Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46491
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสวรัย บุณยมานนท์en_US
dc.contributor.authorพัชรินทร์ รักสัตย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:39:50Z
dc.date.available2015-09-19T03:39:50Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46491
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อประเมินผลกระทบของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก และอิทธิพลของปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ ที่มีต่อการกระจายรายได้ระหว่างจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด ระหว่างปี พ.ศ. 2543 – 2555 โดยนำข้อมูลทุติยภูมิมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางเศรษฐมิติแบบ Panel data regression และ 2. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ในภาคการผลิตอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคการบริการ รวมทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสังเกต และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่อำเภอต่างๆ มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก ส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมกันระหว่างจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในทางบวก กล่าวคือ จังหวัดที่มีระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกพาดผ่าน มีแนวโน้มจะทำให้ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างจังหวัดเพิ่มขึ้น โดยวัดจากสัดส่วนรายได้ต่อหัวประชากรของจังหวัดต่อรายได้ต่อหัวประชากรของภูมิภาค เช่นเดียวกับตัวแปรโครงสร้างพื้นฐานด้านถนน ที่มีแนวโน้มทำให้ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะเดียวกันตัวแปรที่มีแนวโน้มส่งผลต่อการลดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีนัยสำคัญ ประกอบด้วย ตัวแปรด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ สัดส่วนผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรต่อนอกภาคเกษตร ตัวแปรด้านการศึกษา ได้แก่ จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ย ตัวแปรด้านสาธารณสุข ได้แก่ สัดส่วนประชากรต่อแพทย์ และตัวแปรด้านนโยบาย ได้แก่ สัดส่วนภาษีทางตรงต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ส่วนการทดสอบ Kuznets hypothesis พบว่า สอดคล้องกับสมมติฐาน โดยลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างความไม่เท่าเทียมกัน กับระดับการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา มีลักษณะเป็น Inverted U-shape ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ แสดงให้เห็นว่า ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกส่งผลกระทบด้านบวกต่อจังหวัดมุกดาหาร คือ ทำให้มูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มมากขึ้น การเดินทางและการขนส่งสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งการเดินทางข้ามแดนระหว่างประเทศ และการเดินทางภายในจังหวัดและระหว่างจังหวัดด้วย การลงทุนภาครัฐและเอกชนในพื้นที่เพิ่มขึ้น ที่ดินมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ดี ผลประโยชน์ของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก ที่เกิดขึ้นในจังหวัดมุกดาหารนั้น ไม่ได้กระจายไปยังพื้นที่อำเภอต่างๆ อย่างทั่วถึงหรือเท่าเทียมนัก โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในอำเภอเมืองมุกดาหาร เป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์มากกว่าประชาชนในพื้นที่อำเภออื่นๆ ในขณะที่ผลกระทบด้านลบ ได้แก่ ช่วงปี พ.ศ. 2551 – 2553 ประชาชนในพื้นที่ข้ามแดนไปบ่อนคาสิโนในสะหวันนะเขตจำนวนมาก ปัญหาการจราจรติดขัดบนท้องถนนและสะพานข้ามแม่น้ำโขง ปัญหาการเก็งกำไรที่ดิน ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในครัวเรือนสูงขึ้น ปัญหาไฟฟ้าและน้ำประปาไม่เพียงพอ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการกำจัดขยะมูลฝอย ปัญหาการลักลอบนำเข้ายาเสพติดและสินค้าหนีศุลกากรที่เพิ่มขึ้น การค้ามนุษย์และการค้าประเวณีสูงขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims to 1. assess the impact of EWEC and other socioeconomic factors on income distribution between 19 provinces in the northeastern region of Thailand in 2000 – 2012 by using panel data regression model and 2. analyze the effect of EWEC on the livelihoods of population in Mukdahan province. Data were collected through in-depth interviews, informal interviews and observations conducted on government officials as well as the private sector in the industrial, agricultural, and service sectors. A content analysis is then employed to analyze the data. Results from quantitative research show that the EWEC positively affects income inequality among provinces in the northeastern region of Thailand. A province through which the EWEC has passed tends to produce greater interprovincial income inequality as measured by the ratio of GPP per capita to GRP per capita. Likewise, it is also found that the road infrastructure variable increases inequality between provinces. While factors tend to decrease interprovincial income inequality are the proportion of agriculture by non-agricultural products, average years of schooling, the population per doctor ratio and direct tax revenue as a percentage of GPP. In addition, there is evidence to support the Kuznets inverted-U hypothesis. Qualitative research found that the EWEC has positive effects on Mukdahan province including increases in border trade volume, travel and transport facilitation, increases in public and private investment, and a rise in land values. However, the benefits of the EWEC are not distributed evenly. People who live in Muang Mukdahan district gain higher benefits than those who live in other districts. On the other hand, the EWEC also brings about adverse effects to the area, namely, a huge flow of Thai gamblers to Savannakhet during 2008 – 2010, traffic congestion on the roads and the bridge on the Mekong River, land speculation, higher household consumption, inadequate electricity and water supply, environmental issues and waste disposal, smuggling of goods and drugs, human trafficking and prostitution.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1270-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความเสมอภาค
dc.subjectการพัฒนาเศรษฐกิจ
dc.subjectการกระจายรายได้ -- ไทย -- มุกดาหาร
dc.subjectความจน -- ไทย -- มุกดาหาร
dc.subjectการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
dc.subjectไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ
dc.subjectไทย -- ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
dc.subjectEquality
dc.subjectEconomic development
dc.subjectIncome distribution -- Thailand -- Mukdahan
dc.subjectPoverty -- Thailand -- Mukdahan
dc.subjectEconomic impact analysis
dc.subjectThailand -- Economic conditions
dc.subjectThailand -- Economic history
dc.titleผลกระทบของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตกต่อการกระจายรายได้และความเป็นอยู่ของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหารen_US
dc.title.alternativeIMPACT OF EAST - WEST ECONOMIC CORRIDOR ON INCOME DISTRIBUTION AND THE LIVELIHOODS OF POPULATION IN THE NORTHEASTERN REGION OF THAILAND: A CASE STUDY OF MUKDAHAN PROVINCEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSawarai.B@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1270-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485158329.pdf4.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.