Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46525
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีพร ธนศิลป์en_US
dc.contributor.advisorจรรยา ฉิมหลวงen_US
dc.contributor.authorช่อผกา ปุยขาวen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:40:14Z
dc.date.available2015-09-19T03:40:14Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46525
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยพัฒนาจากแนวคิดการมีส่วนร่วมของครอบครัวของ Schepp (1995) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แบบผสมผสานด้านมะเร็ง สกลนคร จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยการจับคู่ผู้ดูแลให้มีลักษณะใกล้เคียงกันในเรื่อง เพศ อายุ และระดับความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยในชีวิตประจำวัน(Palliative Performance Scale) กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว สื่อที่ใช้ประกอบด้วย แผนการสอน คู่มือสำหรับครอบครัวเพื่อการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง โดยโปรแกรมและสื่อผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง แบบประเมินการสนับสนุนจากครอบครัวและแบบสัมภาษณ์การมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายหลังได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (ค่าเฉลี่ยก่อน = 70.91; ค่าเฉลี่ยหลัง = 77.64; P < .05, t = .037) 2. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติไม่แตกต่างกัน (ค่าเฉลี่ยทดลอง = 77.64; ค่าเฉลี่ยควบคุม = 75.86; P > .05, t = .682)en_US
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research aimed to study the effect of a family participation program on the quality of life in terminal cancer patients. Schepp’s family participation concept (1995) was applied as the conceptual framework for the caring of terminal cancer patients. The study sample were 44 terminal cancer patients who were treated at Arokayasala Khampramong temple, Sakon Nakhon Province. The subjects were collected by purposive sampling. They were divided into two groups of 22 each, the experimental group and the control group. They were matched to caregivers by sex, age and their Palliative Performance Scale level. The control group received routine care, while the experimental group received routine care as well as the family participation program. The content of the experimental program in the terminal cancer patients were validated with five experts and the instruments used to collect the data were the Quality of life Questionnaire and Family support Questionnaire. The data were analyzed using mean, standard deviation and t-test. The major findings showed that 1. The quality of life of the terminal cancer patients in the experimental group after receiving the family participation program care was significantly higher than before receiving the treatment was at the level of .05 (mean pre = 70.91; mean post = 77.64; P < .05, t = .037) 2. The quality of life of the terminal cancer patients after receiving the treatment was not significant between the experimental group and the control group (mean treatment = 77.64; mean control = 75.86; P > .05, t = .682)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1291-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมะเร็ง -- ผู้ป่วย
dc.subjectผู้ป่วยระยะสุดท้าย -- การดูแล
dc.subjectคุณภาพชีวิต
dc.subjectCancer -- Patients
dc.subjectTerminal care
dc.subjectQuality of life
dc.titleผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF FAMILY PARTICIPATION PROGRAM ON QUALITY OF LIFE IN TERMINAL CANCER PATIENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSureeporn.T@Chula.ac.then_US
dc.email.advisorJanya.C@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1291-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577168436.pdf5.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.