Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46494
Title: การนำระบบการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงมาใช้ในประเทศไทย
Other Titles: IMPLEMENTING A DIRECT ELECTION OF PRIME MINISTER IN THAILAND
Authors: กอบโชค จันทรศัพท์
Advisors: มานิตย์ จุมปา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Manit.J@Chula.ac.th,manit_j@yahoo.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การนำรูปแบบการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงมาใช้ในประเทศไทย เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยรูปแบบรัฐสภา อันเป็นระบบการปกครองที่นำมาสู่การควบอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากที่มาของฝ่ายบริหารที่มิได้มาจากอำนาจของประชาชนโดยตรง แต่ต้องอาศัยอำนาจจากฝ่ายนิติบัญญัติในการจัดตั้งรัฐบาล ส่งผลให้ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องสร้างอิทธิพลและต่อรองผลประโยชน์กับฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมืองโดยเฉพาะเสถียรภาพของฝ่ายบริหารที่ลดลง ดังนั้นเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาเชิงระบบของรัฐสภาไทยจึงนำมาสู่แนวคิดซึ่งต้องเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างที่มาของอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติจึงจำเป็นต้องแยกออกจากกัน โดยเฉพาะกระบวนการได้มาซึ่งฝ่ายบริหารที่ต้องไม่ขึ้นกับฝ่ายนิติบัญญัติอีกต่อไป การให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน จะสามารถแก้ปัญหาการเกิดรัฐบาลผสมที่ไม่มีเสถียรภาพและไม่มีประสิทธิภาพในระบบรัฐสภาได้ และความมีเสถียรภาพนั้นจะมาพร้อมกับความมีประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะนายกรัฐมนตรียังคงต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาและเพิ่มความรับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน ประสิทธิภาพนี้เกิดจากนายกรัฐมนตรีมีอิสระในการเลือกสรรและควบคุมคณะรัฐมนตรีของตนเองให้ดำเนินงานตามนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องให้ความสำคัญกับสมาชิกพรรคการเมืองที่ให้การสนับสนุนการเข้าสู่ตำแหน่งมากอย่างในระบบเดิม และไม่ต้องคำนึงว่านายกรัฐมนตรีและรัฐบาลจะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงส่วนใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร รัฐบาลยังคงสามารถทำงานได้อย่างมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ ในการทำงานของรัฐสภาจะดีขึ้นเพราะฝ่ายนิติบัญญัติเองก็มีความอิสระที่จะตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ทั้งยังลดปัญหาการซื้อตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้สนับสนุนฝ่ายบริหาร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงสามารถทำการตรวจสอบผ่านการทำงานของคณะกรรมาธิการสภา และการตั้งกระทู้ถาม ทำให้กลไกการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกลับมามีประสิทธิภาพอีกครั้ง นอกจากนี้ เพราะการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น พระมหากษัตริย์จึงไม่ต้องเข้ามาช่วยแก้ไขวิกฤตทางการเมือง อันเป็นการพิทักษ์การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงยังช่วยส่งเสริมและพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์แยกขาดจากการเมืองโดยสมบูรณ์
Other Abstract: Implementation of a direct election of the Prime Minister in Thailand is a solution for problems derived from parliamentary democratic system within the Country. Such system had been leading to merger of legislative and executive powers since origins of the executive branch did not come directly from powers of citizen, but rather from the legislative branch in order to establish a government. Hence, the executive branch had to create influential powers for negotiating with the legislative branch which subsequently brought impacts towards its stability. To encourage systemic problem solving initiation for the Thai parliamentary system, a concept of dividing a structure of the origins of the legislative and executive powers should be introduced. The origins of the executive branch should not be related to the legislative one. Therefore, implementing a direct election of the Prime Minister - as head of the executive branch should be able to resolve problems of an inefficient and unstable coalition government. When the Prime Minister can be accountable for people and the Parliament directly, it will encourage stability together with efficiency of work performance. Such proficiency also arises when the Prime Minister is empowered to independently select and control his/her Cabinet to smoothly follow their determined policies without political influences. It will create less concerns that Prime Minister and the government will come from major political parties of the House. Also, the government will be able to perform duties steadily. Efficient performance of the government originates from independence of the legislative branch in overseeing the executive branch through the parliamentary system. This helps reduce problems regarding corrupted support from members of the House extended towards the executive branch. Members of the House of Representatives, therefore, are able to conduct inspection through parliamentary committees and censure debates which will be resulted in a better effectiveness of check and balance mechanism. More importantly, direct election of Prime Minister can also provide a complete support and protection for the Royal institution from any political affairs.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46494
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5485954534.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.