Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46483
Title: การวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะและเหตุผลของการเรียนเสริมของนักเรียนปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร: การวิจัยผสมวิธี
Other Titles: AN ANALYSIS AND COMPARISON OF CHARACTERISTICS OF AND REASONS FOR OUT-OF-SCHOOL CLASSES FOR PRESCHOOL STUDENTS IN BANGKOK METROPOLIS: MIXED METHODS RESEARCH
Authors: ณัฐธิดา ดำริห์
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@Chula.ac.th,Duangkamol.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของการเรียนเสริมของนักเรียนปฐมวัยในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาเหตุผลในการเรียนเสริม และไม่เรียนเสริมของนักเรียนปฐมวัย 3) เปรียบเทียบลักษณะของการเรียนเสริม และเหตุผลของการเรียนเสริมและไม่เรียนเสริมของนักเรียนปฐมวัยที่มีภูมิหลังต่างกัน 4) ศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ ของการเรียนเสริม ดำเนินการวิจัยแบบผสมวิธี ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะแรก ศึกษาเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้ปกครองที่นักเรียนเรียนเสริม 15 คน และไม่เรียนเสริม 10 คน ระยะที่ 2 ศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 594 ฉบับจากตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน 14 โรงเรียน ทั้งโรงเรียนปกติและโรงเรียนที่มีชื่อเสียง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ระยะที่ 3 นำผลการศึกษาเชิงปริมาณระยะที่ 2 มาพิจารณาคัดเลือกตัวอย่างผู้ปกครองของนักเรียนที่เรียนเสริมจำนวน 20 คน และไม่เรียนเสริม 20 คน และตัวอย่างครูผู้สอน และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 10 คน มาทำการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะการเรียนเสริมของนักเรียนปฐมวัย ส่วนใหญ่เรียนทั้งด้านวิชาการและสันทนาการควบคู่กัน จำนวนชั่วโมงที่เรียนเสริมเฉลี่ยต่อคนต่อสัปดาห์ 6.57 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายในการเรียนเสริมเดือนละ 4117.56 บาท ส่วนมากเรียนเป็นกลุ่มใหญ่มากกว่า 5 คน และเรียนที่สถาบันสอนเสริม 2. เหตุผลที่ผู้ปกครองส่งบุตรหลานเรียนเสริม คือ เพื่อเป็นการสันทนาการและการเสริมทักษะอื่นๆ ส่วนเหตุผลที่ผู้ปกครองไม่ส่งบุตรหลานเรียนเสริมเพราะผู้ปกครองมีความพร้อมในการสอนบุตรหลานด้วยตัวเอง 3. การเปรียบเทียบลักษณะของการเรียนเสริม และเหตุผลของการเรียนเสริมและไม่เรียนเสริมของนักเรียนปฐมวัย ได้ดังนี้ 3.1 การเปรียบเทียบลักษณะการเรียนเสริมกับภูมิหลัง 13 ตัว พบว่า 1) มีเพียง 8 ภูมิหลัง ที่มีความสัมพันธ์กับวิชาที่เรียน ได้แก่ ประเภทโรงเรียน อายุพ่อและแม่ ระดับการศึกษาพ่อและแม่ อาชีพพ่อและแม่ และรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว 2) นักเรียนที่มีประเภทโรงเรียน อายุพ่อและแม่ ระดับการศึกษาพ่อและแม่ และรายได้รวมต่อเดือนของผู้ปกครอง มีจำนวนชั่วโมงที่เรียนเสริมต่อสัปดาห์และค่าใช้จ่ายในการเรียนเสริมต่อเดือนต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย (1) นักเรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียงมีจำนวนชั่วโมงและค่าใช้จ่ายในการเรียนเสริมมากกว่าโรงเรียนปกติ (2) นักเรียนที่มีผู้ปกครองอายุมากมีจำนวนชั่วโมงและค่าใช้จ่ายในการเรียนเสริมมากกว่าผู้ปกครองอายุน้อย (3) นักเรียนที่มีผู้ปกครองที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีจำนวนชั่วโมงและค่าใช้จ่ายในการเรียนเสริมมากกว่าผู้ปกครองจบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (4) นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้สูงมีจำนวนชั่วโมงและค่าใช้จ่ายในการเรียนเสริมสูงกว่านักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้น้อย 3.2 การเปรียบเทียบเหตุผลของการเรียนเสริมและไม่เรียนเสริมของนักเรียนปฐมวัย กับภูมิหลัง ได้แก่ ประเภทโรงเรียน ระดับการศึกษาของมารดา และ ระดับรายได้รวมต่อเดือนของครอบครัว พบว่า 1) เหตุผลการเรียนเสริม: เหตุผลที่ผู้ปกครองต้องการส่งเสริมด้านสันทนาการ และการเสริมทักษะอื่นๆ ไม่แตกต่างกันตามภูมิหลัง ส่วนเหตุผลการเรียนเสริมด้านการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน ด้านการพัฒนาการเรียนในห้องเรียน ด้านปัญหาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการเตรียมตัวสอบเข้าศึกษาต่อ ด้านความไม่พร้อมของผู้ปกครอง และด้านความเชื่อและค่านิยมของผู้ปกครอง ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย (1) มารดาที่มีระดับการศึกษาน้อยมีเหตุผลของการส่งบุตรหลานเรียนเสริมมากกว่ามารดาที่มีระดับการศึกษาสูง (2) ครอบครัวที่มีรายได้น้อยมีเหตุผลการส่งบุตรหลานเรียนเสริมมากกว่าครอบครัวที่มีรายได้สูง (3) ผู้ปกครองโรงเรียนปกติมีเหตุผลในการส่งบุตรหลานเรียนเสริมมากกว่าผู้ปกครองโรงเรียนที่มีชื่อเสียง 2) เหตุผลการไม่เรียนเสริม: พบว่า เหตุผลการไม่เรียนเสริมด้านความพร้อมของนักเรียนและผู้ปกครอง ด้านความเหมาะสมตามพัฒนาการของนักเรียน และด้านความเชื่อและค่านิยม ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย (1) มารดาที่มีระดับการศึกษาสูง มีเหตุผลในการไม่ส่งบุตรหลานเรียนเสริม มากกว่า มารดามีระดับการศึกษาน้อย และ(2) ครอบครัวที่มีรายได้มาก มีเหตุผลในการไม่ส่งบุตรหลานเรียนเสริม มากกว่า ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ส่วนเหตุผลการไม่เรียนเสริมด้านความไม่พร้อมของผู้ปกครอง พบว่า (1) มารดาที่มีระดับการศึกษาน้อย มีเหตุผลในการไม่ส่งบุตรหลานเรียนเสริม มากกว่า มารดาที่มีระดับการศึกษาสูง (2) ครอบครัวที่มีรายได้น้อย มีเหตุผลในการไม่ส่งบุตรหลานเรียนเสริมมากกว่าครอบครัวที่มีรายได้มาก และ (3) ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนปกติ มีเหตุผลในการไม่ส่งบุตรหลานเรียนเสริมมากกว่า ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียง 4. ผลกระทบจากการเรียนเสริมพบว่ามีผลกระทบเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ โดยการเรียนเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการเรียนมากขึ้น แนวทางการเรียนเสริมที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนปฐมวัย คือการเรียนเสริมที่เน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ หรือการเรียนเสริมด้านวิชาการควบคู่กับด้านสันทนาการ ทั้งนี้การเรียนเสริมจะส่งผลดีต่อเมื่อส่งเสริมตามความถนัด ความชอบและพัฒนาการของนักเรียนเป็นสำคัญ
