Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46446
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัชชัย โกมารทัตen_US
dc.contributor.authorไพศาล ศุภปฐมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:39:19Z
dc.date.available2015-09-19T03:39:19Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46446
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา และ เปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาบาสเกตบอลขั้นพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นแตกต่างกัน คือ กลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นสูง ปานกลาง และ ต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายอายุ12 ปี ของโรงเรียนประถมนนทรี และ โรงเรียนวัดช่องลม โดยใช้แบบทดสอบความฉลาดทางการเล่น (Play Quotient)ของชัชชัย โกมารทัต และ คณะ เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน ดำเนินการทดลองโดยนำทั้ง 3 กลุ่ม ฝึกทักษะกีฬาบาสเกตบอลขั้นพื้นฐาน เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน แล้วจึงทำการทดสอบทักษะกีฬาบาสเกตบอลขั้นพื้นฐานของ แฮริสัน ก่อนเข้ารับการฝึก หลังเข้ารับการฝึก 4 สัปดาห์ และ หลังเข้ารับการฝึก 8 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการทดสอบแต่ละรายการภายในกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ(Two-way ANOVA analysis of variance with repeated measure)และ เปรียบเทียบผลการทดสอบแต่ละรายการระหว่างกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว(One-way ANCOVA analysis of variance) และ เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่(Pair wise Comparisons)โดยวิธีการของ Bonferroni ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทักษะกีฬาบาสเกตบอลขั้นพื้นฐานภายในกลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ ดีกว่า หลังเข้ารับการฝึก 4 สัปดาห์ และดีกว่า ก่อนเข้ารับการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทักษะกีฬาบาสเกตบอลขั้นพื้นฐานระหว่างกลุ่ม ภายหลังการฝึก 4 สัปดาห์ และหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่มีค่าความฉลาดทางการเล่นสูง มีการพัฒนาทักษะที่ดีกว่า กลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นปานกลาง และกลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย ระดับของความฉลาดทางการเล่น(Play Quotient)ที่แตกต่างกันจะมีผลต่อความสามารถในการพัฒนาทักษะกีฬาบาสเกตบอลขั้นพื้นฐานของเด็กชายอายุ 12 ปี และ สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาการคัดเลือกผู้เล่นระดับเยาวชนเพื่อพัฒนาทักษะการเล่นสู่ระดับสูงต่อไปได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to compares the development of basic skill basketball performance between 3 study groups. First group has high Play Quotient, second group has moderate Play Quotient, and third group has low Play Quotient. Methods The 12–year-old boy groups of Phathomnonsee School and Watchonglom School were selected to be the subjects. They were divided into three groups with fifteen players for each group by the Play Quotient test of Chuchchai Gomaratut, et al.(2006). All groups were trained with a basic basketball training program. The courses of training were for three days per week. The total duration of training was eight weeks. All subjects were tested a basic skill basketball performance by Harrison basketball battery tests. The subjects were tested at 3 different periods. (i.e.before experiment,after the fourth,and eighth weeks). The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations, Two-way ANOVA analysis of variance with repeated measure, One-way ANCOVA analysis of variance and pair wise Comparisons by Bonferroni’s methods were employed for statistical significant at the .05 level. Results 1.The comparison of basic skill basketball within groups. All groups have means of a development of basic skill basketball after eight weeks of experiment were significantly better than after four weeks and before experiment at the .05 level 2.The comparison of basic skill basketball between groups. Mean of basic skill basketball performance eight weeks of experiment, the first group (High Play Quotient) were significantly better than the seconed group(Moderate Play Quotient) and third group (Low Play Quotient) at the .05 level Conclusion The different levels of Play Quotient affects the development of basic skill basketball performance of 12-year-old boys and can be used as a consideration the young players to keep practicing high skills basketball performance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1235-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectบาสเกตบอล
dc.subjectนักบาสเกตบอล -- การคัดเลือกและสรรหา
dc.subjectBasketball
dc.subjectBasketball players -- Selection and appointment
dc.titleผลของการคัดเลือกผู้เล่นโดยใช้คะแนนความฉลาดทางการเล่นที่มีต่อการพัฒนาทักษะกีฬาบาสเกตบอลขั้นพื้นฐานในเด็กชาย อายุ 12 ปีen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF USING PLAY-QUOTIENT SCORE TO SELECT PLAYERS ON THE DEVELOPMENT OF BASIC BASKETBALL PERFORMANCE OF THE 12-YEAR-OLD BOYSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorchuchchai.g@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1235-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5478409839.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.