Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46496
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โชติกา วิทยาวรากุล | en_US |
dc.contributor.author | จุฬาลักษณ์ พินธะ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-19T03:39:53Z | |
dc.date.available | 2015-09-19T03:39:53Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46496 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | ปัจจุบันสังคมโลกให้ความสำคัญต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการลงทุนระหว่างประเทศ ในจัดการกับปัญหาการทุจริตในการลงทุนระหว่างประเทศ ตัวการต่างๆ ได้จัดทำตราสารระหว่างประเทศ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในการลงทุนระหว่างประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนั้น ในการอนุญาโตตุลาการระหว่างรัฐและนักลงทุนภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการลงทุน ปัจจุบันมีแนวโน้มว่ารัฐมักหยิบยกประเด็นเรื่องพฤติกรรมการทุจริตของนักลงทุนขึ้นมาใช้เป็นข้อต่อสู้ในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและนักลงทุน เพื่อปฏิเสธการให้ความคุ้มครองแก่นักลงทุนที่มีพฤติกรรมการทุจริต เนื่องจากความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการลงทุนมุ่งให้ความคุ้มครองแก่นักลงทุนเป็นสำคัญ และมีแนวคิดมาแต่เดิมว่าเป็นกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเป็นการระงับข้อพิพาทโดยเอกชนและเป็นกระบวนการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อยุติเฉพาะกรณี ตลอดจนจากแนวคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการในประเด็นเรื่องการทุจริตที่ยังไม่ชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาว่า คณะอนุญาโตตุลาการจะสามารถพิจารณาข้อต่อสู้ได้หรือไม่ และหากนำมาพิจารณาจะพิจารณาได้บนฐานทางกฎหมายใด ดังนั้น เพื่อให้ได้คำตอบต่อปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงศึกษาอำนาจและบทบาทหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการต่อการปราบปรามการทุจริตในการลงทุนระหว่างประเทศ ตลอดจนศึกษาแนวคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการในคดีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทุจริตของนักลงทุน เพื่อพิจารณาฐานทางกฎหมายที่เหมาะสมในการนำพฤติกรรมการทุจริตของนักลงทุนเข้ามาพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ จากการศึกษาพบว่าอนุญาโตตุลาการมีบทบาทในการปราบปรามการทุจริตได้ ด้วยการนำพฤติกรรมการทุจริตของนักลงทุนเข้ามาพิจารณาโดยอาศัยฐานทางกฎหมายต่างๆ ได้แก่ การรับข้อพิพาทไว้พิจารณา การเลือกกฎหมายและการปรับใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงของคดี ตลอดจนการกำหนดค่าเสียหาย การศึกษานี้เป็นประโยชน์แก่ภาครัฐเพื่อใช้เป็นแนวทางในการการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการลงทุนและในการต่อสู้คดีระหว่างประเทศกับนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับเป็นแนวทางแก่นักลงทุนสำหรับการปฏิบัติตนในการเข้าไปลงทุนในต่างประเทศอีกด้วย | en_US |
dc.description.abstractalternative | In present time, the international community expresses a serious concern about corruption in international investment and calls for the fight against it. In doing so, governments and other non-governmental actors have adopted various international instruments aiming at developing common standards concerning corruption offences. In investor-state arbitration under the International Investment Agreements (IIAs), host states have increasing raised corruption behavior of foreign investors as a defense in arbitration proceeding in order to deny investment treaty protection for the corrupt investors. Since it is widely understood that the main purpose of IIAs is to protect foreign investors and their investment and that investor-state arbitration is rooted in international commercial arbitration, the problem is whether and how the state corruption defense could be considered by investment arbitral tribunals. In order to answer that question, the author would like to study the scope of power and duty of investment arbitral tribunals and the legal basis for the tribunals to take the investor’s corrupt behavior into account. The result of the study shows that investment arbitral tribunals can take investor’s corrupt behavior into consideration when deciding the investor-state dispute relying on the following legal bases: jurisdiction, admissibility, the application of law, and damages. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1273 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การระงับข้อพิพาท | |
dc.subject | กฎหมายระหว่างประเทศ | |
dc.subject | ความตกลงระหว่างประเทศ | |
dc.subject | การลงทุน | |
dc.subject | การอนุญาโตตุลาการ | |
dc.subject | การทุจริตและประพฤติมิชอบ | |
dc.subject | Dispute resolution (Law) | |
dc.subject | International law | |
dc.subject | International obligations | |
dc.subject | Investments | |
dc.subject | Grievance arbitration | |
dc.title | ข้อต่อสู้ของรัฐเรื่องการทุจริตในการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเรื่องการลงทุน | en_US |
dc.title.alternative | CORRUPTION AS A STATE'S DEFENSE BEFORE INTERNATIONAL INVESTMENT ARBITRATION | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chotika.W@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1273 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5485962534.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.