Other Abstract: The purposes of this research is to 1) study characteristics of out-of-school classes of preschool students in Bangkok 2) study reasons of preschool students who took out-of-school classes and those who did not take the classes 3) make a comparative analysis of characteristics of out-of-school classes and reasons for parents who chose to taking or not to take their children to preschool out-of-school classes from various backgrounds 4) study impact of out-of-school classes. This study applied mixed methods research which can divide into 3 phases. Phase 1, analyzed qualitative data from interviewed 15 parents of students who took out-of-school classes and 10 parents of student who did not take any out-of-school class. Phase 2, analyzed quantitative data from 594 questionnaires distributed to 14 schools, include famous one. The data analysis was processed by descriptive statistics, Chi-square value, and F-test statistic in one-way ANOVA. Phase 3, conduct interview and focus group of selected 40 cases studies (20 cases from parents of the children who took out-of-school classes and 20 cases from parents of the children who did not take any out-of-school classes) and 10 teachers and principal. The data analysis was processed by content analysis. The results of this research are summarized as follow: 1. Characteristics of out-of-school classes for preschool students: Most of parents chose both academic class and non-academic class for their children. On average, the children who attend out-of-school classes spent 6.57 hours per week with expense of 4117.56 baht per month in larger than 5-persons class size at out-of-school institutions. 2. Out of 7 reasons for parents who took their children to attend out-of-school classes, recreate and enhance their children non-academic skills is the main reason. However, out of 4 reason for parents who did not take their children to attend out-of-school classes, the ability to teach their own children is the main one. 3. The comparative analysis of characteristics and reasons for parents who took and did not take their children to out-of-school class at preschool level shows that: 3.1 The analysis of class characteristics and 13 factors of family background indicates that 1) Popularity of school, parents’ age, parents’ education, parents’ occupation, and household incomes have correlation with out-of-school class’ subjects. 2) Popularity of school, parents’ age, parents’ education, and household incomes have significant in statistic with .05 point in statistical difference. The data of preschool student who out-of-school class indicates that (1) student from famous school spend more class hour and expenses compares to student from normal school (2) students with older parents spent more class hour and expenses compare to those with younger parents (3) student of parents who have higher education spent more class hour and expenses compare to those with lower education (4) students form higher household incomes family spent more class hour and expenses compare to lower household income. 3.2 The comparative analysis of reasons for preschool students who took out-of-school classes and those who did not take the classes with 3 family backgrounds which are popularity of school, mother’s education, and household income shows that 1) Reasons for parents who took their children to out-of–school classes: the statistic shows that only for recreation purpose shows no difference with the family backgrounds. However, reasons for preparation before class, preparation for current class, the weakness of class curriculum and class management, preparation for examination, inability of parents to teach their children, and the belief and values of parents show .05 point in statistical difference. Mothers with lower education and lower household income tend to have more reasons to send their children to out-of-school-class. Parents of students from not famous school have more reasons to send their children to out-of-school-class. 2) Reasons for parents who did not take their children to out-of–school classes; the readiness of students and parents, the child development, and belief and value of parents show .05 point in statistical difference. Mothers with higher education and higher household income have more reasons not to take their children to out-of-school classes those with lower education and lower household income. For the aspect of inability of parents, mother with less education and lower household income have more reasons not to take their children to out-of-school classes. Moreover, parents of normal school have more reason not to take their children to out-of-school classes. 4. The impact study shows positive outcome of preschool student who attend out-of-school class as it improve students’ confidence. It also shows that class that enhance analytical thinking with the balance of academic and non-academic (extra-curricular) knowledge which is the most suitable for preschool student. The most effective out-of-school class should enhance individual characteristics of children which are aptitude, preferences and children development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46483
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5483820727.pdf9.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.