Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46481
Title: แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
Other Titles: GUIDELINES FOR SCIENCE SCHOOL IDENTITY FORMATION FROM STAKEHOLDER PARTICIPATION
Authors: ษุรพีฐ์ บุญคง
Advisors: อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Ubonwan.H@Chula.ac.th
Subjects: เอกลักษณ์ (จิตวิทยา)
การมีส่วนร่วมทางสังคม
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Identity (Psychology)
Social participation
Science -- Study and teaching
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อเสนอแนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จากการมีส่วนร่วม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาจากกลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่มเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรม SPSS จากนั้นใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการลงพื้นที่วิจัยภาคสนาม 2 โรงเรียนที่มีความแตกต่างของสภาพที่พึงประสงค์และสภาพความเป็นจริงแตกต่างกันมากที่สุดและน้อยที่สุด ซึ่งทั้ง 2 โรงเรียนนี้ต้องอยู่ในภูมิภาคที่ต่างกัน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างอัตลักษณ์โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จากนั้นนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสมก่อนนำเสนอแนวทางการสร้างอัตลักษณ์โรงเรียนวิทยาศาสตร์จากการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จะประสบผลสำเร็จต้องสร้างอัตลักษณ์ภายในให้เกิดแก่บุคลากรภายในโรงเรียน โดยเฉพาะครูผู้สอนเพราะส่งผลโดยตรงในการสร้างอัตลักษณ์ให้เกิดกับตัวนักเรียน สภาพและปัญหาที่พบคือ นักเรียนมีความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เพราะมีระบบการคัดเลือกที่ดี แต่ควรส่งเสริมด้านคุณธรรมเพื่อสร้างคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ตามเป้าหมายที่โรงเรียนต้องการ ครูและผู้บริหารยังไม่เข้าใจถึงอุดมการณ์และเป้าหมายของการจัดตั้งโรงเรียน การปฏิบัติหน้าที่ตามบริบทของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จึงยังเกิดปัญหา ครูมีภาระงานมาก อีกทั้งทัศนคติของครูและผู้บริหารไม่ตรงกันจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจในอุดมการณ์ เป้าหมาย และบทบาทหน้าที่ของการเป็นครูและผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นโรงเรียนไม่สามารถคัดเลือกครูและผู้บริหารได้ตามบริบทโรงเรียนเนื่องจากเป็นโรงเรียนของรัฐ ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมของโรงเรียนไม่มากเท่าที่ควร และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องมาสนับสนุนการจัดการศึกษาเพื่อช่วยแก้ปัญหาและทำให้การดำเนินการของโรงเรียนเป็นไปด้วยความราบรื่น แนวทางการสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จำเป็นต้องพัฒนาครู พัฒนาผู้บริหาร และพัฒนานักเรียนตามบทบาทเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนไปสู่อุดมการณ์และเป้าหมายของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ และแนวทางสนับสนุนการสร้างอัตลักษณ์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับต่างๆทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ระดับโรงเรียนไปจนถึงระดับกระทรวงในการดำเนินการด้วยวิธีการและบริบทต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) study the states and problems of science school identity formation and 2) propose guidelines for science school identity formation from stakeholder participation. This research was employed both quantitative and qualitative techniques. The quantitative technique was conducted through the use of questionnaire as research instrument for studying the states and problems from 5 sample groups and analyzed the results by using SPSS program. The qualitative technique was conducted by using field study method to study 2 schools where the desirable states and the authentic states differed from each other the most and the least. Both schools must be situated in different regional location. The research instrument was the interview form for studying guidelines for science school identity formation and then the appropriateness of interview form was assessed by specialists before proposing guidelines for science school identity formation from stakeholder participation. The research findings were as follows: the science school identity formation would be successful if school people were constructed internal identity especially teachers because they had influences directly toward students’ identity formation. The states and problems found were that students had knowledge and disposition in science learning due to the appropriate selecting system. However, the moral attributes must be enhanced to construct the desirable characteristics of scientist based on the school expectations. Teachers and school administrators did not recognize the ideologies and aims of establishing science school leading to the difficulties of school people to perform their roles appropriately based on the specific contexts. Additionally, the attitudes of teachers and school administrators were inconsistent so the ideologies, aims and roles of teachers and school administrators of science school must be informed for shared understanding. The school did not have the authority to select teachers and school administrators based on the provided contexts as public schools. Parents had less participation and provided less support for the arrangement of school activities and the collaboration from the stakeholder were essential to support educational management for solving school problems and enhancing the school performance. The guidelines for science school identity formation required the professional development of teachers, school administrators and students in order to construct school identity leading to ideologies and aims of science schools. In addition, the guidelines for science school identity formation must be supported by the stakeholders in various levels. Both in public and private sectors ranging from public schools to ministry must be mutually incorporated by using various methods and contexts for developing more effectiveness and efficiency of science schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46481
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1263
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1263
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5483458227.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.