Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46521
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ | en_US |
dc.contributor.advisor | จามรี อาระยานิมิตรสกุล | en_US |
dc.contributor.author | ไอริณ ภานุวัฒน์วนิชย์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-19T03:40:10Z | |
dc.date.available | 2015-09-19T03:40:10Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46521 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | พื้นที่สีเขียวภายในหมู่บ้านจัดสรรมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการจัดให้มีพื้นที่สีเขียวภายในโครงการเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย แต่ยังไม่เคยติดตามผล การวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาว่าพื้นที่สีเขียวส่งผลต่อคุณภาพชีวิตตรงตามวัตถุประสงค์ที่บริษัทฯกำหนดหรือไม่ โดยทำการ ศึกษาแนวคิด วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่สีเขียว ศึกษาผลจากพื้นที่สีเขียวที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย เสนอแนะแนวทางการจัดทำพื้นที่เขียวที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยมากกว่าในปัจจุบัน โดยทำการศึกษาพื้นที่สีเขียวในโครงการเพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์(PP-RTB)และโครงการ เพอร์เฟค เพลส ราชพฤกษ์(PP-RP) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์, การสังเกต และการใช้แบบสอบถาม การศึกษาพบว่า บริษัทฯมีวัตถุประสงค์ในการจัดให้มีพื้นที่สีเขียวภายในโครงการเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อการพักผ่อน การออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมส่วนรวมของผู้อยู่อาศัย โครงการทั้ง 2 มีแนวคิดในการการวางผัง ออกแบบพื้นที่สีเขียวต่างกัน คือ PP-RTB จัดให้มีสวนสาธารณะแบบรวม อยู่บริเวณกึ่งกลางพื้นที่โครงการ ส่วนโครงการ PP-RP จัดให้เป็นสวนขนาดเล็กกระจายอยู่ในพื้นที่เฟสต่างๆ โดยแบ่งพื้นที่สีเขียวเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สวนสาธารณะหลัก, สวนขนาดกลาง และสวนหย่อม การศึกษาพบว่าองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการเข้าใช้พื้นที่ และมีส่วนเสริมคุณภาพชีวิตมากที่สุด ได้แก่ ต้นไม้และพืชพรรณ, สนามหญ้า, ตำแหน่งที่ตั้ง และทางเดิน โดยพบว่ามีผู้ใช้พื้นที่สีเขียวหนาแน่นที่สุดในวันเสาร์ – อาทิตย์ 17.00 – 20.00 น. ผู้อยู่อาศัยในโครงการ PP-RTB มีระยะทางระหว่างบ้านถึงสวนสาธารณะไกลกว่า แต่มีระยะทางระหว่างบ้านถึงสวนหย่อมใกล้กว่าผู้อยู่อาศัยโครงการ PP-RP พบกิจกรรมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในทั้ง 2 โครงการรวม 14 กิจกรรม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาพ, ด้านธรรมชาติ, ด้านครอบครัว และด้านสังคม สวนสาธารณะหลักและสวนขนาดกลางโครงการ PP-RTB พบกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตมากกว่าโครงการ PP – RP โดยกิจกรรมที่พบมากที่สุด คือ กิจกรรมทางด้านการออกกำลังกาย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมากที่สุดในด้านธรรมชาติและด้านสุขภาพตามลำดับ ส่วนสวนหย่อมที่มีตำแหน่งที่ตั้งใกล้บ้านพบกิจกรรมมากกว่าสวนหย่อมที่ตั้งอยู่บริเวณอื่น สวนหย่อมโครงการ PP-RP มีกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตมากกว่า โครงการ PP-RTB โดยกิจกรรมที่พบมากที่สุด คือ กิจกรรมเกี่ยวกับเด็กและสัตว์เลี้ยง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมากที่สุดในด้านธรรมชาติและด้านครอบครัวตามลำดับ และเมื่อพิจารณาประกอบกับทัศนคติของผู้อยู่อาศัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต สรุปได้ว่าผู้อยู่อาศัยในโครงการ PP-RTB มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าผู้อยู่อาศัยในโครงการ PP-RP การศึกษาพบว่าพื้นที่สีเขียวในโครงการ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตตรงตามวัตถุประสงค์ที่บริษัทฯกำหนด พื้นที่สีเขียวประเภทสวนสาธารณะหลักส่งเสริมคุณภาพชีวิตมากที่สุด โดยพื้นที่สวนสาธารณะหลักแบบรวมขนาดใหญ่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตมากกว่าแบบกระจาย เนื่องจากสะดวกต่อการเข้าใช้พื้นที่ และมีพื้นที่ในการทำกิจกรรมมากกว่า พื้นที่สวนสาธารณะหลักรวมทั้งสวนขนาดกลาง จึงควรตั้งอยู่ในบริเวณที่เข้าถึงได้สะดวกและรับรู้ได้ง่าย ส่วนพื้นที่สวนหย่อมควรตั้งอยู่ใกล้กลุ่มบ้าน เพื่อความสะดวกในการเข้าถึง และเอื้ออำนวยต่อการเกิดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยภายในโครงการ | en_US |
