ำเย็น (0.5±0.5°C) เปรียบเทียบกับการดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง (30.5±0.5°C) ก่อนการออกกำลังกายในที่ร้อนของคนอ้วนพบว่า อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายจากการดื่มน้ำเย็นเปรียบเทียบกับการดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง (ดื่มน้ำเย็น 37.57±0.07°C, ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง 37.63±0.05°C; P=0.296) ความรู้สึกเหนื่อย (ดื่มน้ำเย็น 12.15±0.29, ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง 12.64±0.36; P=0.068) และความรู้สึกร้อน (ดื่มน้ำเย็น 2.40±0.10, ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง 2.66±0.15; P=0.068) ไม่แตกต่างกัน แต่การดื่มน้ำเย็นทำให้อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่าการดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง (ดื่มน้ำเย็น 130.75±1.67 ครั้ง/นาที, ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง 134.08±1.91 ครั้ง/นาที; P=0.024) และการดื่มน้ำเย็นก่อนออกกำลังกายในที่ร้อนสามารถลดการสูญเสียน้ำได้ดีกว่าการดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง (ดื่มน้ำเย็น 646.67±139.82 มล., ดื่มน้ำอุณหภูมิห้อง 735.00±126.95 มล.; P=0.010) แสดงว่าคนอ้วนที่จะต้องออกกำลังกายในที่อากาศร้อน 30°C - 31°C สามารถออกกำลังกายแบบต่อเนื่องในระดับความหนักปานกลางเป็นระยะเวลาประมาณ 30 นาทีได้โดยที่อุณหภูมิแกนกลางของร่างกายไม่มีการเพิ่มสูงมากจนถึงขั้นเป็นอันตราย แต่คนอ้วนควรดื่มน้ำก่อนการออกกำลังกายเพิ่มเติมจากคนน้ำหนักปกติประมาณ 200 มล. สำหรับออกกำลังกายในที่อากาศร้อน และ 160 มล.ในที่อากาศเย็น และการดื่มน้ำเย็นก่อนการออกกำลังกายเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนอ้วนที่จะต้องออกกำลังกายในที่ร้อนเพราะสามารถลดปริมาณการสูญเสียน้ำและลดอัตราการเต้นของหัวใจขณะออกกำลังกายในที่ร้อนได้ และการดื่มน้ำเย็นก่อนออกกำลังกายมีแนวโน้มช่วยลดความรู้สึกเหนื่อยและความรู้สึกร้อนขณะออกกำลังกายในที่ร้อนได้ โดยที่ไม่ส่งผลต่ออุณหภูมิแกนกลางของร่างกาย
Other Abstract: This study aimed to determine core body temperature and fluid loss of obese men compared to normal weight men during continuous moderate intensity exercise in both cool and hot & humid condition, and to investigate the effects of precooling with cold water ingestion compared to room-temperature water ingestion on core body temperature and fluid loss in obesity during exercise in hot humid & condition. Twelve obese men (OM) and twelve healthy normal-weight men (NWM) completed an exercise test on treadmill at 45–50% reserved heart rate (Karvonen method) for 30-minute period. The experiments were conducted in a climatic room. Air temperature was maintained at 23°C - 24°C, relative humidity of 75±5% for cool condition and 30°C - 31°C, relative humidity of 80±5% for hot condition. Results: The study showed no significant difference of rectal temperature in response to exercise between OM and NWM in both cool (OM 37.77±0.08°C, NWM 37.68±0.08°C; P=0.463) and hot conditions (OM 37.82±0.06°C, NWM 37.85±0.06°C; P=0.725). Heart rate, rate of perceived exertion (RPE) and thermal sensation were not significantly different between OM and NWM. However, fluid loss was approximately 160 mL higher in OM than NWM (OM 443.33±98.65 mL, NWM 283.33±108.15 mL; P≤0.001) in cool condition and 194 mL higher in OM (OM 632.50 ±126.57 mL, NWM 438.33±126.62 mL; P≤0.001) in hot condition. Precooling with cold water (CW) ingestion (0.5±0.5°C), compared to room-temperature water (RTW) ingestion (30.5±0.5°C), showed no significant differences in core temperature (CW 37.57±0.07°C, RTW 37.63±0.05°C; P=0.296), RPE (CW 12.2±0.3, RTW 12.6±0.4; P=0.068), and thermal sensation (CW 2.4±0.1, RTW 2.7±0.2; P=0.068). Precooling with CW ingestion decreased fluid loss (CW 646.67±139.82 mL, RTW735±126.95 mL; P=0.010) and heart rate (CW 130.75±1.67 bpm, RTW 134.08±1.91 bpm; P=0.024). Conclusion: Obese men may continuously exercise about 30 minutes at moderate intensity in hot & humid condition without an increase of core temperature to dangerous level; however, OM should to drink approximately 200 mL more water in hot and 160 mL more water in cool condition than NWM. Precooling with cold water ingestion is likely a good choice for obesity when exercise in the hot condition because it decreased the amount of fluid loss and exercise heart rate. Moreover, RPE and thermal sensation tended to decrease with CW when obese men exercise in the hot humid condition without affecting core temperature.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46434
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1227
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1227
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5474193430.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.