Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46524
Title: ปัจจัยคัดสรรทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
Other Titles: SELECTED FACTORS PREDICTING DEPRESSION IN PERSONS WITH CHRONIC HEART FAILURE
Authors: ชนิดาภา แก้วกัญญา
Advisors: สุนิดา ปรีชาวงษ์
จรรยา ฉิมหลวง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sunida.P@Chula.ac.th,psunida.cu@gmail.com
Janya.C@Chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้า
หัวใจวาย
ความไม่แน่นอน
การหายใจลำบาก
Depression
Heart failure
Uncertainty
Dyspnea
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและศึกษาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โดยใช้ทฤษฎีความไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก คือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง จำนวน 110 คน จากแผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอกระบบหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 3 แห่ง เขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินความแตกฉานทางสุขภาพ และแบบประเมินแรงสนับสนุนทางสังคม เครื่องมือวิจัยทั้งหมดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคระหว่าง 0.73 - 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังร้อยละ 26.50 มีคะแนนซึมเศร้าอยู่ในช่วง 16-29 คะแนน ซึ่งถือว่ามีภาวะซึมเศร้า (mean= 13.65, SD= 5.11) 2. อาการหายใจลำบาก ความแตกฉานทางสุขภาพ และความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .48, -.38 และ .26 ตามลำดับ) ในขณะที่แรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า 3. อาการหายใจลำบาก (ß= .47), ความแตกฉานทางสุขภาพ (ß= -.25) และความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย (ß= .27) สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) ในขณะที่แรงสนับสนุนทางสังคมไม่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้ ตัวแปรทุกตัวสามารถร่วมกันทำนายความผันแปรในภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 38.4 (R2 = .384, F = 16.36, p < .05)
Other Abstract: The purpose of this descriptive predictive research were to examine depression in patients with chronic heart failure, and identify the factors that would predict depression using the Uncertainty in Illness theory. A convenience sample of 110 persons with chronic heart failure were recruited from OPD Cardio of three the tertiary hospitals in Bangkok. Research instruments were six questionnaires, including the assessment of Demographic data, depression, uncertainty in illness, dyspnea, health literacy and social support. Content validity of questionnaires was validated by five experts and the Cronbach’s alpha coefficients ranged from 0.73 - 0.89. Data were analyzed using Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regressions. The major findings were as follows: 1. Twenty-four patients with chronic heart failure (26.50%) had CES-D score > 16 indicating depressive symptom (mean= 13.65, SD= 5.11) 2. Dyspnea, health literacy and uncertainty in Illness were significantly correlated with depression among patients with chronic heart failure. (r= .48, -.38 and .26 respectively, p< .05). While social support was no significantly correlated with depression among patients with chronic heart failure. 3. Dyspnea (ß=.47), health literacy (ß=-.25) and uncertainty in illness (ß=.27) could significantly predict to depression while social support wasno significant predictor. All study variables together accounted for 38.4% of the variance explained in depression. (R2 = .384, F = 16.36, p< .05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46524
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1290
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1290
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577166136.pdf7.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.