dc.description.abstractalternative | To housing projects, green space plays an important role in improving the quality of life of the residents. Property Perfect Co. Ltd. emphasizes on the importance of the availability of green space within its housing projects to the residents’ quality of life. Nevertheless, the company has not yet performed a study to determine whether the residents have actually benefited from the available green space. The aim of this research is to determine whether green space affects the residents’ quality of life according to the company’s goal. The study included concepts, purposes and physical elements of green space, the effects of green space on the residents’ quality of life, suggestion for the design of green space to serve better performance, and to analyze and summarize the approach of using green space for improving the residents’ quality of life. The study included comparisons of the information collected from two housing projects of the company, Perfect Place Rattanathibet (PP-RTB) and Perfect Place Ratchapruek (PP-RP). Information was collected by means of questionnaires and observations on the activities the residents of each project have in the respective green space. It was found that green space was provided within a housing project for the purposes of providing the residents a good environment for relaxation, exercise, gathering and other activities within the community. The two projects have different concepts in designing their green space. PP-RTB has communal park around the center of the project area, while PP-RP has parks of smaller sizes, separated around different phases of the project. The green space can be categorized into main park, medium-size park, and small park. The study also showed that essential elements which affected the quality of life were trees and plants, lawn or yard, location, and path. The busiest time were from 17:00 to 20:00 on Saturday and Sunday. At PP-RTB, residence areas are located farther from large parks and closer to small parks, when compared to PP-RP. The study identified 14 activities of the residents which can be related to their quality of life (in physical, environmental, household and social aspects). Activities were observed more at the main and medium-size parks at PP-RTB, compared to PP-RP. The most observed activity was exercise, which affected quality of life in environmental and physical. For small parks, activities were observed more at parks close to residence area in relation to other locations, activities were observed more at PP-RP where the most observed activities were those involving children and pets, effecting their quality of life in the environmental and household aspects respectively. Considering these findings together with the views of the residents on their quality of life showed that the residents at PP-RTB have better quality of life compared to those at PP-RP. The results from this study showed that the company was able to meet its goal related to the benefits from green space. Main park was the type of green space that has the biggest part in improving the quality of life. Locating main parks close to each other gave better results, compared to spreading them around, as it was more convenient to access and had more practical space for activities. As a result, main parks, including medium-size parks, should be located in areas which are easy to access and easy to find. Small parks should be located close to residence areas for the ease of access and performing activities of the residents. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1288 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พื้นที่สาธารณะ -- กรุงเทพฯ -- เพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์ | |
dc.subject | คุณภาพชีวิต | |
dc.subject | สวนสาธารณะ | |
dc.subject | กฎหมายที่ดิน -- ไทย | |
dc.subject | เพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์ | |
dc.subject | Public spaces -- Bangkok -- Perfect Place Rattanathibet | |
dc.subject | Quality of life | |
dc.subject | Parks | |
dc.subject | Land use -- Law and regislation -- Thailand | |
dc.subject | Perfect Place Rattanathibet | |
dc.title | คุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยที่เกิดจากพื้นที่สีเขียวภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ระดับราคาปานกลาง กรณีศึกษา: โครงการเพอร์เฟค เพลส รัตนาธิเบศร์ และโครงการเพอร์เฟค เพลส ราชพฤกษ์ | en_US |
dc.title.alternative | RESIDENT'S QUALITY OF LIFE IMPACTED BY GREEN SPACE IN MEDIUM PRICED HOUSING PROJECTS: A CASE STUDY OF PERFECT PLACE RATTANATHIBET AND PERFECT PLACE RATCHAPRUEK PROJECT | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kundoldibya.P@Chula.ac.th,kpanitchpakdi@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | Chamree.A@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.1288 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5573356325.pdf | 13.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.