Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46455
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล | en_US |
dc.contributor.author | ศิลป์ศุภา แจ้งสว่าง | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-19T03:39:27Z | |
dc.date.available | 2015-09-19T03:39:27Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46455 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเด่นและบทบาทของการ์ตูนรามเกียรติ์ ฉบับรามาวตาร จำนวน ๒๘ เล่ม ของสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ซึ่งมีผลการศึกษาดังนี้ การ์ตูนฉบับนี้ดัดแปลงมาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้เขียนคือ เฟน สตูดิโอ แห่งสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ได้เล่ารามเกียรติ์ในสำนวน (version) ใหม่ที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นหลัก โดยดัดแปลงเนื้อหาและนำเสนอเรื่องราวผ่านภาพและการใช้ภาษา ในด้านเนื้อหา การ์ตูนฉบับนี้แต่เดิมได้รับการตีพิมพ์เป็นเรื่องแทรกเป็นตอน ๆ ในหนังสือสาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่ ผลงานประจำของเฟน สตูดิโอ ซึ่งเป็นการ์ตูนตลกและออกเป็นรายเดือน ต่อมาจึงได้มีการรวมเล่มเป็นฉบับสมบูรณ์ เมื่อพิจารณาเนื้อหาเปรียบเทียบกับบทละครรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแล้วพบว่า ผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องโดยการสลับความ การเพิ่มความ การลดความ การเปลี่ยนรายละเอียดของเหตุการณ์บางเหตุการณ์ เพื่อให้เนื้อเรื่องเข้าใจง่ายขึ้น ไม่ซับซ้อน และมีความสนุกสนานจากการสร้างอารมณ์ขัน โดยที่ไม่กระทบปมขัดแย้งสำคัญและแก่นเรื่องของรามเกียรติ์ ในด้านรูปลักษณ์ ผู้เขียนนำเสนอเรื่องด้วยภาพและภาษา ทั้งในส่วนประกอบก่อนเข้าเนื้อเรื่อง ซึ่งมีภาพปก ภาพหน้าตอน ชื่อเรื่อง และการเท้าความเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นความตั้งใจของผู้เขียนที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและมุ่งให้ผู้อ่านติดตามเรื่องราวได้ง่าย ส่วนในเนื้อเรื่อง ภาพและภาษาจะทำหน้าที่ควบคู่กันในเล่ม มีการจัดวางองค์ประกอบของหน้า การใช้กรอบภาพในลักษณะต่าง ๆ เพื่อนำเสนอเรื่อง นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มแผนภาพและเกร็ดความรู้เกี่ยวกับตัวละครต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่องได้ การ์ตูนฉบับนี้มีบทบาทสืบทอดวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ รวมทั้งเกร็ดความรู้ศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์ ให้ความบันเทิงจากเรื่องราวที่สนุกสนานน่าติดตาม อารมณ์ขัน และมุกตลกต่าง ๆ นอกจากนี้ยังแทรกการปลูกฝังจริยธรรมต่าง ๆ ให้แก่ผู้อ่าน โดยเฉพาะคำสอนหลักเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รวมทั้งข้อควรประพฤติปฏิบัติของผู้ปกครองหรือผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้ปกครองหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ที่ยังคงเป็นประโยชน์แม้ในปัจจุบัน การ์ตูนรามเกียรติ์ ฉบับรามาวตาร ผลงานของ เฟน สตูดิโอ จึงเป็นการสืบทอดและเผยแพร่เรื่องรามเกียรติ์ซึ่งเป็นวรรณคดีเอกของไทยในรูปแบบของการ์ตูน ซึ่งเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมและเข้าถึงได้ง่าย สำหรับเด็กและเยาวชน สะท้อนให้เห็นคุณค่าของเรื่อง “รามเกียรติ์” ที่ยังคงดำรงคุณค่าอยู่ในสังคมวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis aims at studying the characteristics and roles of Ramakian Chabap Ramawatan cartoon, by Fen Studio from Banluesan publisher. The study finds that the cartoon which comprises of 28 volumes is adapted from Ramakian, composed by King Rama I. Adapted by the author and presented through pictures and words, the cartoon presents Ramakian story as a new version which is mainly purposed for children and juvenile. In term of story, the cartoon was initially published as an insertion partly in author’s monthly published Sao dok mai ka nai kluay khai comedy cartoon, and was then collected as a complete set. Compared to Ramakian of King Rama I, the content of the story was narrated by reordering sequences, by adding new sequences, by missing sequences, by changing details in some sequences, and by entertaining with humors so that the story is simplified without affecting the main conflict and the essence of the story. In term of appearance, the story is illustrated by pictures and words in the pre-story parts: cover image, episode image, title, and background statement, and in the content parts. The elements show the author’s intention to appeal reader’s attentions and to keep readers easily on the track of the story. Together with words, images present the story in storyboards and frames. In addition, family charts and characters’ information are attached in the cartoon that is convenient for readers to understand the character’s relationship. This cartoon takes roles of continuing Ramakian literature, imparting knowledge related to the literature and to Ramakian’s arts and cultures, and entertaining readers with interesting narrations and humors. Especially the concept of karma, virtuous ethics of the nobles and followers are also expressed in this cartoon. Ramakian Chabap Ramawatan Cartoon, presented by Fen Studio, is therefore a medium to continue and spread the story of Ramakian, the great Thai literature, as a cartoon which is popular and easily accessible by children. This shows that Ramakian’s value generally exists in Thai contemporary culture. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1243 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | รามเกียรติ์ | |
dc.subject | การ์ตูน | |
dc.subject | วรรณคดี -- การดัดแปลง | |
dc.subject | Ramakien | |
dc.subject | Caricatures and cartoons | |
dc.subject | Literature -- Adaptations | |
dc.title | ลักษณะเด่นและบทบาทของการ์ตูนรามเกียรติ์ ฉบับรามาวตาร | en_US |
dc.title.alternative | CHARACTERISTICS AND ROLES OF RAMAKIAN CHABAP RAMAWATAN CARTOON | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Arthid.S@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1243 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480182422.pdf | 13.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.