Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46492
Title: การศึกษาเปรียบเทียบการวิเคราะห์วิกฤตเศรษฐกิจทุนนิยมของอแลง บาดียู กับสลาวอย ชิเช่ค
Other Titles: A COMPARATIVE STUDY OF ECONOMIC CRISIS ANALYSIS OF ALAIN BADIOU AND SLAVOJ ŽiŽEK
Authors: ปิยศิลป์ บุลสถาพร
Advisors: กุลลินี มุทธากลิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Gullinee.M@chula.ac.th,gullinee.m@chula.ac.th
Subjects: บาดียู, อแล็ง
ชิเชค, สลาวอย
ปรัชญาสมัยใหม่ -- คริสต์ศตวรรษที่ 20
ทุนนิยม
เศรษฐศาสตร์การเมือง
เศรษฐศาสตร์เปรียบเทียบ
ปรัชญาเปรียบเทียบ
จิตวิเคราะห์
Badiou, Alain
Žižek, Slavoj
Philosophy, Modern -- 20th century
Capitalism
Political economics
Comparative economics
Philosophy, Comparative
Psychoanalysis
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้มโนทัศน์ทางปรัชญาของนักวิชาการผู้มีสกุลความคิดแบบหลังมาร์กซ์ (Post-Marxism) ในปัจจุบันสองท่าน คือ อแลง บาดียู กับสลาวอย ชิเช่ค เพื่อทำความเข้าใจการวิเคราะห์วิกฤตทุนนิยม และผลผลิตที่ได้จากการสังเคราะห์อันได้จากการเปรียบเทียบความคิด จะทำให้เศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy) มีทิศทางที่แตกต่างจากสกุลความคิดแบบมาร์กซ์ในแบบดั้งเดิม ผ่านการพิจารณาทั้งในส่วนของปรัชญา ทฤษฏีทางสังคมและการเมือง รวมไปถึงจิตวิทยา เพื่อใช้การทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิกฤตของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม โดยการวิเคราะห์จะเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประธาน (subject) ที่มีความสัมพันธ์กับกระแสของเศรษฐกิจทุนนิยมในปัจจุบัน อันเป็นหนึ่งประเด็นหลักในงานวิชาการทางปรัชญาสกุลความคิดแบบหลังมาร์กซ์ จากการสำรวจพบว่า หลังจากที่ความคิดคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิมเกิดความล้มเหลวในช่วงทศวรรษ 1960 ได้เกิดแนวกระแสความคิดในโลกวิชาการ เช่น สกุลความคิดแบบหลังสมัยใหม่ นักคิดแบบหลังสมัยใหม่นำเสนอในเรื่องขององค์ประธานแบบหลังสมัยใหม่ (postmodern subject) หากแต่นักคิดทั้ง 2 ท่าน ที่วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งทำการเปรียบเทียบ กลับไม่เชื่อในเรื่องขององค์ประธานแบบนักคิดหลังสมัยใหม่ สำหรับบาดียูแล้ว เขามุ่งการทำความเข้าใจสังคมโดยย้อนกลับไปที่ปรัชญา และรากฐานความคิดทางการเมืองแบบคอมมิวนิสต์ รวมไปถึงเสนอให้มีการคิดถึงความคิดคอมมิวนิสต์ (idea of communism) ในแบบใหม่ ส่วนสลาวอย ชิเช่ค นอกจะเสนอความคิดทางการเมืองแบบสุดขั้วในการต่อต้านความคิดแบบเสรีนิยมใหม่แล้ว เขายังเสนอความคิดในมิติทางจิตใจของผู้คน ที่ได้รับผลกระทบในเชิงลบจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญในการศึกษาความคิด และการวิเคราะห์ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมของนักวิชาการทั้งสองท่าน คือ จิตวิเคราะห์สายลาก็อง (Lacanian psychoanalysis)
Other Abstract: This research aims to study the philosophical conceptions of 2 scholars, Alain Badiou and Slavoj Žižek, who had invented the idea of Post-Marxism. This study also aimed to understand the crisis of capitalism and compare the synthesis of these comparing ideas to make political economy a different direction from the traditional Marxism idea by considering both the philosophical, social and political theory to psychology. The analysis begins by understanding about the subject that is associated with the flow of the capitalist economy which is currently, one of the main issues in philosophical thoughts of Post-Marxism. The survey found that after the failure and decline of communist legacy in the 1960s Postmodernism was the new train of thought in the academic world. Postmodern thinkers presented in a matter of a postmodern subject, but both scholars do not believe in postmodern thinkers which aim to return of postmodern subject. While Badiou returned to the fundamental philosophical and political ideas of communism, which finally offer better understand of capitalist society. Slavoj Žižek offered a radical political idea which struggling against neoliberalism. He had also proposed the idea of the psychological dimensions of people that had been affected negatively by the capitalist economic system. However, Lacanian psychoanalysis is the fundamentally important idea that both scholars applied to study and analyze capitalism.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์การเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46492
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1271
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1271
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485298529.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.